Translate

วันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2561

พระสุตตันตปิฎก-มหาปรินิพพานสูตร



พระไตรปิฎก-พระสุตตันตปิฎก-มหาปรินิพพานสูตร
 มหาปรินิพพานสูตร อยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่10 ทีฆนิกายมหาวัคค์เป็นที่รวมแห่งพระสูตรขนาดยาว


. มหาปรินิพพานสูตร
ว่าด้วยมหาปรินิพพานของพระพุทธเจ้า


********************************************************************************************





เริ่มเรื่องเล่าว่า พระพุทธเจ้าประทับ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์ พระเจ้าอชาตศัตรุ กษัตริย์แคว้นมคธ ต้องการจะตีแคว้นวัชชีไว้ในอํานาจ จึงส่งวัสสการพราหมณ์ให้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค เล่าความให้ทรงทราบแล้ว ให้วัสสการพราหมณ์ฟังดูว่าจะทรงพยากรณ์อย่างไร เพราะเชื่อว่าจะไม่ตรัสผิดความจริง.

                วัสสการพราหมณ์เข้าไปเฝ้ากราบทูลเรื่องนั้น พระผู้มีพระภาคก็ตรัสถามพระอานนท์ทีละข้อถึง ธรรมะ ๗ ประการที่ชาววัชชีประพฤติกัน อันจะหวังความเจริญได้โดยส่วนเดียว ไม่มีเสื่อม ว่าพระอานนท์เคย ได้ฟังบ้างหรือเปล่า พระอานนท์ก็กราบทูลว่า เคยได้ฟัง ธรรมะ ๗ ประการนั้น คือชาววัชชี
                ๑. จะหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์,
                ๒. จะพร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทํากิจของชาววัชชี
                ๓.จะไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ จะไม่ถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว จะประพฤติปฏิบัติในวัชชีธรรม อันเป็นของเก่า,
                ๔. จะเคารพเชื่อฟังชาววัชชีผู้แก่เฒ่า
                ๕. จะไม่ก้าวล่วงข่มเหงกุลสตรี (หญิงที่มีสามีแล้ว) และกุลกุมารี (หญิงสาวที่ยังไม่มีสามี)
                ๖. จะเคารพนับถือเจดีย์ของชาววัชชีทั้งภายในและภายนอก ไม่ละเลยพลีกรรมอันเป็นธรรมที่เคยให้เคยทำ
                ๗.จะจัดการรักษาคุ้มครองอันเป็นธรรม ในพระอรหันต์ของชาววัชชี จะตั้งใจว่า พระอรหันต์ ที่ยังไม่มาขอให้มา ที่มาแล้วขอให้เป็นสุข.


                ครั้นแล้วได้ตรัสแก่วัสสการพราหมณ์ว่า พระองค์เคยตรัสแสดงวัชชีอปริหานิยธรรม (ธรรมะอันเป็น ที่ตั้งแห่งความไม่เสื่อมของชาววัชชี) ๗ ประการ เมื่อประทับ ณ สารันทเจดีย์
                วัสสการพราหมณ์ก็กราบทูลว่า เพียงข้อใดข้อหนึ่งก็หวังความเจริญได้ ไม่มีเสื่อม จะกล่าวไย ถึง ๗ ข้อ พระเจ้าอชาตศัตรุไม่ควรทําการรบกับชาววัชชี เว้นไว้แต่ใช้วิธียุและทําให้แตกกัน แล้วกราบทูลลากลับไป
                เมื่อวัสสการพราหมณ์กลับไปแล้ว จึงตรัสให้เรียกประชุมภิกษุที่อยู่ในกรุงราชคฤห์ทั้งหมด แล้วทรง แสดงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความไม่เสื่อมของภิกษุ ๗ อย่าง รวม ๕ นัย ๖ อย่าง ๑ นัย (รวมเป็น ๓๑ข้อ)
                ระหว่างที่ประทับ ณ เขาคิชฌกูฏใกล้กรุงราชคฤห์นั้น ทรงแสดงเรื่องศีล สมาธิ ปัญญา โดยมาก.



เสด็จสวนมะม่วงหนุ่มและเมืองนาฬันทา

                ต่อจากนั้นเสด็จสวนมะม่วงหนุ่ม แสดงธรรมเรืองศีล สมาธิ ปัญญา โดยมาก แล้วเสด็จเมือง นาพันทา พระสาริบุตรเข้าไปเฝ้ากราบทูลสรรเสริญพระผู้มีพระภาค พระองค์ตรัสโต้ตอบด้วย และในทีนั้น ก็ทรงแสดงธรรมเรืองศีล สมาธิ ปัญญา โดยมาก.

เสด็จปาฏลิคาม

                ครั้นแล้วเสด็จสู่ปาฏลิคาม อุบาสกชาวปาฏลิคาม มาเฝ้ากราบทูลเชิญให้เข้าพักในที่พัก ทรงแสดง โทษของความวิบัติจากศีล ๕ ประการ คือ ๑. เสื่อมทรัพย์ ๒. มีกิตติศัพท์ในทางชั่ว ๓. เมื่อเข้าสู่บริษัท ไม่องอาจ มีอาการเก้อเขิน ๔. เป็นผู้หลง ถึงแก่ความตาย ๕ เมื่อตายแล้ว ก็เข้าถึงอบาย ทุคคติ วินิบาตนรก. แล้วทรงแสดงอานิสงส์แห่งความสมบูรณ์ด้วยศีล ๕ ประการ ในทางตรงกันข้ามกับศีลวิบัติ.
                กล่าวถึงสุนิธพราหมณ์และวัสสการพราหมณ์ มหาอํามาตย์ชาวมคธ มาสร้างเมืองในปาฏลิคาม เพื่อป้องกันชาววัชชี (ชายแดนมคธกับวัชชี ตรงนั้นมีแม่น้ําคงคากั้นเป็นเขตแดน ทางมคธจึงสร้างเมืองยุทธศาสตร์ไว้ที่ปาฏลิคาม) และได้นิมนต์พระผู้มีพระภาค พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ฉันภัตตาหาร ณ ที่อยู่ของตน เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จไปฉันเสร็จแล้ว ทรงอนุโมทนา และเสด็จเดินทางต่อไป มหาอํามาตย์ทั้งสองตาม ส่งเสด็จ และตั้งชื่อประตูที่เสด็จผ่านว่า ประตูโคดม ตั้งชื่อท่าน้ําที่เสด็จข้ามแม่น้ำคงคาว่า ท่าโคดม



เสด็จโกฏิคและนาทิกคาม

                เมื่อเสด็จข้ามแม่น้ำคงคาแล้ว ได้เสด็จต่อไป (ในแควันวัชชี) สู่โกฏิคาม ณ ที่นั้นทรงแสดงธรรม เรื่องอริยสัจจ์ ๔ และแสดงเรื่องศีล สมาธิ ปัญญา โดยมากต่อจากนั้นได้เสด็จไปพัก ณ โรงพักคนเดินทาง ทําด้วยอิฐ ในนาทิกคาม ณ ที่นั้นทรงแสดงธรรมปรารภคําถามของพระอานนท์ที่ว่า ผู้นั้นผู้นี้ตายไป มีคติ เป็นอย่างไร โดยแสดงหลักธรรมที่ผู้ประพฤติปฏิบัติอาจพยากรณ์ตนเองได้ว่า จะพ้นคติที่ตกต่ำหรือไม่ และ แม้ ณ นาทิกคามนั้นก็ทรงแสดงเรื่องศีล สมาธิ ปัญญา โดยมาก

เสด็จป่ามะม่วงของนางอัมพปาลี

                จากนาทิกคามได้เสด็จไปพัก ณ ป่ามะม่วงของนางอัมพปาลี และได้แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ให้มีสติสัมปชัญญะ และโดยเฉพาะได้แสดงการตั้งสติ (สติปัฏฐาน) ๔ ประการ

               
นางอัมพปาลี ซึ่งเป็นหญิงนครโสเภณี ทราบว่าพระผู้มีพระภาคเสด็จมาประทับณป่ามะม่วงของตนก็สั่งเตรียมยานอย่างดี เดินทางไปเฝ้าและนิมนต์พระผู้มีพระภาคไปฉันที่บ้านของตนพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ในวันรุ่งขึ้น.
ฝ่ายกษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลายทราบว่าพระผู้มีพระภาคเสด็จมาประทับ ณ ป่ามะม่วงของนางอัมพปาลี ใก้กรุงเวสาลี ก็สั่งเตรียมยานอย่างดี แต่งกายงดงาม ออกเดินทางไป สวนทางกับยานของนางอัมพปาลีถามทราบความว่านางอัมพปาลีนิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ฉันในวันรุ่งขึ้นจึงขอร้องให้มอบให้ ตนเป็นผู้ถวายอาหารแทนโดยจะให้เงินแสนหนึ่งนางอัมพปาลีตอบว่าแม้จะให้เมืองเวสาลี พร้อมทั้งอาหารก็จะไม่ยอมถวายอาหารแทนตน เมื่อกษัตริย์ลิจฉวีไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ก็กราบทูลนิมนต์ฉันในวันรุ่งขึ้นพระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่านางอัมพปาลีนิมนต์ไว้แล้วก็ดีดมือแสดงความเสียดาย.
                เมื่อไปฉันที่บ้านนางอัมพปาลีในวันรุ่งขึ้น นางอัมพปาลีก็ได้ถวายป่ามะม่วงแก่ภิกษุสงฆ์ ณ ป่า มะม่วงนั้น ทรงแสดงธรรมเรื่องศีล สมาธิ ปัญญา โดยมาก.



เสด็จจำพรรษา ณ เวฬุวคาม

                ต่อจากนั้นได้เสด็จไปยังเวฬุวคาม (หมู่บ้านไม้มะตูม) และตรัสอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์จําพรรษารอบเมือง เวสาลีได้ตามอัธยาศัย. ในระหว่างพรรษาทรงประชวร แต่ทรงเห็นว่า ยังไม่ได้ลาอุปฐาก (ผู้รับใช้) ยังไม่ได้ ลาภิกษุสงฆ์ ยังไม่สมควรปรินิพพาน จึงทรงขับไล่อาพาธด้วยความเพียรอธิษฐานชีวิตสังขาร (ตั้งพระหฤทัย ให้ดํารงชีวิตอยู่) เมื่อหายประชวรแล้ว พระอานนท์เข้าไปเฝ้ากราบทูลความกังวลใจที่เห็นทรงประวชร ตรัส ตอบว่า พระองค์ได้ทรงแสดงธรรมไม่มีภายใน ไม่มีภายนอก ไม่มีกํามือของอาจารย์ในธรรมทั้งหลาย (ไม่ปิดบัง ธรรมะ) ไม่ได้ทรงยึดถือว่าบริหารภิกษุสงฆ์ และมิได้ทรงยึดถือว่าภิกษุสงฆ์เป็นผู้เล่าเรียนจากพระองค์, ทรงเปรียบพระองค์ซึ่งแก่เฒ่าล่วงวัย มีพระชนมายุถึง ๘๐ ปีว่า เหมือนเกวียนเก่าที่ซ่อมด้วยไม้ไผ่ ตรัสเตือนให้ พึ่งตน พึ่งธรรมะ และตรัสสอนสติปัฏฐาน ๔.




ทรงปลงอายุสังขาร

                เมื่อเสด็จพักผ่อนกลางวัน ณ ปาวาลเจดีย์ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงนิมิตโอภาสอันชัดเจน (บอกใบ้ อย่างชัดเจน) แก่พระอานนท์ว่า ผู้ใดเจริญอิทธิบาท (ธรรมที่ให้บรรลุความสําเร็จผล) ๔ ประการดีแล้ว ถ้า ปรารถนาก็อาจมีอายุยืนอยู่ได้ถึงกัปป์หรือเกินกัปป์แต่พระอานนท์นึกไม่ถึง จึงมิได้กราบทูลอาราธนา.
                เมื่อพระอานนท์ออกไปจากที่เฝ้า มารจึงมาอาราธนาให้นิพพาน พระองค์ทรงมีสติสัมปชัญญะ ปลงอายุสังขาร ณ ปาวาลเจดีย์นั้น (ปลงพระหฤทัยว่า ต่อไปนี้อีก ๓ เดือน จะเสด็จปรินิพพาน) ก็เกิด แผ่นดินไหวมหัศจรรย์ เป็นต้น.
                พระอานนท์กราบทูลถาม จึงตรัสตอบถึงเหตุแห่งแผ่นดินไหว แล้วทรงแสดงบริษัท ๘ มีขัตติยบริษัท เป็นต้น และการที่พระองค์เคยเสด็จเข้าไปสู่บริษัทเหล่านั้น ทําพระองค์ให้เข้ากันได้กับบริษัทเหล่านั้น แล้วทรงแสดงอภิภายตนะ (อารมณ์อันครอบงําธรรมะที่เป็นข้าศึก หรือธรรมะฝ่ายต่ำ) ๘ ประการ วิโมกข์ (ธรรมะเป็นเครื่องหลุดพ้นจากธรรมะที่เป็นข้าศึก) ๘ ประการ

               
แล้วตรัสเล่าเรื่องที่ทรงปลงอายุสังขาร พระอานนท์จึงกราบทูลอาราธนาให้ทรงพระชนมชีพอยู่อีก ตรัสว่า มิใช่กาลที่จะขอร้องเสียแล้ว เพราะได้ทรงแสดงนิมิต (เครื่องหมาย) แสดงโอภาส (แสงสว่าง-หมายถึง การบอกใบ้) อย่างชัดเจนแล้วหลายครั้ง คือที่กรุงราชคฤห์ ๑๐ แห่ง ที่กรุงเวสาลี ๖ แห่ง แต่พระอานนท์ ก็มิได้อาราธนา บัดนี้พระองค์ทรงปลงอายุสังขารเสียแล้ว จึงมิใช่ฐานะที่จะทรงคืนความตั้งพระหฤทัย




เสด็จป่ามหาวันประชุมภิกษุสงฆ์

                ต่อจากนั้นเสด็จสู่เรือนยอด ณ ป่ามหาวัน ทรงเรียกประชุมภิกษุสงฆ์ที่อยู่ในกรุงเวสาลีทั้งหมด ณ ที่นั้น แล้วทรงแสดงสติปัฏฐาน (การตั้งสติ ๔ อย่าง สัมมัปปธาน (ความเพียรชอบ) ๔ อย่าง อิทธิบาท (ธรรมอันให้บรรลุความสําเร็จ) ๔ อย่าง อินทรีย์ (ธรรมอันเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน) ๕ อย่าง พละ (ธรรม อันเป็นกําลัง) ๕ อย่าง โพชฌงค์ (ธรรมอันเป็นองค์ประกอบให้ได้ตรัสรู้) ๗ อย่าง และมรรค (ข้อปฏิบัติ หรือทางดําเนิน) ๘ อย่าง (รวม ๓๗ ประการ) ว่าเป็นอภิญญาเทสิตธรรม (ธรรมที่ทรงแสดงแล้วด้วยความรู้ ยิ่ง) แล้วตรัสเตือนภิกษุทั้งหลายให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท อีก ๓ เดือนต่อแต่นี้ พระองค์จะปรินิพพาน.

เสด็จภัณฑคามและที่อื่น ๆ

                แล้วเสด็จจากกรุงเวสาลีสู่ภัณฑคาม ทรงแสดงอริยธรรม (ธรรมอันประเสริฐ) ๔ ประการ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุติ (ความหลุดพ้น) และทรงแสดงเรื่องศีล สมาธิ ปัญญา โดยมาก.
                ต่อจากนั้นเสด็จสู่หัตถิคาม, อัมพคาม, ชัมพุคาม และโภคนคร โดยลําดับ ณ โภคนคร ทรง แสดงมหาปเทส (หลักอ้างอิงสําหรับสอบสวนข้อกล่าวอ้างของผู้อื่นที่ว่า เป็นธรรมเป็นวินัย เป็นคําสอนของ พระพุทธเจ้า) ๔ ประการ โดยให้สอบกับพระสูตรเทียบกับพระวินัยก่อน




เสด็จกรุงปาวา ฉันอาหารของนายจูนทะ

                ครั้นแล้วเสด็จสู่กรุงปาวา นายจุนทะบุตรช่างทองนิมนต์ฉัน ก็เสด็จไปฉัน พร้อมด้วยภิกษุ ทั้งหลาย ตรัสเรียกให้นําสูกรมัททวะ (มีผู้แปลว่า มังสะสุกรอ่อนบ้าง เห็ดชนิดหนึ่งบ้าง) มาที่พระองค์ ให้ถวายอาหารอื่นแด่พระสงฆ์ เมื่อฉันแล้วตรัสสั่งให้นําสูกรมัททวะนั้นไปฝังเสีย ต่อมาทรงประชวรลงพระโลหิตมีเวทนากล้าแต่ก็ทรงมีสติสัมปชัญญะอดกลั้นอาพาธนั้นไม่ทรงเดือดร้อน.

ระหว่างที่เสด็จสู่กรุงกุสินารา

                ทรงเดินทางต่อไปยังกรุงกุสินารา ทรงแวะจากทาง ให้พระอานนท์ปูผ้าสังฆาฏิ ๕ ชั้นถวาย แล้วตรัสสั่งพระอานนท์ให้ไปตักน้ำมา ครั้งแรกน้ำขุ่นเพราะเกวียนประมาณ ๕๐๐ ผ่านไป พระอานนท์จึงไม่ตัก กราบทูลเชิญให้เสด็จต่อไปยังกกุธานที แต่ตรัสซ้ำให้ไปตักน้ำมา คราวนี้กลับได้น้ำใส
                ณ ที่นั้น ปุกกุสะ มัลลบุตร เดินทางจะไปกรุงปาวา เข้าไปเฝ้าสนทนาด้วย พระองค์ก็รับสั่งโต้ตอบด้วย เมื่อจะจากไปได้ถวายผ้าเนื้อเกลี้ยงสีทองคู่หนึ่งแด่พระผู้มีพระภาค ตรัสแนะให้ถวายพระองค์ผืนหนึ่ง ถวายพระอานนท์ผืนหนึ่ง เมื่อปุกกุสะไปแล้ว พระอานนท์ก็นําผ้าผืนที่ได้รับไปถวายพระผู้มีพระภาค และ กราบทูลว่า พระฉวีวรรณผ่องใสยิ่งนัก ตรัสตอบว่า พระฉวีวรรณของพระองค์ย่อมผ่องใสเป็นพิเศษ ๒ คราว คือในคืนที่จะตรัสรู้ กับในคืนที่จะปรินิพพาน.
                ต่อจากนั้นเสด็จข้ามแม่น้ำกกุธา ตรัสสั่งพระอานนท์ให้บอกแก่นายจุนทะอย่าให้เดือดร้อนว่าพระองค์ฉันอาหารของเขาแล้วปรินิพพาน ให้ชี้แจงว่า บิณฑบาตที่ถวายก่อนตรัสรู้และก่อนปรินิพพานนั้น มีผลมาก มีอานิสงส์มาก.
                ครั้นแล้วเสด็จเลียบฝั่งนอกของแม่น้ำหิรัญญวดี สู่ป่าไม้สาละของมัลลกษัตริย์ ใกล้กรุงกุสินาราให้ตั้งเตียงผินพระเศียรไปทางทิศอุดรทรงบรรทมมีสติสัมปชัญญะตรัสปรารภการบูชาด้วยการประพฤติธรรมว่ายอดเยี่ยม.




สถานที่ควรสังเวช ๔ แห่ง

                ทรงแสดงสังเวชนียสถาน คือสถานที่ควรสังเวช ๔ คือทีทีพระตถาคตประสูติ, ตรัสรู้, แสดงธรรม-จักร และปรินิพพาน ว่าเมื่อภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาจาริกไป มีจิตเลื่อมใส และตายลง ก็จะเข้าสู่ สุคติโลกสวรรค์.



วิธีปฏิบัติในสตรีและพระพุทธสรีระ

                ทรงแสดงวิธีปฏิบัติในสตรี (มาตุคาม) ตามที่พระอานนท์กราบทูลถามว่า ไม่ควรมอง ถ้าจําเป็น จะมอง ก็ไม่ควรพูดด้วย ถ้าจําเป็นจะพูดด้วย ก็ให้ตั้งสติ แล้วทรงแสดงวิธีปฏิบัติต่อพระพุทธสรีระ เช่นเดียว กับสรีระของพระเจ้าจักรพรรดิ์ ในเมื่อพระอานนท์กราบทูลถาม โดยทรงแสดงว่า ให้ห่อด้วยผ้าใหม่ แล้วห่อ ด้วยสําลี แล้วห่อด้วยผ้าใหม่ แล้วห่อด้วยสําลี รวม ๕๐๐ ชั้น แล้วใส่ในรางเหล็กเต็มด้วยน้ํามัน ปิดด้วย รางเหล็ก ทําจิตกาธานด้วยของหอมแล้ว ทําการเผา สร้างสตูปไว้ในทางสี่แพร่ง.

ผู้ควรแก่สตูป

                ทรงแสดงถึงบุคคลผู้เป็นถูปารหะ (ผู้ควรแก่สตูป) ๔ คือ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า สาวกของพระพุทธเจ้าและพระเจ้าจักรพรรดิ.




ตรัสสรรเสริญพระอานนท์

                พระอานนท์เข้าไปสู่วิหารเหนี่ยวสลักเพชร (หัวลิ่มประตู ทํารูปเป็นศีรษะวานร) ยืนร้องไห้ ด้วย คิดว่าท่านยังเป็นเสขะ (ผู้ยังต้องศึกษา คือเป็นเพียงพระโสดาบัน ยังไม่บรรลุอรหัตตผล) แต่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงอนุเคราะห์ท่าน จักปรินิพพานเสียแล้ว.
                พระผู้มีพระภาคทรงทราบ ตรัสเรียกให้เข้าเฝ้า แล้วตรัสปลอบใจว่า เป็นธรรมดาที่จะต้องพลัดพราก จากของรักของชอบใจ จะปรารถนาให้สิ่งที่มีความทรุดโทรมเป็นธรรมดามิให้ทรุดโทรม ย่อมเป็นไปไม่ได้ แล้วตรัสสรรเสริญพระอานนท์ว่า ตั้งเมตตาทางกาย วาจา ใจ ในพระองค์มาตลอดกาลนาน ได้ชื่อว่า ทําบุญไว้แล้ว จงเริ่มตั้งความเพียรเถิด จะเป็นผู้สิ้นอาสวะโดยพลัน.
                ครั้นแล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมา ตรัสสรรเสริญพระอานนท์ว่า ภิกษุผู้อุปฐาก (รับใช้) พระพุทธเจ้าทั้งในอดีตและในอนาคต ก็อย่างยิงเพียงเท่าพระอานนท์, ทรงสรรเสริญว่า พระอานนท์เป็นบัณฑิต รู้กาลที่ควรจะจัดให้ใครเข้าเฝ้า และเป็นที่พอใจใคร่สดับธรรมของบริษัท ๔.

ตรัสเรื่องกรุงกุสินารา

                พระอานนท์กราบทูลว่า อย่าปรินิพพานในกรุงกุสินารานี้ ซึ่งเป็นเมืองเล็ก เมืองดอย เป็น กิ่งเมือง ขอให้เสด็จไปปรินิพพานในเมืองใหญ่ ๆ เช่น จัมปา ราชคฤห์ สาวัตถี โกสัมพี พาราณสี แต่ตรัสตอบว่า กรุงกุสินารา เคยเป็นราชธานีนามว่า กุสาวตี ซึ่งพระเจ้ามหาสุทัสสนะจักรพรรดิ์ทรงปกครอง เคยเจริญรุ่งเรืองยิ่งมาแล้ว ครั้นแล้วตรัสสั่งให้พระอานนท์ไปแจ้งข่าวที่จะปรินิพพานแก่มัลลกษัตริย์ซึ่งพากัน เศร้าโศก และมาเฝ้าในราตรีนั้น พระอานนท์ก็จัดให้เข้าถวายบังคมเป็นครอบครัวไป เสร็จสิ้นภายในยามแรกแห่งราตรี.




โปรดสุภัททปริพพาชก

                ครั้งนั้น ปริพพาชก (นักบวชนอกพระพุทธศาสนา) คนหนึง ซื่อสุภัททะ มาเฝ้า พระอานนท์จะ ไม่ให้เข้าเฝ้า แต่พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงอนุญาตให้เข้าเฝ้าได้ เมื่อกราบทูลถาม ทรงโต้ตอบ แสดงธรรมให้ฟัง ก็ขอบวชและเพียรพยายามจนได้บรรลุอรหัตตผลในไม่ช้า นับเป็นพระสาวกองค์สุดท้ายที่ทันเห็นพระพุทธเจ้า.

พระดํารัสตรัสสั่ง

                                         ครั้นแล้วตรัสสั่งความแก่พระอานนท์ ดังต่อไปนี้ :
                ๑. ธรรมและวินัยที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว จักเป็นพระศาสดาของท่านทังหลายเมื่อเราล่วงลับไป
                ๒. เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว ภิกษุทังหลายไม่พึงเรียกกันด้วยคําว่า อาวุโส เช่น ทีเรียกกันอยู่ในบัดนี พึงเรียกภิกษุอ่อนกว่า โดยชื่อ โดยโคตร หรือ ด้วยคําว่า อาวุโส (ผู้มีอายุ) พึงเรียกภิกษุผู้แก่กว่าว่า ภันเต (ท่านผู้เจริญ) หรือ อายัสมา (ท่านผู้มีอายุ).
                ๓. เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว เมือสงฆ์ปรารถนาก็จะถอนสิกขาบทเล็กน้อยเสียได้
                ๔. เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว สงฆ์พึงลงพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะ คือปล่อยให้ทําอะไรตามชอบใจ ไม่พึงว่ากล่าวตักเตือน.




ทรงเปิดโอกาสให้ซักถาม

                ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว ทรงเปิดโอกาสว่า ถ้าภิกษุแม้รูปหนึ่งมีความสงสัยเคลือบแคลงใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในมรรค หรือในข้อปฏิบัติ ก็ให้ถามได้ อย่าเดือดร้อนใจว่า ศาสดาอยู่ต่อหน้าแต่มิได้ถามในที่ต่อหน้า. แต่ก็ไม่มีผู้ใดถามพระอานนท์จึงกราบทูลแสดงความอัศจรรย์ ตรัสตอบว่าเพราะภิกษุที่ประชุมกันอยู่ถึง ๕๐๐ นี้ อย่างต่ำก็เป็นพระโสดาบัน.

ปัจฉิมโอวาท

                ครั้นแล้วตรัสว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! บัดนี้เราเตือนท่านสังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม (สมบูรณ์) เถิดนี้เป็นปัจฉิมวาจาของพระตถาคต.



ลีลาในการปรินิพพาน

                ครั้นแล้วทรงเข้าฌานที่ ๑ ออกจากฌานที่ ๑ เข้าสู่ฌานที่ ๒ เป็นลําดับไปจนครบรูปฌาน (ฌานมี รูปเป็นอารมณ์) ๔ อรูปฌาน (ฌานมีสิ่งมิใช่รูปเป็นอารมณ์) ๔ และสัญญาเวทยิตนิโรธ (สมาบัติที่ดับสัญญา ความกําหนดหมาย และเวทนา ความรู้สึกสุข ทุกข์ ไม่ทุกข์ไม่สุข) ต่อจากนั้นทรงออกจากสัญญาเวทยิต นิโรธ ย้อนกลับเข้าสู่อรูปฌานที่ ๔ (คล้ายกับออกจากตึกขั้นที่ ๙ ย้อนลงมาสู่ชั้นที่ ๘) โดยนัยนี้ ทรงย้อนกลับ ไปถึงฌานที่ ๑ ออกจากฌานที่ ๑ เข้าสู่ฌานที่ ๒ เรื่อยไปจนถึงฌานที่ ๔ เมื่อออกจากฌานที่ ๔ แล้วก็ปรินิพพาน (เป็นการไม่ติดในรูปฌานหรือในอรูปฌาน เพราะนิพพานในระหว่างแห่งรูปฌานและอรูปฌาน).
                เมื่อพระผู้มีพระภาคปรินิพพานแล้ว ก็เกิดแผ่นดินไหว และมีหลายท่านกล่าวภาษิตในทางธรรม เหตุการณ์นี้ยังความโศกสลดให้เกิดแก่ภิกษุผู้ยังไม่ปราศจากราคะ และยังธรรมสังเวชให้เกิดแก่ภิกษุผู้ปราศจาก ราคะแล้ว.





การถวายพระเพลิง

                มัลลกษัตริย์ก็จัดการถวายพระเพลิงพระศพพระผู้มีพระภาค ภายหลังที่ตั้งพระศพจัดเครื่องสักการะ บูชาครบ ๗ วัน และภายหสังที่พระมหากัสสปเถระ พร้อมด้วยภิกษุบริษัทมาถวายบังคมพระศพเสร็จแล้ว อนึ่ง ในบริษัทของพระมหากัสสปนั้น ขณะที่ภิกษุทั้งหลายกําลังร้องไห้คร่ำครวญในข่าวปรินิพพานของพระผู้มี พระภาค ก็มีภิกษุรูปหนึ่งผู้บวชเมื่อแก่ชื่อสุภัททะ กล่าวห้ามภิกษุเหล่านั้นมิให้เศร้าโศก ควรจะดีใจว่า ต่อไป จะไม่มีใครมาห้ามทําอย่างนั้นอย่างนี้ ปรารถนาจะทําอะไรก็ทําได้ตามพอใจ (ซึ่งพระมหากัสสปได้ปรารภเป็น เหตุเสนอให้สงฆ์ทําสังคายนา ดังปรากฏในวินัยปิฎกแล้ว หน้า ๒๘๒ หมายเลข ๗).
                เมื่อถวายพระเพลิงแล้ว ก็มีกษัตริย์และพราหมณ์จากแคว้นต่าง ๆ มาขอพระสารีริกธาตุ (พระอัฏฐิ) ครั้งแรกมัลลกษัตริย์จะไม่ให้ แต่โทณพราหมณ์พูดเกลี้ยกล่อมให้เห็นแก่ความสงบ จึงได้ตกลงแบ่งให้ไป ต่างก็นําไปทําสตูปบรรจุและทําการฉลองในนครของตน.





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น