Translate

วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2561

พระสุตตันตปิฎก-เกวัฏฏสูตร



พระไตรปิฎก - พระสุตตันตปิฎก-เกวัฏฏสูตร

เกวัฏฏสูตร อยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ ทีฆนิกาย สีลขันธวัคค์ เป็นสุตตันตปิฎก


๑๑. เกวัฏฏสูตร
สูตรว่าด้วยการแสดงธรรมแก่บุตรคฤหบดีชื่อเกวัฏฏะ

*************************************************************************************



พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ป่ามะม่วงของปาวาริกะ ใกล้เมืองนาพันทา. ณ ที่นั้น บุตรคฤหบดีชื่อเกวัฏฏะเข้าไปเฝ้าขอให้ทรงชวนภิกษุผู้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ได้ให้แสดงก็จะมีคนเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคยิ่งขึ้นพระผู้มีพระภาคตรัสว่าพระองค์มิได้แสดงธรรมว่าภิกษุทั้งหลายท่านจงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์

แก่คฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาว.
แม้ครั้งที่ ๒ ครั้งที่ ๓ บุตรคฤหบดีชื่อเกวัฏฏะก็ยังยืนยันจะให้ทรงชวนภิกษุผู้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ได้ให้แสดงก็จะมีคนเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคยิ่งขึ้น.
พระผู้มีพระภาคจึงทรงชื้แจงว่า ปาฏิหาริย์ที่ทรงทําให้แจ้งด้วยความรู้ยิงด้วยพระองค์เองและประกาศ
แล้ว มีอยู่ ๓ อย่าง คือ :
. อิทธิปาฏิหาริย์ แสดงฤทธิได้เป็นอัศจรรย์,
. อาเทสนาปาฏิหาริย์ ดักใจทายใจได้เป็นอัศจรรย์.
. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ สั่งสอน (มีเหตุผลดี) เป็นอัศจรรย์,
แล้วทรงอธิบายวิธีแสดงฤทธิ์ได้เป็นอัศจรรย์ และสรูปในทีสุดว่า คนทีไม่มีความเชื่อความเลื่อมใส ก็อาจกล่าวได้ว่า ภิกษุที่แสดงฤทธิ์ได้นั้น เพราะมีคันธารวิชา (วิชาของชาวคันธาระ)
อาเทสนาปาฏิหาริย์ ดักใจทายใจของคนได้ คนที่ไม่มีความเชื่อ ความเลื่อมใส ก็อาจกล่าวได้ว่า ภิกษุที่ดักใจทายใจได้นั้น ก็เพราะมีมณิกาวิชา,
ครั้นแล้วทรงแสดงถึงอนุสาสนีปาฏิหาริย์ คือการสั่งสอนเป็นอัศจรรย์ ว่าควรประพฤติปฏิบัติอย่างไร ตลอดจนการปฏิบัติได้ผลในศีล ๓ ประเภท ในฌาน ๔ ในวิชชา ๘ (ดังกล่าวไว้แล้วในสามัญญผลสูตร).
แล้วทรงเล่าถึงภิกษุรูปหนึ่งข้องใจในปัญหาที่ว่า ธาตุ ๔ เป็นต้น จะดับโดยไม่เหลือในที่ไหน ภิกษุ รูปนั้นเทียวตระเวนถามเทวดาต่าง ๆ จนกระทั่งถึงท้าวมหาพรหมก็ตอบไม่ได้ ในที่สุดท้าวมหาพรหมขอให้ มาถามพระพุทธเจ้า ซึ่งตรัสสอนเป็นใจความรวบยอดว่า ดับวิญญาณเสียได้ ธาตุ ๔ เป็นต้น ก็ดับไม่เหลือ ในทีนั้น. (เป็นการแสดงว่าฤทธิ์ช่วยแก้ปัญหาไม่ได้ แต่คําสังสอนสําคัญกว่า) .



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น