Translate

วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2561

พระสุตตันตปิฎก-ปาสาทิกบุตร





       พระไตรปิฎก-พระสุตตันตปิฎก-ปาสาทิกบุตร
               ปาสาทิกบุตร อยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่11 ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เป็นพระสูตรขนาดยาว



๖.ปาสาทิกสูตร
สูตรว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่น่าเลื่อมใส


********************************************************************************************





            พระผู้มีพระภาคประทับในปราสาทในป่ามะม่วงของเจ้าศากยะผู้เชียวชาญในวิชาธนู (เวธญณาสกุยา). ครั้งนั้นนิครนถนาฏบุตร (เจ้าลัทธิคนหนึ่งของศาสนานิครนถ์ หรือศาสนาเชน) ถึงแก่กรรมที่กรุงปาวา พวกนิครนถึงเกิดแตกกันเป็นสองฝ่าย ทะเลาะวิวาทกันอย่างรุนแรง. พระจุนทะ (น้องชายพระสาริบุตร)จําพรรษาใกล้กรุงปาวาจนตลอดพรรษาแล้ว ก็ไปหาพระอานนท์ ณ สามคาม ไหว้พระอานนท์แล้วเล่าความให้ฟังพระอานนท์จึงชวนพระจุนทะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคกราบทูลให้ทรงทราบ.

ศาสดา, หลักธรรม, สาวก

                      พระผู้มีพระภาคจงตรัสถึงศาสดา, หลักธรรมคําสอนและสาวก แบ่งออกเป็นประเภทดังนี้:
                ๑. ศาสดาไม่ดี, หลักธรรมไม่ดี, สาวกไม่ดี ก็เป็นที่ติเตียนทั้งสามฝ่ายใครปฏิบัติตามก็ประสบสิ่งมิใ ช่บุญเป็นอันมาก.
                ๒. ศาสดาไม่ดี, หลักธรรมไม่ดี แม้สาวกจะดี คือปฏิบัติตาม ก็เป็นที่ติเตียนทั้งสามฝ่าย ใครทํา. ความเพียรตาม ก็ประสบสิ่งมิใช่บุ ญเป็นอันมาก.
                ๓. ศาสดาดี, หลักธรรมดี, สาวกไม่ดี ศาสดาและหลักธรรมย่อมได้รับสรรเสริญ แต่สาวกถูกติเตียน. ใครปฏิบัติตาม ก็ได้ประสบบุญเป็นอันมาก.
                ๔. ศาสดาดี, หลักธรรมดี, สาวกดี ย่อมได้รับสรรเสริญทั้งสามฝ่าย ใครทําความเพียรตาม ก็ได้ ประสบบุญเป็นอันมาก.
                ๕. ศาสดาดี, หลักธรรมดี, สาวกไม่เข้าใจเนื้อความ (แห่งธรรม) แจ่มแจ้ง เมื่อศาสดาตายแล้ว สาวกก็เดือดร้อนภายหลัง.
                ๖. ศาสดาดี, หลักธรรมดี, สาวกเข้าใจเนื้อความ (แห่งธรรม) แจ่มแจ้ง. เมื่อศาสดาตายแล้ว สาวกก็ไม่เดือดร้อนภายหลัง.

พรหมจรรย์บริบูรณ์หรือไม่

                      ตรัสต่อไปอีกว่าพรหมจรรย์ที่ประกอบด้วยองค์เหล่านี้แล้ว
                ๑. แต่ถ้าศาสดามิใช่เป็นเถระผู้รู้เห็นเหตุการณ์มานานบวชนานก็ยังชื่อว่าบกพร่องในข้อนี้ ถ้าศาสดาเป็นเถระเป็นต้นจึงชื่อว่าบริบูรณ์ในข้อนี้
                ๒. ถ้าศาสดาเป็นเถระ เป็นต้น แต่ภิกษุผู้เป็นสาวกชั้นเถระไม่ฉลาดอาจหาญ ไม่บรรลุธรรมอัน เกษม ไม่สามารถจะบอกเล่าว่า สัทธรรมย่ำยีปรัปวาท (ข้อกล่าวหาของผู้อื่น) ก็ยังชื่อว่าบกพร่องในข้อนี้ ถ้าสาวกชั้นเถระเป็นผู้ฉลาดอาจหาญ เป็นต้น จึงชื่อว่าบริบูรณ์ในข้อนี้
                ๓. ถ้าศาสดาและสาวกชั้นเถระเข้าลักษณะที่ดี แต่ภิกษุผู้เป็นสาวกชั้นกลางยังไม่ดี (เหมือนชั้นเถระ) ก็ยังชื่อว่าบกพร่องในข้อนี้ โดยนัยนี้ กินความถึงภิกษุผู้เป็นสาวกที่บวชใหม่ ; นางภิกษุณีผู้เป็นสาวิกาชั้นเถระ ; ชั้นนกลาง, ผู้บวชใหม่ . อุบาสกผู้ประพฤติพรหมจรรย์, ผู้บริโภคกาม ; อุบาสิกาผู้ประพฤติพรหมจรรย์, ผู้บริโภคกามถ้ายังไม่ดีสมบูรณ์ พรหมจรรย์ก็ยังไม่สมบูรณ์, ต่อเมื่อดีสมบูรณ์ พรหมจรรย์จึงชื่อว่าสมบูรณ์.
  ๔ครั้นแล้วตรัสถึงพระองค์ พระธรรมคําสั่งสอน และพระสาวก ทั้งบรรพชิต และคฤหัสถ์ ว่ามีคุณลักษณะสมบูรณ์ พรหมจรรย์จึงชื่อว่าสมบูรณ์,
                ๕ตรัสถึงพระองค์และพระสงฆ์ ว่าถึงความเป็นผู้เลิศด้วยลาภ ยศ แล้วตรัสถึงคําของอุททกดาบส รามบุตร ที่ ว่าเห็นอยู่ แต่ไม่เห็น ซึ่งไขความว่า เห็นใบมีดโกนที่ลับดีแล้ว แต่ไม่เห็นคมมีดโกนดังนี้ ว่าเป็นภาษิตไร้ประโยชน์ ที่ถูกควรจะ หมายถึงไม่เห็นพรหมจรรย์ ที่สมบูรณ์บริบูรณ์และประกาศดีแล้ว จึงจะชื่อว่ากล่าวชอบ.

ตรัสแนะให้จัดระเบียบหรือสังคายนาพระธรรม

                ตรัสแนะพระจุนทะให้เทียบเคียงธรรมที่ทรงแสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง พึงสังคายนา พึงวิจารอรรถะกับอรรถะ พยัญชนะกับพยัญชนะ เพื่อให้พรหมจรรย์ตั้งอยู่ยังยืน เป็นไปเพื่อประโยชน์ และความสุขแก่ชนเป็นอันมากเพื่ออนุเคราะห์ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เทวาและมนุษย์. แล้วทรงชี้แจงว่า ธรรมที่ทรงแสดงด้วยปัญญาอันยิ่ง มีสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น มีมรรคมีองค์ ๘ เป็นที่สุด (ที่เรียกว่าโพธิปักขิยธรรม คือธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งปัญญาตรัสรู้รวม ๓๗ ประการ).

ตรัสแนะลักษณะสอบสวนพระธรรม

                ตรัสแนะให้ศึกษาพระธรรม (ทั้งสามสิบเจ็ดประการเหล่านั้นโดยพร้อมเพรียง ไม่วิวาทกันแล้วตรัสแนะวิธีสอบสวนพระธรรมเมื่อพระสงฆ์พรหมจารีกล่าวธรรม.
                ๑ถ้ารู้สึกว่า ถือเอา อรรถะผิด ยกพยัญชนะผิด ก็ไม่พึงเห็นด้วย (อภินันท์หรือคัดค้าน พึงกล่าวกะเธอว่าพยัญชนะนี้ กับพยัญชนะอีกอันหนึ่งของอรรถะนี้ และอรรถะนี้ กับอรรถะอีกอันหนึ่งของพยัญชนะนี้อย่างไหนจะชอบด้วยอุบายกว่ากัน.ถ้าผู้กล่าวธรรมกล่าวว่า พยัญชนะนี้ อรรถะนี้ ชอบด้วยอุบายกว่าก็ไม่พึงยกย่องหรือคัดค้าน พึงกําหนดหมายให้ดี เพื่อพิจารณาอรรถะและพยัญชะนั้น ๆ. (คําว่า พยัญชนะ หมายถึงตัวอักษรหรือถ้อยคํา อรรถะ หมายถึงความหมายของตัวอักษรหรือถ้อยคํา).
                ๒ถ้ารู้สึกว่า ถือเอาอรรถะผิด ยกพยัญชนะถูก ก็พึงสอบถาม อรรถะของพยัญชนะสองฝ่าย ว่าอันไหนจะชอบด้วยอุบายกว่ากัน แล้วพิจารณา (เหมือนข้อ ๑).
                ๓ถ้ารู้สึกว่า ถือเอาอรรถะถูก ยกพยัญชนะผิด ก็พึงสอบถาม พยัญชนะสองฝ่ายของอรรถะนี้ ว่าอันไหนจะชอบด้วยอุบายกว่ากัน แล้วพิจารณา (เหมือนข้อ ๑).
                ๔ถ้ารู้สึกว่า ถือเอาอรรถะถูก ยกพยัญชนะถูก ก็พึงอนุโมทนา.

อาสวะปัจจุบันกับอนาคต

                แล้วตรัสว่า มิได้ทรงแสดงธรรมเพื่อให้สํารวมอาสวะ (กิเลสที่ดองสันดานที่เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อ ให้ทําลายอาสวะที่เป็นอนาคตอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น แต่เพื่อทั้งสองอย่าง.
                แล้วทรงแสดงการที่อนุญาตปัจจัย ๔ ว่า เพื่อบําบัดร้อนหนาวและเพื่อพอยังชีวิตให้เป็นไป เป็นต้น.

ตรัสแนะข้อโต้ตอบกับเจ้าลัทธิอื่น

                ๑ถ้านักบวชลัทธิอื่นกล่าวหาว่า สมณะศากยบุตรประกอบตนให้ชุ่มด้วยความสุข พึงถามว่า ประกอบแบบไหน เพราะมีอยู่มากด้วยกัน คือบางคนฆ่าสัตว์ลักทรัพย์พูดปดบําเรอ (ตนด้วยกามคุณอย่างนี่ชื่อว่าประกอบตนให้ชุ่มด้วยความสุขแบบชาวบ้านซึ่งไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน.
                ๒ถ้านักบวชลัทธิอื่นกล่าวหาว่า สมณะศากยบุตรประกอบตนให้ชุ่มด้วยความสุข ๔ อย่าง (ดังกล่าว ในข้อ ๑ก็พึงปฏิเสธว่า ไม่เป็นจริง แล้วทรงแสดงการประกอบตนให้ชุ่มด้วยความสุข ที่เป็นไปเพื่อนิพพานว่า ได้แก่ความสุขในฌาน ๔ถ้านักบวชลัทธิอื่นกล่าวว่า สมณะศากยบุตรประกอบตนให้ชุ่มด้วยความสุข ๔ อย่างนี้ ก็พึงรับรองว่ากล่าวถูกต้อง
                ๓ถ้านักบวชลัทธิอื่นถามถึงผลและอานิสงส์ (ผลดีที่ผู้ประกอบตนให้ชุ่มด้วยความสุข (ในฌาน ๔จะพึงหวังได้ ก็พึงตอบว่า มี ๔ อย่าง คือ ๑ เป็นพระโสดาบัน จะได้ตรัสรู้ต่อไป เพราะสิ้นสัญโญชน์ ๓ เป็นพระสกทาคามีผู้จะกลับมาเกิดเพียงครั้งเดียว เพราะสิ้นสัญโญชน์ ๓ และทําราคะ โทสะ โมหะ ให้น้อยลง ๓เป็นพระอนาคามีผู้ไม่กลับมาเกิด เพราะสิ้นสัญโญชน์เบื้องต่ำทั้งห้า ๔ทําให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอันไม่มีอาสวะ เพราะสิ้นอาสวะอยู่ในปัจจุบัน (เป็นพระอรหันต์).
                ๔นักบวชลัทธิอื่นกล่าวหาว่า สมณศากยบุตรมีธรรมอันไม่ตั้งมั่น พึงชี้แจงว่า ธรรมะที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแก่สาวก มิให้ก้าวล่วงจนตลอดชีวิต มีอยู่ คือภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์ สิ้นอาสวะแล้ว ย่อมไม่ควรกัาวล่วงฐานะ ๙ อย่างจนตลอดชีวิต คือ ๑ไม่ฆ่าสัตว์โดยจงใจ ๒ไม่ลักทรัพย์ ๓ไม่เสพ เมถุน ๔ไม่พูดปดทั้งที่รู้ ๕ ไม่สะสมอาหารบริโภคเหมือนคนที่เคยเป็นเจ้าหน้าที่เรือนคลัง ๖ไม่ลําเอียง เพราะชอบ ๗ไม่ลําเอียงเพราะชัง ๘ไม่ลําเอียงเพราะหลง ๙ไม่ลําเอียงเพราะกลัว.
            ๕นักบวชลัทธิอื่นอาจกล่าวหาว่า พระสมณโคดมบัญญัติญาณทัสสนะ (ความเห็นด้วยญาณอันไม่มีขอบเขตปรารภระยะกาลนานไกลอันเป็นอดีต ไม่ปรารภระยะกาลนานไกลอันเป็นอนาคต เพราะเป็น ผู้เขลาญาณหยั่งรู้ความเป็นไปในชาติก่อน ปรารภอดีตกาลนานไกลของพระตถาคต มีอยู่ ปรารถนาจะระลึก เท่าใด ก็ระลึกได้เท่านั้น ส่วนญาณที่เกิดจากปัญญาตรัสรู้ ที่ปรารภอนาคตกาลนานไกล ย่อมเกิดขึ้นแก่พระ ตถาคตว่า ซาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ไม่มีการเกิดอีก.
                กอดีตอนาคตปัจจุบัน ที่ไม่จริง ไม่แท้ ไม่มีประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์
                ขอดีตอนาคตปัจจุบัน ทีจริง แท้ แต่ไม่มีประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์
                ค.อดีตอนาคตปัจจุบัน ที่จริงแท้ มีประโยชน์ ตถาคตย่อมรู้กาลที่จะตอบปัญหานั้นในเรื่องนั้น.
                ฆตถาคตเป็นผู้กล่าวให้เหมาะแก่กาลกล่าวความจริงกล่าวสิ่งที่เป็นจริงกล่าวสิ่งมีประโยชน์กล่าวเป็นธรรมกล่าวเป็นวินัย ในธรรมที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฉะนั้น จึงเรียกว่าตถาคต.
                งตถาคตตรัสรู้โดยชอบสิ่งซึ่งโลก พร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม สมณพราหมณ์ ได้รู้แจ้งด้วย อายตนะ ได้บรรลุ ได้แสวงหาได้ตรองถึงแล้ว ฉะนั้น จึงเรียกว่าตถาคต
                จตถาคตตรัสแสดงถึงสิ่งใดในระหว่างที่ตรัสรู้ จนถึงปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ สิ่งนั้น ย่อมเป็นอย่างนั้นทั้งหมด ไม่เป็นอย่างอื่น ฉะนั้น จึงเรียกว่าตถาคต
                ฉ ตถาคตพูดได้อย่างใด ทําได้อย่างนั้น ทําได้อย่างใด พูดได้อย่างนั้นฉะนั้น จึงเรียกว่าตถาคต
                ชตถาคตเป็นใหญ่ ไม่มีใครครอบงําได้ รู้เห็นตามเป็นจริงเป็นผู้มีอํานาจ (โดยคุณธรรมฉะนั้น จึงเรียกว่าตถาคต.
                ๖ถ้านักบวชลัทธิอื่นถามว่า สัตว์ตายแล้วเกิด หรือไม่เกิด หรือว่าทั้งเกิดทั้งไม่เกิด หรือว่าเกิด ก็ไม่ใช่ ไม่เกิดก็ไม่ใช่ พึงตอบว่า ข้อนั้นพระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์
                ๗ถ้านักบวชลัทธิอื่นถามว่า เหตุไฉนพระผู้มีพระภาคจึงไม่ทรงพยากรณ์ข้อนั้น (ที่กล่าวในข้อ ๖พึงตอบว่า เพราะไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ประกอบด้วยธรรม ไม่เป็นไปเพื่อนิพพานถ้าถามว่า อะไรเล่าที่ทรงพยากรณ์ พึงตอบว่า ทุกข์ เหตุให้ทุกข์เกิดความดับทุกข์ และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ (อริยสัจจ์ ๔ถ้าถามว่า เหตุไฉนพระผู้มีพระภาคจึงทรงพยากรณ์เรื่อง (อริยสัจจ์ ๔นั้น พึงตอบว่า เพราะ ประกอบด้วยประโยชน์ ประกอบด้วยธรรม เป็นไปเพื่อนิพพาน.

ไม่ทรงอนุมัติทิฏฐิต่าง ๆ เพราะเหตุไร

                ทรงแสดงว่าเรื่องที่ควรพยากรณ์ ก็ทรงพยากรณ์ ไม่ควรพยากรณ์ จะทรงพยากรณ์ทําไม ทรง แสดงทั้งทิฏฐิที่ปรารภที่สุดเบื้องต้น ทั้งทิฏฐิที่ปรารภที่สุดเบื้องปลายแล้วตรัสว่า ไม่ทรงอนุมัติตามคํากล่าวของสมณพราหมณ์เหล่านั้น เพราะที่ยืนยันลงไปอย่างนั้น ยังมีสัตว์ประเภทอื่นอีก ที่เป็นอย่างอื่น แล้วทรงแสดงสติปัฏฐาน ๔ อย่างว่า เพื่อละ เพื่อก้าวล่วงทิฏฐิทั้งสองประเภทนั้น.

                พระอุปทานะยืนถวายอยู่งานพัด ณ เบื้องพระปฤษฎางค์พระพุทธเจ้า กราบทูลสรรเสริญพระธรรมเทศนาว่า น่าอัศจรรย์ น่าเลื่อมใส (ปาสาทิกะพระผู้มีพระภาคจึงตรัสให้เรียกชื่อธรรมปริยายนี้ว่า ปาสาทิกะ








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น