Translate

วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2561

พระสุตตันตปิฎก-ลักขณสูตร






        พระไตรปิฎก-พระสุตตันตปิฎก-ลักขณสูตร
                ลักขณสูตร อยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่11 ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เป็นพระสูตรขนาดยาว


. ลักขณสูตร
     สูตรว่าด้วยมหาปุริสลักขณะ ๓๒ ประการ


********************************************************************************************







                      พระผู้มีพระภาคประทับณเชตวนารามของอนาถปิณฑิกคฤหบดี ใกล้กรุงสาวัตถี ณที่นั้นตรัสแสดงมหาปุริสลักขณะ ๓๒ ประการที่ทําให้มหาบุรุษมีคติเป็น ๒ คือถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ถ้าออกบวชจะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.

                    มหาปุริสลักขณะ ๓๒ ประการ มีพระบาทตั้งลงด้วยดี (มีพื้นพระบาทเสมอ ไม่แหว่งเว้าเป็นข้อต้น มีพระเศียรประดับด้วยพระอุณหิส (กรอบพระพักตร์เป็นข้อสุดท้าย แล้วทรงแสดงว่าลักษณะแต่ละอย่างที่ เกิดขึ้นนั้น เกิดขึ้นเพราะกระทํากรรมดีต่างๆ ไว้

                      เช่นในข้อแรก เพราะเคยสมาทานมั่นในกุศลธรรม สมาทานมั่นในกุศลธรรมอันยิ่งข้อใดข้อหนึ่ง เช่น กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ในการจําแนกทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ เกื้อกูลมารดา บิดา สมณพราหมณ์ และอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล.

                         ข้อสุดท้าย เพราะเคยเป็นหัวหน้าในการบําเพ็ญกุศลธรรม มีกายสุจริต เป็นต้น.

                (หมายเหตุการแสดงเหตุผลที่ได้มหาปุริสลักษณะแต่ละข้อ ในพระสูตรนี้มิได้เป็นไปตามลําดับข้อ และในที่นี้ได้นํามากล่าวอย่างย่นย่อที่สุด เพื่อสามารถย่อพระไตรปิฎกเล่มอื่น ๆ ได้อีก มิฉะนั้นจะต้องขยาย อีกหลายเล่ม แต่ขอเสนอว่า ถ้าท่านผู้ใดสนใจจะอ่านเรื่องนี้โดยละเอียด อาจหาหนังสือปฐมสมโพธิกถา ฉบับที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงชําระ ซึ่งพิมพ์แพร่หลายพอสมควรอ่านได้ จุดสําคัญของพระสูตรนี้ แสดงว่าการได้ดีไม่ใช่เกิดขึ้นลอย ๆ ต้องประกอบเหตุจึงได้รับผล)








               


พระสุตตันตปิฎก-ปาสาทิกบุตร





       พระไตรปิฎก-พระสุตตันตปิฎก-ปาสาทิกบุตร
               ปาสาทิกบุตร อยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่11 ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เป็นพระสูตรขนาดยาว



๖.ปาสาทิกสูตร
สูตรว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่น่าเลื่อมใส


********************************************************************************************





            พระผู้มีพระภาคประทับในปราสาทในป่ามะม่วงของเจ้าศากยะผู้เชียวชาญในวิชาธนู (เวธญณาสกุยา). ครั้งนั้นนิครนถนาฏบุตร (เจ้าลัทธิคนหนึ่งของศาสนานิครนถ์ หรือศาสนาเชน) ถึงแก่กรรมที่กรุงปาวา พวกนิครนถึงเกิดแตกกันเป็นสองฝ่าย ทะเลาะวิวาทกันอย่างรุนแรง. พระจุนทะ (น้องชายพระสาริบุตร)จําพรรษาใกล้กรุงปาวาจนตลอดพรรษาแล้ว ก็ไปหาพระอานนท์ ณ สามคาม ไหว้พระอานนท์แล้วเล่าความให้ฟังพระอานนท์จึงชวนพระจุนทะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคกราบทูลให้ทรงทราบ.

ศาสดา, หลักธรรม, สาวก

                      พระผู้มีพระภาคจงตรัสถึงศาสดา, หลักธรรมคําสอนและสาวก แบ่งออกเป็นประเภทดังนี้:
                ๑. ศาสดาไม่ดี, หลักธรรมไม่ดี, สาวกไม่ดี ก็เป็นที่ติเตียนทั้งสามฝ่ายใครปฏิบัติตามก็ประสบสิ่งมิใ ช่บุญเป็นอันมาก.
                ๒. ศาสดาไม่ดี, หลักธรรมไม่ดี แม้สาวกจะดี คือปฏิบัติตาม ก็เป็นที่ติเตียนทั้งสามฝ่าย ใครทํา. ความเพียรตาม ก็ประสบสิ่งมิใช่บุ ญเป็นอันมาก.
                ๓. ศาสดาดี, หลักธรรมดี, สาวกไม่ดี ศาสดาและหลักธรรมย่อมได้รับสรรเสริญ แต่สาวกถูกติเตียน. ใครปฏิบัติตาม ก็ได้ประสบบุญเป็นอันมาก.
                ๔. ศาสดาดี, หลักธรรมดี, สาวกดี ย่อมได้รับสรรเสริญทั้งสามฝ่าย ใครทําความเพียรตาม ก็ได้ ประสบบุญเป็นอันมาก.
                ๕. ศาสดาดี, หลักธรรมดี, สาวกไม่เข้าใจเนื้อความ (แห่งธรรม) แจ่มแจ้ง เมื่อศาสดาตายแล้ว สาวกก็เดือดร้อนภายหลัง.
                ๖. ศาสดาดี, หลักธรรมดี, สาวกเข้าใจเนื้อความ (แห่งธรรม) แจ่มแจ้ง. เมื่อศาสดาตายแล้ว สาวกก็ไม่เดือดร้อนภายหลัง.

พรหมจรรย์บริบูรณ์หรือไม่

                      ตรัสต่อไปอีกว่าพรหมจรรย์ที่ประกอบด้วยองค์เหล่านี้แล้ว
                ๑. แต่ถ้าศาสดามิใช่เป็นเถระผู้รู้เห็นเหตุการณ์มานานบวชนานก็ยังชื่อว่าบกพร่องในข้อนี้ ถ้าศาสดาเป็นเถระเป็นต้นจึงชื่อว่าบริบูรณ์ในข้อนี้
                ๒. ถ้าศาสดาเป็นเถระ เป็นต้น แต่ภิกษุผู้เป็นสาวกชั้นเถระไม่ฉลาดอาจหาญ ไม่บรรลุธรรมอัน เกษม ไม่สามารถจะบอกเล่าว่า สัทธรรมย่ำยีปรัปวาท (ข้อกล่าวหาของผู้อื่น) ก็ยังชื่อว่าบกพร่องในข้อนี้ ถ้าสาวกชั้นเถระเป็นผู้ฉลาดอาจหาญ เป็นต้น จึงชื่อว่าบริบูรณ์ในข้อนี้
                ๓. ถ้าศาสดาและสาวกชั้นเถระเข้าลักษณะที่ดี แต่ภิกษุผู้เป็นสาวกชั้นกลางยังไม่ดี (เหมือนชั้นเถระ) ก็ยังชื่อว่าบกพร่องในข้อนี้ โดยนัยนี้ กินความถึงภิกษุผู้เป็นสาวกที่บวชใหม่ ; นางภิกษุณีผู้เป็นสาวิกาชั้นเถระ ; ชั้นนกลาง, ผู้บวชใหม่ . อุบาสกผู้ประพฤติพรหมจรรย์, ผู้บริโภคกาม ; อุบาสิกาผู้ประพฤติพรหมจรรย์, ผู้บริโภคกามถ้ายังไม่ดีสมบูรณ์ พรหมจรรย์ก็ยังไม่สมบูรณ์, ต่อเมื่อดีสมบูรณ์ พรหมจรรย์จึงชื่อว่าสมบูรณ์.
  ๔ครั้นแล้วตรัสถึงพระองค์ พระธรรมคําสั่งสอน และพระสาวก ทั้งบรรพชิต และคฤหัสถ์ ว่ามีคุณลักษณะสมบูรณ์ พรหมจรรย์จึงชื่อว่าสมบูรณ์,
                ๕ตรัสถึงพระองค์และพระสงฆ์ ว่าถึงความเป็นผู้เลิศด้วยลาภ ยศ แล้วตรัสถึงคําของอุททกดาบส รามบุตร ที่ ว่าเห็นอยู่ แต่ไม่เห็น ซึ่งไขความว่า เห็นใบมีดโกนที่ลับดีแล้ว แต่ไม่เห็นคมมีดโกนดังนี้ ว่าเป็นภาษิตไร้ประโยชน์ ที่ถูกควรจะ หมายถึงไม่เห็นพรหมจรรย์ ที่สมบูรณ์บริบูรณ์และประกาศดีแล้ว จึงจะชื่อว่ากล่าวชอบ.

ตรัสแนะให้จัดระเบียบหรือสังคายนาพระธรรม

                ตรัสแนะพระจุนทะให้เทียบเคียงธรรมที่ทรงแสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง พึงสังคายนา พึงวิจารอรรถะกับอรรถะ พยัญชนะกับพยัญชนะ เพื่อให้พรหมจรรย์ตั้งอยู่ยังยืน เป็นไปเพื่อประโยชน์ และความสุขแก่ชนเป็นอันมากเพื่ออนุเคราะห์ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เทวาและมนุษย์. แล้วทรงชี้แจงว่า ธรรมที่ทรงแสดงด้วยปัญญาอันยิ่ง มีสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น มีมรรคมีองค์ ๘ เป็นที่สุด (ที่เรียกว่าโพธิปักขิยธรรม คือธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งปัญญาตรัสรู้รวม ๓๗ ประการ).

ตรัสแนะลักษณะสอบสวนพระธรรม

                ตรัสแนะให้ศึกษาพระธรรม (ทั้งสามสิบเจ็ดประการเหล่านั้นโดยพร้อมเพรียง ไม่วิวาทกันแล้วตรัสแนะวิธีสอบสวนพระธรรมเมื่อพระสงฆ์พรหมจารีกล่าวธรรม.
                ๑ถ้ารู้สึกว่า ถือเอา อรรถะผิด ยกพยัญชนะผิด ก็ไม่พึงเห็นด้วย (อภินันท์หรือคัดค้าน พึงกล่าวกะเธอว่าพยัญชนะนี้ กับพยัญชนะอีกอันหนึ่งของอรรถะนี้ และอรรถะนี้ กับอรรถะอีกอันหนึ่งของพยัญชนะนี้อย่างไหนจะชอบด้วยอุบายกว่ากัน.ถ้าผู้กล่าวธรรมกล่าวว่า พยัญชนะนี้ อรรถะนี้ ชอบด้วยอุบายกว่าก็ไม่พึงยกย่องหรือคัดค้าน พึงกําหนดหมายให้ดี เพื่อพิจารณาอรรถะและพยัญชะนั้น ๆ. (คําว่า พยัญชนะ หมายถึงตัวอักษรหรือถ้อยคํา อรรถะ หมายถึงความหมายของตัวอักษรหรือถ้อยคํา).
                ๒ถ้ารู้สึกว่า ถือเอาอรรถะผิด ยกพยัญชนะถูก ก็พึงสอบถาม อรรถะของพยัญชนะสองฝ่าย ว่าอันไหนจะชอบด้วยอุบายกว่ากัน แล้วพิจารณา (เหมือนข้อ ๑).
                ๓ถ้ารู้สึกว่า ถือเอาอรรถะถูก ยกพยัญชนะผิด ก็พึงสอบถาม พยัญชนะสองฝ่ายของอรรถะนี้ ว่าอันไหนจะชอบด้วยอุบายกว่ากัน แล้วพิจารณา (เหมือนข้อ ๑).
                ๔ถ้ารู้สึกว่า ถือเอาอรรถะถูก ยกพยัญชนะถูก ก็พึงอนุโมทนา.

อาสวะปัจจุบันกับอนาคต

                แล้วตรัสว่า มิได้ทรงแสดงธรรมเพื่อให้สํารวมอาสวะ (กิเลสที่ดองสันดานที่เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อ ให้ทําลายอาสวะที่เป็นอนาคตอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น แต่เพื่อทั้งสองอย่าง.
                แล้วทรงแสดงการที่อนุญาตปัจจัย ๔ ว่า เพื่อบําบัดร้อนหนาวและเพื่อพอยังชีวิตให้เป็นไป เป็นต้น.

ตรัสแนะข้อโต้ตอบกับเจ้าลัทธิอื่น

                ๑ถ้านักบวชลัทธิอื่นกล่าวหาว่า สมณะศากยบุตรประกอบตนให้ชุ่มด้วยความสุข พึงถามว่า ประกอบแบบไหน เพราะมีอยู่มากด้วยกัน คือบางคนฆ่าสัตว์ลักทรัพย์พูดปดบําเรอ (ตนด้วยกามคุณอย่างนี่ชื่อว่าประกอบตนให้ชุ่มด้วยความสุขแบบชาวบ้านซึ่งไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน.
                ๒ถ้านักบวชลัทธิอื่นกล่าวหาว่า สมณะศากยบุตรประกอบตนให้ชุ่มด้วยความสุข ๔ อย่าง (ดังกล่าว ในข้อ ๑ก็พึงปฏิเสธว่า ไม่เป็นจริง แล้วทรงแสดงการประกอบตนให้ชุ่มด้วยความสุข ที่เป็นไปเพื่อนิพพานว่า ได้แก่ความสุขในฌาน ๔ถ้านักบวชลัทธิอื่นกล่าวว่า สมณะศากยบุตรประกอบตนให้ชุ่มด้วยความสุข ๔ อย่างนี้ ก็พึงรับรองว่ากล่าวถูกต้อง
                ๓ถ้านักบวชลัทธิอื่นถามถึงผลและอานิสงส์ (ผลดีที่ผู้ประกอบตนให้ชุ่มด้วยความสุข (ในฌาน ๔จะพึงหวังได้ ก็พึงตอบว่า มี ๔ อย่าง คือ ๑ เป็นพระโสดาบัน จะได้ตรัสรู้ต่อไป เพราะสิ้นสัญโญชน์ ๓ เป็นพระสกทาคามีผู้จะกลับมาเกิดเพียงครั้งเดียว เพราะสิ้นสัญโญชน์ ๓ และทําราคะ โทสะ โมหะ ให้น้อยลง ๓เป็นพระอนาคามีผู้ไม่กลับมาเกิด เพราะสิ้นสัญโญชน์เบื้องต่ำทั้งห้า ๔ทําให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอันไม่มีอาสวะ เพราะสิ้นอาสวะอยู่ในปัจจุบัน (เป็นพระอรหันต์).
                ๔นักบวชลัทธิอื่นกล่าวหาว่า สมณศากยบุตรมีธรรมอันไม่ตั้งมั่น พึงชี้แจงว่า ธรรมะที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแก่สาวก มิให้ก้าวล่วงจนตลอดชีวิต มีอยู่ คือภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์ สิ้นอาสวะแล้ว ย่อมไม่ควรกัาวล่วงฐานะ ๙ อย่างจนตลอดชีวิต คือ ๑ไม่ฆ่าสัตว์โดยจงใจ ๒ไม่ลักทรัพย์ ๓ไม่เสพ เมถุน ๔ไม่พูดปดทั้งที่รู้ ๕ ไม่สะสมอาหารบริโภคเหมือนคนที่เคยเป็นเจ้าหน้าที่เรือนคลัง ๖ไม่ลําเอียง เพราะชอบ ๗ไม่ลําเอียงเพราะชัง ๘ไม่ลําเอียงเพราะหลง ๙ไม่ลําเอียงเพราะกลัว.
            ๕นักบวชลัทธิอื่นอาจกล่าวหาว่า พระสมณโคดมบัญญัติญาณทัสสนะ (ความเห็นด้วยญาณอันไม่มีขอบเขตปรารภระยะกาลนานไกลอันเป็นอดีต ไม่ปรารภระยะกาลนานไกลอันเป็นอนาคต เพราะเป็น ผู้เขลาญาณหยั่งรู้ความเป็นไปในชาติก่อน ปรารภอดีตกาลนานไกลของพระตถาคต มีอยู่ ปรารถนาจะระลึก เท่าใด ก็ระลึกได้เท่านั้น ส่วนญาณที่เกิดจากปัญญาตรัสรู้ ที่ปรารภอนาคตกาลนานไกล ย่อมเกิดขึ้นแก่พระ ตถาคตว่า ซาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ไม่มีการเกิดอีก.
                กอดีตอนาคตปัจจุบัน ที่ไม่จริง ไม่แท้ ไม่มีประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์
                ขอดีตอนาคตปัจจุบัน ทีจริง แท้ แต่ไม่มีประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์
                ค.อดีตอนาคตปัจจุบัน ที่จริงแท้ มีประโยชน์ ตถาคตย่อมรู้กาลที่จะตอบปัญหานั้นในเรื่องนั้น.
                ฆตถาคตเป็นผู้กล่าวให้เหมาะแก่กาลกล่าวความจริงกล่าวสิ่งที่เป็นจริงกล่าวสิ่งมีประโยชน์กล่าวเป็นธรรมกล่าวเป็นวินัย ในธรรมที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฉะนั้น จึงเรียกว่าตถาคต.
                งตถาคตตรัสรู้โดยชอบสิ่งซึ่งโลก พร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม สมณพราหมณ์ ได้รู้แจ้งด้วย อายตนะ ได้บรรลุ ได้แสวงหาได้ตรองถึงแล้ว ฉะนั้น จึงเรียกว่าตถาคต
                จตถาคตตรัสแสดงถึงสิ่งใดในระหว่างที่ตรัสรู้ จนถึงปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ สิ่งนั้น ย่อมเป็นอย่างนั้นทั้งหมด ไม่เป็นอย่างอื่น ฉะนั้น จึงเรียกว่าตถาคต
                ฉ ตถาคตพูดได้อย่างใด ทําได้อย่างนั้น ทําได้อย่างใด พูดได้อย่างนั้นฉะนั้น จึงเรียกว่าตถาคต
                ชตถาคตเป็นใหญ่ ไม่มีใครครอบงําได้ รู้เห็นตามเป็นจริงเป็นผู้มีอํานาจ (โดยคุณธรรมฉะนั้น จึงเรียกว่าตถาคต.
                ๖ถ้านักบวชลัทธิอื่นถามว่า สัตว์ตายแล้วเกิด หรือไม่เกิด หรือว่าทั้งเกิดทั้งไม่เกิด หรือว่าเกิด ก็ไม่ใช่ ไม่เกิดก็ไม่ใช่ พึงตอบว่า ข้อนั้นพระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์
                ๗ถ้านักบวชลัทธิอื่นถามว่า เหตุไฉนพระผู้มีพระภาคจึงไม่ทรงพยากรณ์ข้อนั้น (ที่กล่าวในข้อ ๖พึงตอบว่า เพราะไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ประกอบด้วยธรรม ไม่เป็นไปเพื่อนิพพานถ้าถามว่า อะไรเล่าที่ทรงพยากรณ์ พึงตอบว่า ทุกข์ เหตุให้ทุกข์เกิดความดับทุกข์ และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ (อริยสัจจ์ ๔ถ้าถามว่า เหตุไฉนพระผู้มีพระภาคจึงทรงพยากรณ์เรื่อง (อริยสัจจ์ ๔นั้น พึงตอบว่า เพราะ ประกอบด้วยประโยชน์ ประกอบด้วยธรรม เป็นไปเพื่อนิพพาน.

ไม่ทรงอนุมัติทิฏฐิต่าง ๆ เพราะเหตุไร

                ทรงแสดงว่าเรื่องที่ควรพยากรณ์ ก็ทรงพยากรณ์ ไม่ควรพยากรณ์ จะทรงพยากรณ์ทําไม ทรง แสดงทั้งทิฏฐิที่ปรารภที่สุดเบื้องต้น ทั้งทิฏฐิที่ปรารภที่สุดเบื้องปลายแล้วตรัสว่า ไม่ทรงอนุมัติตามคํากล่าวของสมณพราหมณ์เหล่านั้น เพราะที่ยืนยันลงไปอย่างนั้น ยังมีสัตว์ประเภทอื่นอีก ที่เป็นอย่างอื่น แล้วทรงแสดงสติปัฏฐาน ๔ อย่างว่า เพื่อละ เพื่อก้าวล่วงทิฏฐิทั้งสองประเภทนั้น.

                พระอุปทานะยืนถวายอยู่งานพัด ณ เบื้องพระปฤษฎางค์พระพุทธเจ้า กราบทูลสรรเสริญพระธรรมเทศนาว่า น่าอัศจรรย์ น่าเลื่อมใส (ปาสาทิกะพระผู้มีพระภาคจึงตรัสให้เรียกชื่อธรรมปริยายนี้ว่า ปาสาทิกะ








พระสุตตันตปิฎก-สัมปสาทนียสูตร






    พระไตรปิฎก-พระสุตตันตปิฎก-สัมปสาทนียสูตร
           สัมปสาทนียสูตร อยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่11 ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เป็นพระสูตรขนาดยาว



. สัมปสาทนียสูตร
สูตรว่าด้วยคุณธรรมที่น่าเลื่อมใสของพระพุทธเจ้า



********************************************************************************************






พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ป่ามะม่วงซึ่งเศรษฐีขายผ้าเป็นผู้ถวาย (ปาวาริกัมพวัน).พระสาริบุตรเข้าไปเฝ้ากราบทูลว่า ท่านเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคว่า ไม่มีสมณพราหมณ์ใดในอดีต อนาคต ปัจจุบัน ยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาคในทางตรัสรู้ พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ท่านเปล่งวาจาอย่างอาจหาญ บรรลือสีหนาท ยืนยันแน่ลงไปโดยส่วนเดียว ท่านกําหนดรู้จิตของพระผู้มีพระภาคในอดีตอนาคต ปัจจุบัน หรือว่ามีศีลมีธรรม มีปัญญา มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ และหลุดพ้นแล้วอย่างนี้ๆพระสารีบุตรตอบว่าเปล่าพระเจ้าข้า.จึงตรัสถามว่าเมื่อเป็นเช่นนั้นเหตุไฉนจึงเปล่งวาจาอย่างอาจหาญบรรลือสีหนาทยืนยันแน่ลงไปโดยส่วนเดียว

พระสารีบุตรแสดงความแน่ ใจ

                พระสาริบุตรกราบทูลแสดงความแน่ใจของท่านว่าเปรียบเหมือนนายประตูผู้ฉลาดเฝ้าอยู่ทางประตู เข้าออกไม่เห็นทางอื่นเช่น ที่ต่อกำแพง แม้ที่แมวจะเข้าออกได้ เขาย่อมแน่ใจว่าสัตว์ตัวใหญ่ย่อมเข้าออกพระนครนี้ ทางประตูนี้เท่านั้นตัวท่านเองก็เป็นเช่นนั้นรู้นัยแห่งธรรมว่าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งในอดีต อนาคต ปัจจุบัน ทรงละนีวรณ์ ๕ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต อันทําปัญญาให้อ่อนกําลังทรงตั้งจิตไว้ด้วยดีในสติปัฏฐาน ๔ ทรงเจริญโพชฌงค์ ๗ ตามเป็นจริงแล้วจึงได้บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม.ท่านได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเพื่อสดับธรรมเมื่อสดับธรรมแล้วก็รู้ยิ่งธรรมบางอย่างในธรรมนั้น ถึงความสําเร็จใน (อริยสัจจธรรม เลื่อมใสในพระศาสดาว่า พระผู้มีพระภาคเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคแสดงดีแล้ว พระสงฆ์ปฏิบัติดีแล้ว.

ข้อนําเลื่อมใส ๑๕ ข้อ

                ครั้นแล้วท่านได้แสดงธรรมะอันยอดเยี่ยมที่พระผู้มีพระภาค แสดงแก่ท่าน ซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสรู้ อย่างไม่มีส่วนเหลือ ไม่มีข้อที่ควรรู้ยิ่งขึ้นไปอีก ซึ่งจะพึงมีสมณพราหมณ์อื่นยิ่งไปกว่า เป็นข้อ ๆ ดังต่อไปนี้ :

                  ๑กุศลธรรม (แสดงโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการตามหัวข้อใหญ่ มีสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น จนถึง มรรคมีองค์ ๘).
                ๒ธรรมในการบัญญัติอายตนะ (ทั้งภายในและภายนอก คือตากับรูปหูกับเสียงจมูกกับกลิ่นกายกับโผฏฐัพพะและใจกับธรรมะ).
                   ๓ธรรมในการก้าวลงสู่ครรภ์ (มี ๔ ชนิด มีการก้าวลงสู่ครรภ์ การตั้งอยู่ การออกจากครรภ์ โดยไม่มีความรู้สึกตัว รู้ตัวในข้อแรก ไม่รู้ตัวใน ๒ ข้อหลัง รู้ตัวใน ๒ ข้อแรก ไม่รู้ตัวในข้อหลัง รู้ตัว ทั้งสามข้อ)
            ๕ ธรรมในทัสสนสมาบัติ (เข้าฌานที่มีการเห็นอารมณ์ต่าง ๆ รวม ๔ อย่าง คือเห็นอาการ ๓๒มีผมขนเป็นต้น : พิจารณากระดูก ; พิจารณากระแสวิญญาณของบุรุษอันตั้งอยู่ในโลกนี้และโลกอื่นพิจารณาวิญญาณของบุรุษอันไม่ตั้งอยู่ในโลกนี้และโลกอื่น.)
                ๖ธรรมในการบัญญัติบุคคล (มี ๗ อย่าง มีอุภโตภาควิมุต ผู้พ้นโดยส่วนทั้งสอง เป็นต้น จนถึง สัทธานุสารี ผู้แล่นไปตามศรัทธา).
                ๗ ธรรมในกลุ่มที่เป็นประธาน (คือโพชฌงค์องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ ๗ อย่างมีสติ เป็นต้น)
     ๘ ธรรมในข้อปฏิบัติ (มี ๔ อย่าง มีปฏิบัติลําบากและรู้ได้ช้า เป็นต้น).
                ๙ธรรมในความประพฤติเกี่ยวกับคําพูด (มี ๔ อย่าง คือ ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด คือไม่ยุ ให้แตกร้าวกัน ไม่พูดแข่งดีหวังจะได้ชัยชนะ เช่น เมื่อถูกว่า ท่านเป็นคนทุศีล ก็ตอบว่า ท่านน่ะสิทุศีล อาจารย์ของท่านก็ทุศีล พูดด้วยใช้ปัญญา มีข้ออ้างอิง ถูกต้องตามกาล).
                ๑๐ ธรรมในวิธีสั่งสอน (คือรู้วิธีสั่งสอนให้เป็นพระอริยบุคคล ๔ ชั้น มีพระโสดาบัน เป็นต้น)
                ๑๑.ธรรมในการรู้ความหลุดพันของผู้อื่น (รู้ความหลุดพ้นของพระอริยบุคคล ๔).
               ๑๒ธรรมในสัสสตวาทะ คือลัทธิที่เห็นว่าเที่ยง (มี ๓ อย่าง คือเห็นว่าตนและโลกเทียง เพราะระลึกชาติได้ ).
              ๑๓ธรรมในญาณหยั่งรู้ความจุติ (เคลื่อนหรือตายและอุปบัติ (เกิดขึ้นนของสัตว์ทั้งหลาย (มีทิพยจักษุ เห็นสัตว์ได้ชั่วได้ดีตามกรรมของตน)
                ๑๔ธรรมในการแสดงฤทธิ์ (ทั้งฤทธิ์ที่มีอาสวะและกิเลส และฤทธิ์ที่ไม่มีอาสวะและกิเลส).
         ๑๕พระผู้มีพระภาคทรงบรรลุธรรมที่บุรุษผู้มีศรัทธาพึงบรรลุด้วยความเพียร ด้วยเรี่ยวแรง ด้วย ไม่ทรงประกอบพระ องค์ให้ชุ่ม ด้วยกามไม่ทรงประกอบการทรมานพระองค์ให้ลําบากทรงได้ฌาน ๔ อันเป็นเรื่องของจิตใจชั้นสูง อันเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามพระประสงค์ โดยไม่ ยากลําบาก.

                ครั้นแล้วท่านก็ย้ำความแน่ใจของท่านว่า เมื่อมีใครถาม ท่านก็จะยืนยันว่า ไม่มีสมณพราหมณ์ ทั้งในอดีต อนาคต ปัจจุบันจะยิ่งไปกว่าพระผู้มีพระภาคในทางตรัสรู้ แต่ถ้าถามว่า มีสมณพราหมณ์ในอดีต ในอนาคต ที่เสมอด้วยพระผู้มีพระภาคในทางตรัสรู้หรือไม่ ก็จะตอบว่า มี แต่ถ้าถามถึงปัจจุบันก็จะตอบว่า ไม่มีถ้าถูกถามอีกว่า ทําไมจึงเป็นเช่นนั้น ก็จะตอบว่า เคยได้สดับมาในที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค ว่า มีพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในอดีต อนาคต ที่เสมอด้วยพระองค์ในทางตรัสรู้ และได้เคยสดับในที่ เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค (เช่นเดียวกันว่า มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่ในโลกธาตุเดียวกัน จะมีพระอรหันตสมมาสมพทธเจ้าเกิดขึ้นพร้อมกัน ๒ พระองค์.พระผู้พระภาคก็ตรัสรับรองภาษิตของพระสารีบุตร.

คำของพระอุทายี

                พระอุทายีก็กราบทูลสรรเสริญพระผู้มีพระภาคว่า เป็นที่น่าอัศจรรย์ทีทรงมีความปรารถนาน้อยความสันโดษ ความขัดเกลา ทั้ง ๆ ที่ทรงมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก แต่ก็ไม่ทรงทําพระองค์ให้ปรากฏ(โอ้อวด)









           

พระสุตตันตปิฎก-อัคคัญญสูตร





       พระไตรปิฎก-พระสุตตันตปิฎก-อัคคัญญสูตร
               อัคคัญญสูตร อยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่11 ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เป็นพระสูตรขนาดยาว


๔.อัคคัญญสูตร

สูตรว่าด้วยสิ่งที่เลิศ หรือที่เป็นต้นเดิม


********************************************************************************************






พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ปราสาทของนางวิสาขาในบุพพาราม ใกลักรุงสาวัตถี สมัยนั้น สามเณรชื่อวาเสฏฐะและภารัทวาชะ (เดิมนับถือศาสนาอื่น) อยู่ปริวาส (อบรม)ในภิกษุทั้งหลาย ปรารถนา ความเป็นภิกษุ ชวนกันไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ผู้กําลังจงกรมอยู่ในที่แจ้ง เพื่อฟังธรรม พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พวกท่านมีชาติเป็นพราหมณ์ มีสกุลเป็นพราหมณ์ ออกบวช. พวกพราหมณ์ที่เป็นชั้นหัวหน้า ไม่ด่า ไม่บริภาษบ้างหรือ กราบทูลตอบว่า ด่าอย่างเต็มที่ ตรัสถามว่า ด่าอย่างไร. กราบทูลว่า ด่าว่าพราหมณ์เป็น วรรณะประเสริฐ เป็นวรรณะขาว บริสุทธิ์ วรรณะอื่นเลว เป็นวรรณะดํา ไม่บริสุทธิ์ พราหมณ์เป็นบุตร ของพรหม เกิดจากปากพรหม เป็นพรหมทายาท. พวกท่านละวรรณะอันประเสริฐ ไปเข้าสู่วรรณะเลว คือ พวกสมณะศีรษะโล้น ซึ่งเป็นพวกไพร่ พวกดํา พวกเกิดจากเท้าของพระพรหม ซึ่งเป็นการไม่ดี ไม่สมควร เลย พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พราหมณ์พวกนั้นลืมตน เกิดจากองค์กําเนิดของพราหมณีแท้ ๆ ยังกล่าวว่า ประเสริฐสุด เกิดจากปากพรหม เป็นต้น ซึ่งเป็นการกล่าวคู่พระพรหมและพูดปด


                แล้วตรัสเรื่องมนุษย์ ๔ วรรณะ ที่ทําชั่วทําดีได้อย่างเดียวกัน และเรื่องที่พระเจ้าปเสนทิโกศล (ผู้เป็นกษัตริย์) แต่ปฏิบัติต่อพระองค์ ซึ่งพวกพราหมณ์ถือว่าเป็นพวกดํา (เพราะปลงศีรษะออกบวช) อย่างเต็ม ไปด้วยความเคารพ.

                ครั้นแล้วตรัส (เป็นเชิงปลอบใจ หรือให้หลักการใหม่) ว่า ท่านทั้งหลายมาบวช จากโคตร จากสกุล ต่าง ๆ เมื่อมีผู้ถามว่า เป็นใคร ก็จงกล่าวตอบว่า พวกเราเป็นสมณะศากยบุตร ผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่นในตถาคต ผู้นั้นย่อมควรที่จะกล่าวว่า เราเป็นบุตร เป็นโอรสของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้เกิดจากธรรม อันธรรมสร้าง เป็นธรรมทายาท (ผู้รับมรดกธรรม) ทั้งนี้เพราะคําว่า ธัมมกาย (กายธรรม) พรหมกาย (กายพรหม) และ ผู้เป็นธรรม ผู้เป็นพรหม นี้เป็นชื่อของตถาคต.

(เป็นการแก้ข้อด่าของพวกพราหมณ์ โดยสร้างหลักการใหม่ให้พวกมาบวชจากทุกวรรณะได้ชื่อว่า มีกําเนิดใหม่ที่ไม่แพ้พวกพราหมณ์).

    ครั้นแล้วตรัสเรื่องสมัยหนึ่งโลกหมุนเวียนไป|สู่ความพินาศสัตว์ทั้งหลายไปเกิดในชั้นอาภัสสรพรหมกันโดยมากเมื่อโลกหมุนกลับ (คือเกิดใหม่ภายหลังพินาศสัตว์เหล่านั้นก็จุติมาสู่โลกนี้ เป็นผู้เกิดขึ้นจากใจกินปีติเป็นภักษา (ยังมีอํานาจฌานอยู่มีแสงสว่างในตัว ไปได้ในอากาศ (เช่นเดียวกับเมือเกิดในชั้นอาภัสสรพรหม).

อาหารชั้นแรก

                แล้วเกิดมีรสดิน (หรือเรียกว่าง้วนดินอันสมบูรณ์ด้วยสี กลิ่น รส สัตว์ทั้งหลายเอานิ้วจิ้มง้วนดินลิ้มรสดูก็ชอบใจ เลยหมดแสงสว่างในตัว เมื่อแสงสว่างหายไป ก็มีพระจันทร์ พระอาทิตย์ มีดาวนักษัตร มีคืนวัน มีเดือน มีกิ่งเดือน มีฤดู และปี เมื่อกินง้วนดินเป็นอาหาร กายก็หยาบกระด้าง ความทรามของ ผิวพรรณก็ปรากฏ พวกมีผิวพรรณดี ก็ดูหมิ่นพวกมีผิวพรรณทราม เพราะดูหมิ่นผู้อื่นเรื่องผิวพรรณ เพราะ ความถือตัวและดูหมิ่นผู้อื่น ง้วนดินก็หายไป ต่างก็พากันบ่นเสียดาย แล้วก็เกิดสะเก็ดดินที่สมบูรณ์ด้วยสี กลิ่น และรส ขึ้นแทน ใช้เป็นอาหารได้แต่เมื่อกินเข้าไปแล้วร่างกายก็หยาบกระด้างยิ่งขึ้น ความทรามของ ผิวพรรณก็ปรากฏชัดขึ้น เกิดการดูหมิ่น ถือตัว เพราะเหตุผิวพรรณนั้นมากขึ้น สะเก็ดดินก็หายไป เกิด เถาไม้สมบูรณ์ด้วยสี กลิ่น และรส ขึ้นแทน ใช้กินเป็นอาหารได้ ความหยาบกระด้างของกาย และความทรามของผิวพรรณก็ปรากฏมากขึ้นเกิดการดูหมิ่นถือตัวเพราะเหตุผิวพรรณนั้นมากขึ้นเถาไม้ก็หายไป ข้าวสาลี ไม่มีเปลือกมีกลิ่นหอมมีเมล็ดเป็นข้าวสาลีก็เกิดขึ้นแทน ใช้เป็นอาหารได้ ข้าวนี้เก็บเย็นเช้าก็แก่แทนที่ขึ้นมาอีกไม่ปรากฏพร่องไปเลยความหยาบกระด้างของกายความทรามของผิวพรรณก็ปรากฏมากขึ้น

เพศหญิงเพศชาย

                จึงปรากฏเพศหญิงเพศชาย.เมื่อต่างเพศเพ่งกันและกันเกินขอบเขต ก็เกิดความกำหนัดเร่าร้อนและเสพเมถุนธรรมต่อหน้าคนทั้งหลายเป็นที่รังเกียจและพากันเอาสิ่งของขว้างปา เพราะสมัยนั้นถือว่าการเสพเมถุนเป็นอธรรม เช่นกับที่สมัยนี้ถือว่าเป็นธรรม (ถูกต้อง). ต่อมาจึงรู้จักสร้างบ้านเรือน ปกปิดซ่อนเร้น.

การสะสมอาหาร

                ต่อมามีผู้เกียจคร้านที่จะนําข้าวสาลีมาตอนเช้าเพื่ออาหารเช้า นํามาตอนเย็นเพื่ออาหารเย็น จึงนํามาครั้งเดียวให้พอทั้งเช้าทั้งเย็นต่อมาก็นํามาครั้งเดียวให้พอสําหรับ ๒ วัน ๔ วัน ๘ วัน มีการสะสมอาหาร จึงเกิดมีเปลือกห่อหุ้มข้าวสาร ที่ถอนแล้วก็ไม่งอกขึ้นแทน ปรากฏความพร่อง (เป็นตอน ๆ ที่ถูกถอนไปมนุษย์เหล่านั้นจึงประชุมกันปรารภความ เสื่อมลงโดยลําดับ แล้วมีการแบ่งข้าวสาลีกําหนดเขต(เป็นของคนนั้นคนนี้).

อกุศลธรรมเกิดขึ้น กษัตริย์เกิดขึ้น

                ต่อมาบางคนรักษาส่วนของตนขโมยของคนอื่นมาบริโภคเมื่อถูกจับได้ ก็เพียงแต่สั่งสอนกันไม่ให้ทําอีกเขาก็รับคำ ต่อมาขโมยอีกถูกจับได้ถึงครั้งที่ ๓ ก็สั่งสอนเช่นเดิมอีกแต่บางคนก็ลงโทษตบด้วยมือขว้างด้วยก้อนดิน ตีด้วยไม้.เขาจึงประชุมกันปรารภว่า การลักทรัพย์ การติเตียน การพูดปดการจับท่อนไม้เกิดขึ้น ควรจะแต่งตั้งคนขึ้นให้ทําหน้าที่ติคนที่ควรติ ขับไล่คนที่ควรขับไล่ โดยพวกเราจะแบ่งส่วนข้าวสาลีให้ จึงเลือกคนที่งดงามมีศักดิ์ใหญ่แต่งตั้งเป็นหัวหน้าเพื่อปกครองคน (ติและขับไล่คนที่ทําผิดคําว่า"มหาสมมต" (ผู้ที่มหาชนแต่งตังกษัตริย์ (ผู้เป็นใหญ่แห่งนาราชา (ผู้ทําความอิมใจสุขใจแก่ผู้อื่นจึงเกิดขึ้น.กษัตริย์ก็เกิดขึ้นจากคนพวกนั้นมิใช่พวกอื่นจากคนเสมอกันมิใช่คนไม่เสมอกันเกิดขึ้นโดยธรรมมิใช่เกิดขึ้นโดยธรรมะ ธรรมะจึงเป็นสิ่งประเสริฐสุดในหมู่ชนทั้งในปัจจุบันและอนาคต.

เกิดพราหมณ์,แพศย์,ศูทร

                ยังมีคนบางกลุ่มออกบวชมุ่งลอยธรรมที่ชั่วที่เป็นอกุศล จึงมีนามว่า พราหมณ์ (ผู้ลอยบาปสร้าง กุฎีหญ้าขึ้น เพ่งในกุฎีนั้น จึงมีนามว่า ฌายกะ (ผู้เพ่ง) ; บางคนไปอยู่รอบหมู่บ้านรอบนิคม แต่งตํารา (อรรถกถาว่า แต่งพระเวทและสอนให้ผู้อื่นสวดสาธยายคนจึงกล่าวว่า ไม่เพ่ง นามว่า อัชฌายกะ (ผู้ไม่เพ่งจึงเกิดขึ้น เดิมหมายความเลว แต่บัดนี้หมายความดี (อัชฌายกะ ปัจจุบันนี้แปลว่า ผู้สาธยาย).

                ยังมีคนบางกลุ่ม ถือการเสพเมถุนธรรม อาศัยการล่าสัตว์เลี้ยงชีวิต จึงมีชื่อว่าศูทร (พระไตรปิฎก ฉบับไทยตกหาย ข้อความวรรคนี้ทั้งวรรค จึงต้องแปลตามฝรั่ง อรรถกถาอธิบายคําว่า สุทท มาจากคําว่า ลุทท (นายพรานหรือ ขุทท (งานเล็ก ๆ น้อย ๆเป็นเชิงว่าพวกแพศย์ คือผู้ทํางานสําคัญ แต่พวกศูทรทํางานเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เข้าใจกันทั่วไป คือศูทรเป็นพวกคนงานหรือคนรับใช้).

                ครั้นแล้วตรัสสรูปว่า ทั้งพราหมณ์ แพศย์ ศูทร ก็เกิดจากพวกคนพวกนั้น มิใช่เกิดจากคนพวกอื่น เกิดจากคนที่เสมอกัน มิใช่เกิดจากคนที่ไม่เสมอกัน เกิดขึ้นโดยธรรม มิใช่เกิดขึ้นโดยอธรรม(แสดงว่า การแบ่งชั้นวรรณะนั้น ในชั้นเดิมมิได้มาจากหลักการอื่น นอกจากการแบ่งงานหรือแบ่งหน้าที่กันตามความ สมัครใจ แล้วก็ไม่ใช่ว่าใครวิเศษกว่าใครมาแต่ต้น แท้จริงก็คนชั้นเดียวกันมาแต่เดิม ทั้งนี้เป็นการทําลาย ทิฏฐิมานะ ช่วยให้ลดการดูหมิ่นกันแลกัน เป็นการปฏิเสธหลักการของพราหมณ์ ที่ว่าใครเกิดจากส่วนไหนของพระพรหม ซึ่งสูงต่ำกว่ากัน).

สมณมณฑล

                แล้วตรัสต่อไปว่ามีสมัยซึ่งบุคคลในวรรณะทั้งสี่มีกษัตริย์ เป็นตันไม่พอใจธรรมะของตนออกบวชไม่ครองเรือนจึงเกิดสมณมณฑลหรือคณะของสมณะขึ้นจากคณะทั้งสี่ คือเกิดจากคนเหล่านั้นมิใช่เกิดจากคนพวกอื่นเกิดจากคนที่เสมอกันมิใช่เกิดจากคนที่ไม่เสมอกันเกิดขึ้นโดยธรรมมิใช่เกิดขึ้นโดยอธรรม. (อันนีเป็นการพิสูจน์อีกว่าคนชั้นสมณะที่พวกพราหมณ์ดูหมิ่นอย่างยิ่งนั้นก็เกิดจากวรรณะทั้งสี่ ซึ่งมีมูลเดิมมาดัวยกันไม่ใช่ใครสูงต่ำกว่ากัน).

การได้รับผลเสมอกัน

                ครั้นแล้วตรัสสรูปว่าทั้งกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทรและสมณะถ้าประพฤติทุจจริตทางกายวาจาใจมีความเห็นผิดประกอบกรรมซึ่งเกิดจากความเห็นผิดเมื่อตายไปก็จะเข้าถึงอบายทุคคติ
วินิบาต นรก เหมือนกันถ้าตรงกันข้าม คือประพฤติสุจริตทางกายวาจา ใจมีความเห็นชอบประกอบ กรรม ซึ่งเกิดจากความเห็นชอบ เมื่อตายไป ก็จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เหมือนกัน หรือถ้าทําทั้งสองอย่าง (คือชั่วก็ทํา ดีก็ทําก็จะได้รับทั้งสุขทั้งทุกข์เหมือนกัน.

                อนึ่ง วรรณะทั้งสี่นี้ ถ้าสํารวมกายวาจา ใจอาศัยการเจริญโพธิปักขิยธรรม ๗ ประการก็จะ ปรินิพพานได้ในปัจจุบันเหมือนกัน.

                และวรรณะทั้งสี่เหล่านี้ ผู้ใดเป็นภิกษุ เป็นพระอรหันต์ขีณาสพ หมดกิจ ปลงภาระ หลุดพ้น เพราะรู้โดยชอบ ผู้นั้นก็นับว่าเป็นยอดแห่งวรรณะเหล่านั้นโดยธรรม มิใช่โดยอธรรม เพราะธรรมะเป็นสิ่ง ประเสริฐสุดในหมู่ชนทั้งในปัจจุบันและอนาคต

                ในที่สุดตรัสย้ำถึงภาษิตของสนังกุมารพรหมและของพระองค์ ที่ตรงกันว่า กษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐ สุดในหมู่ชนผู้ถือโคตร แต่ผู้ใดมีวิชชา (ความรู้จรณะ (ความประพฤติผู้นั้นเป็นผู้ประเสริฐสุดในเทวดา และมนุษย์

                (หมายเหตุพระสูตรนี้ มีลีลาแสดงความเป็นมาของโลก แต่แสดงแล้ว ก็ยกธรรมะเป็นจุดสูงสุด ในเทวดาและมนุษย์ วรรณะทั้งสี่ก็มาจากคนพวกเดียวกัน ไม่มีใครวิเศษกว่ากัน แต่ภายหลังคนเข้าใจผิด ดูหมิ่นกันไปเอง การแสดงเรื่องความเป็นมาของโลก อาจวินิจฉัยได้เป็น ๒ ประการ คือประการแรก เป็น การเอาหลักของศาสนาพราหมณ์มาเล่า แต่อธิบายหรือตีความเสียใหม่ให้เข้ารูปเข้ารอยกับคติธรรมทาง พระพุทธศาสนา อันชี้ให้เห็นว่าพราหมณ์เข้าใจของเก่าผิด จึงหลงยกตัวเองว่าประเสริฐ อีกอย่างหนึ่ง เป็นการเล่าโดยมิได้อิงคติของพราหมณ์โดยถือเป็นของพระพุทธศาสนาแท้ ๆ ก็แปลกดีเหมือนกัน เพราะถ้า เทียบส่วนใหญ่กับส่วนเล็กในทางวิทยาศาสตร์แล้วปรมาณุที่มีโปรตอนเป็นศูนย์กลาง มีอีเล็กตรอน เป็นตัว วิ่งวน รวมทั้งมีนิวตรอนเป็นส่วนประกอบด้วยนั้น มีลักษณะใกล้เคียงกับสุริยะระบบ ซึ่งมีดวงอาทิตย์เป็น จุดศูนย์กลาง มีดาวเคราะห์ (PLANETS) เช่นโลกเรา และดาวพระศุกร์ พระเสาร์ เป็นต้น วนรอบคล้าย อีเล็กตรอน มีบางโอกาสที่ปรมาณูอาจถูกแยก ถูกทําลาย เพราะเหตุภายนอก เช่น ที่นักวิทยาศาสตร์จัดทํา ฉันใด สุริยะระบบ หรือ SOLAR SYSTEM ก็เช่นเดียวกัน อาจถูกทําลายหรือสลายตัว แล้วเกิดใหม่ได้ เพราะมีระบบสุริยะอื่นเข้ามาใกล้หรือมีเหตุอื่นเกิดขึ้น ในการเกิดก็เช่นเดียวกัน เมื่อทําลายได้ก็อาจรวมตัวได้ ในเมื่อธาตุไฮโดรเยนกับออกซิเยนรวมตัวกันเป็นน้ํา พวกฝุ่นผงที่แหลกก็เข้ามารวมตัวกันน้ำได้และแข้นแข็ง ขึ้นในที่สุด เป็นเรื่องเสนอชวนให้คิด แต่มิได้ชวนให้ติดในเกร็ด เพราะสาระสําคัญอยู่ที่การถือธรรมะเป็นใหญ่ เป็นหลักของสังคมทุกชั้น)