Translate

วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2561

พระสุตตันตปิฎก-อุทุมพริกสูตร




      
      พระไตรปิฎก-พระสุตตันตปิฎก-อุทุมพริกสูตร
             อุทุมพริกสูตร อยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่11 ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เป็นพระสูตรขนาดยาว


. อุทุมพริกสูตร
สูตรว่าด้วยเหตุการณ์ในปริพพาชการาม ซึ่งนางอุทุมพริกาสร้างถวาย


********************************************************************************************






พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์ สันธานคฤหบดีออกจากกรุงราชคฤห์จะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคในเวลากลางวัน และแวะเข้าไปหานิโครธปริพพาชก ซึ่งกําลังอยู่กับบริษัทใหญ่ประมาณ ๓ พันคนกําลังกล่าวถ้อยคํา ที่เป็นเรื่องภายนอกของสมณะ (ติรัจฉานกถาด้วยเสียงอันดังเมื่อเห็นสันธานคฤหบดีเข้ามาก็สั่งกันและกันให้สงบเสียงเพราะคฤหบดีผู้นี้เป็นสาวกฝ่ายคฤหัสถ์ที่อยู่ในกรุงราชคฤห์คนหนึ่งของพระสมณโคดมและเป็นพวกที่ไม่ชอบเสียงดังพรรณนาคุณของความเป็นผู้มีเสียงน้อยเมื่อรู้ว่าบริษัทมีเสียงน้อยก็จะพึงเข้ามาหา.

                เมื่อสันธานคฤหบดีเข้าไปหานิโครธปริพพาชกกล่าวสัมโมทนียกถาปราศรัยกันเสร็จแล้วก็กล่าวว่านักบวชลัทธิอื่น (อัญญเดียรถีย์ปริพพาชกที่ประชุมกันส่งเสียงอื้ออึงเป็นคนละอย่างกับพระผู้มีพระภาคผู้เสพเสนาสนะอันสงัด.

                นิโครธปริพพาชกจึงตอบว่า พระสมณโคดมจะสนทนาโต้ตอบ แสดงความสามารถทางปัญญากับ ใครได้ ปัญญาของพระสมณโคดมถูกกําจัดเสียแล้วในเรือนว่าง จึงไม่กล้ากัาวลงสู่บริษัท ไม่ควรที่จะโต้ตอบ ได้แต่เสพเสนาสนะอันสงัด เหมือนโคตาบอดที่หนีไปอยู่ป่าลึก เสพเสนาสนะอันสงัด (โดยใจความว่า การทีเสพเสนาสนะอันสงัดก็เพราะไม่มีปัญญาจะโต้ตอบกับใครจึงต้องเลี่ยงหนีประชุมชนเหมือนโคตาบอดที่กลัวถูกทําร้ายต้องหลบซ่อนตัวอยู่ในที่เปลี่ยวขอให้พระสมณโคดมมาสู่บริษัทนี้เถิดเราจะสนทนาด้วยสักปัญหาหนึ่งจะหมุนเสียให้เหมือนหม้อเปล่าทีเดียว.

                พระผู้มีพระภาคได้ทรงสดับถ้อยคําสนทนาของทั้งสองฝ่ายด้วยพระโสตธาตุอันเป็นทิพย์ จึงเสด็จ ลงจากเขาคิชฌกูฏ เสด็จจงกรมในที่แจ้งริมฝั่งน้ำสุมาคธา นิโครธปริพพาชกเห็นเช่นนั้นก็เตือนบริษัทให้สงบ เสียงแล้วกล่าวว่า ถ้าพระสมณโคดมเสด็จมา ตนจะถามปัญหาเรื่องธรรมะที่ทรงแสดงแก่สาวกให้มีความ ปลอดโปร่งใจในการประพฤติพรหมจรรย์เบื้องต้น

                ๑พระผู้มีพระภาคเสด็จมาหานิโครธปริพพาชกได้รับการตัอนรับปราศรัยเป็นอันดี ได้รับนิมนต์ให้ นั่งบนอาสนะส่วนนิโครธปริพพาชกนั่งบนอาสนะที่ต่ำกว่า. เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไต่ถามว่าสนทนาอะไรค้างอยู่ ปริพพาชกจึงกราบทูลว่าพูดกันว่าถ้าพระองค์เสด็จมาจะถามเรืองธรรมที่แสดงแก่สาวกให้มีความปลอดโปร่งไจในการประพฤติพรหมจรรย์เบื้องต้นตรัสตอบว่าเป็นการยากทีท่านผู้มีความเห็นอย่างอันมีความพอใจอย่างอื่นมีความประพฤติอย่างอื่นมีอาจารย์อย่างอื่นจะเข้าใจได้ท่านจงถามปัญหาในลัทธิอาจารย์ของท่านเองอันเกี่ยวด้วยการเกลียดชังความชั่วโดยการบําเพ็ญตบะดีกว่าพวกปริพพาชกก็อื้ออึงขึ้นกล่าวกันว่าน่าอัศจรรย์ทีพระสมณโคดมเป็นผู้มีฤทธิ์มากมีอานุภาพมากไม่ตอบปัญหาในลัทธิของตนแต่กลับปวารณา (ขอให้ถามในลัทธิของผู้อื่น.

                ๒นิโครธปริพพาชกสั่งให้ปริพพาชกเหล่านั้นสงบเสียงแล้วถามว่า พวกข้าพเจ้ามีวาทะเกลียดชัง ความชั่วโดยการบําเพ็ญตบะ (ตโปชิคุจฉวาทะยึดความเกลียดชังความชั่วโดยใช้ตบะหรือความเพียรอยู่ ประพฤติ อย่างไรจึงจะสมบูรณ์อย่างไรจึงไม่สมบูรณ์ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสตอบตามลัทธิของเขา เช่น เปลือยกาย ยืนถ่ายอุจจาระปัสสาวะ และกินอาหารเลียมือทีเลอะอาหารแทนการล้าง เป็นต้น แล้วตรัสถามว่า ประพฤติอย่างนี้ ชื่อว่าบริบูรณ์หรือยังปริพพาชกกราบทูลว่าบริบูรณ์แล้วแต่กลับตรัสว่าจะทรงชี้ข้อเศร้าหมองในการปฏิบัติอย่างนี้ที่(ถือกันว่า)บริบูรณ์แล้วให้ฟัง

               ๓ปริพพาชกถามว่า จะทรงชี้ข้อเศร้าหมองในการปฏิบัตินี้อย่างไร ตรัสตอบว่า 

       ๑การที่บําเพ็ญ ตบะแล้วอิ่มเอิบใจ เต็มความปรารถนาด้วยตบะนั้น        ๒ยกตน ข่มผู้อื่น เพราะตบะนั้น        ๓มัวเมา เพราะ ตบะนั้น     ๔. ทําลาภสักการะและชื่อเสียงให้เกิด เพราะตบะนั้น แล้วอิ่มเอิบใจ เต็มความปรารถนาด้วยลาภ สักการะและชื่อเสียงนั้น       ๕. ยกตน ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและชื่อเสียงนั้น       ๖. มัวเมาเพราะลาภ สักการะและชื่อเสียงนั้น      ๗แบ่งแยกในเรื่องอาหารว่า นี้ชอบใจ นี้ไม่ชอบใจ อันไหนไม่ชอบใจก็เพ่งเล็งละทิ้ง อันไหนชอบก็ติดใจ ไม่เห็นโทษ     ๘บําเพ็ญตบะเพราะใคร่จะได้ลาภชื่อเสียง เพื่อให้พระราชามหาอํามาตย์กษัตริย์พราหมณ์คฤหบดีเดียรถีย์สักการะตน       ๙. รุกรานสมณพราหมณ์บางพวกด้วยเรื่องการบริโภคพืช ผลไม้     ๑๐. ริษยาและตระหนี่ในสกุลเมื่อเห็นสมณพราหมณ์บางพวกมีผู้สักการะเคารพนับถือ     ๑๑. นั่งแสดงตน ในทาง (ที่คนผ่านไปมา    ๑๒พูดไม่ตรงความจริง ชอบว่าไม่ชอบ ไม่ชอบว่าชอบ     ๑๓เมื่อตถาคตหรือสาวก ของตถาคตแสดงธรรม ไม่ยอมรับปริยายที่ควรยอมรับ     ๑๔เป็นคนมักโกรธ และผูกโกรธ     ๑๕เป็นคนมัก ลบหลู่บุญคุณท่านและตีเสมอ     ๑๖เป็นคนมักริษยาและตระหนี่     ๑๗เป็นคนโอ้อวดและมีมายา     ๑๘.  เป็นคน กระด้างและดูหมิ่นท่าน     ๑๙.  มีความปรารถนาลามก ตกอยู่ใต้อํานาจของความปรารถนาลามก     ๒๐. มีความ เห็นผิด ประกอบด้วยความเห็นยึดส่วนสุด     ๒๑ยึดแต่ความเห็นของตน ถือมั่น สลัดยาก แต่ละอย่างนี้เป็นความเศร้าหมองของผู้บําเพ็ญตบะ.

                ครั้นแล้วตรัสถามว่าการเกลียดชังความชั่วโดยบําเพ็ญตบะดังกล่าวมานี้ จะนับว่าเศร้าหมองหรือไม่นิโครธปริพพาชกยอมรับว่าเป็นความเศร้าหมองมีฐานะที่ผู้บําเพ็ญตบะบางคนอาจประกอบด้วยความเศร้าหมองครบทุกข้อจึงไม่ต้องกล่าวถึงเพียงข้อใดข้อหนึ่ง (ว่าจะมีใครไม่มีความเศร้าหมองนี้บ้างเลย).

                ๔ต่อจากนั้นทรงแสดงการบําเพ็ญตบะที่บริสุทธิ์ คือที่ตรงกันข้ามกับ ๒๑ ข้อข้างต้นนิโครธปริพพาชกยอมรับว่าเป็นการเกลียดชังความชั่วโดยบําเพ็ญตบะที่บริสุทธิ์ ถึงความเป็นยอดและเป็นสาระแต่พระผู้มีพระภาคก็ตรัสว่ายังไม่ใช่ถึงความเป็นยอดหรือสาระแต่ถึงความเป็นสะเก็ดเท่านั้น.

                ๕นิโครธปริพพาชกขอให้พระผู้มีพระภาคทรงแสดงวิธีบําเพ็ญตบะ ที่ถึงความเป็นยอดหรือเป็นแก่นจึงทรงแสดงความสังวร ๔ ประการ คือ 
ไม่ฆ่าสัตว์ไม่ใช้ให้ฆ่าไม่ยินดีต่อผู้ฆ่า 
ไม่ลักทรัพย์ไม่ใช้ให้ลักไม่ยินดีต่อผู้ลัก 
ไม่พูดปดไม่ใช้ให้พูดปดไม่ยินดีต่อผู้พูดปด 
ไม่เสพกามคุณไม่ใช้ให้ผู้อื่นเสพไม่ยินดีต่อผู้เสพ 
และทรงแสดงการเสพเสนาสนะ (ที่นอนทีนั่งหรือที่อยู่อาศัยอันสงัด นั่งทําสติกําจัดนิวรณ์ ๕ คือ 
อภิชฌา (ความอยากได้
พยาบาท (ความปองร้าย
ถีนมิทธะ (ความหดหูง่วงงุน
อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งสร้านรําคาญใจ
วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย
เมื่อละนีวรณ์ ๕ ได้เมื่อความเศร้าหมองแห่งจิตลดน้อยลงเพราะปัญญาแล้ว ก็เจริญพรหมวิหาร ๔ แผ่ไปทัวทุกทิศ สู่โลก ทั้งสิ้น.การบําเพ็ญตบะจะชื่อว่าบริสุทธิ์หรือไม่กราบทูลว่าบริสุทธิ์ถึงความเป็นยอดเป็นสาระ แต่ตรัสตอบว่า ยังไม่ถึงความเป็นยอดเป็นสาระ ถึงเพียงแค่เปลือกเท่านั้น.

  ๖นิโครธปริพพาชกขอให้พระผู้มีพระภาคทรงแสดงวิธีบําเพ็ญตบะที่ถึงความเป็นยอดหรือเป็นแก่นจึงตรัสแสดงข้อปฏิบัติต่อไป โดยเท้าความการปฏิบัติข้างต้น แล้วแสดงการได้ผล คือการระลึกชาติได้ ตั้งแต่ ๑ ชาติถึงแสนชาติและหลายกัปป์ แล้วตรัสว่า เป็นเพียงกะพี้

                ๗เมื่อทราบถูกขอร้องให้แสดงต่อไปอีก จึงตรัสถึงการได้ผล คือทิพยจักษุ แล้วทรงสรูปว่า การบําเพ็ญตบะอย่างนี้ ถึงความเป็นยอดเป็นแก่นแล้วทรงสรูปต่อไปว่า เป็นอันตอบปัญหาครั้งแรกที่ นิโครธปริพพาชกทูลถามที่ว่า ทรงแนะนําสาวกด้วยธรรมอะไร ให้มีความปลอดโปร่งใจในการปฏิบัติ พรหมจรรย์เบื้องต้น คือทรงแนะนําถึงฐานะอันยิ่งกว่า ประณีตกว่าที่แสดงไว้นี้อีก

                ปริพพาชกทั้งหลายก็แสดงความประหลาดใจที่ตนไม่เห็นไม่รู้ฐานะที่ยิ่งขึ้นไปกว่านี้ (ยิ่งกว่าการได้ ทิพยจักษุที่ว่าเป็นยอดแล้วยังมีอะไรยอดขึ้นไปอีก)

                สันธานคฤหบดีจึงกราบทูลทบทวนถึงข้อที่นิโครธปริพพาชกกล่าวกระทบกระทั่งพระผู้มีพระภาค ในตอนแรก ซึ่งทําให้นิโครธปริพพาชกนั่งนิ่งเก้อเขิน พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า กล่าวไว้อย่างนั้นจริงหรือไม่ นิโครธปริพพาชกรับว่าจริง และกราบทูลขออภัยจึงตรัสถามให้ตอบด้วยความจริงใจ ถึงถ้อยคําของพวก ปริพพาชกเก่า ๆ ว่า เขากล่าวถึงพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในอดีตว่าชอบส่งเสียงดัง พูดเรื่องไร้สาระ หรือว่าชอบสงบอยู่เสนาสนะอันสงัดนิโครธปริพพาชกก็ยอมรับว่าเคยได้ยินได้ฟังมาว่า พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในอดีต ทรงปฏิบัติเหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคในปัจจุบันนี้

                จึงตรัสสรูปว่าวิญญูชนผู้สูงอายุนั้น (หมายถึงปริพพาชกโบราณมิได้คิดว่าพระผู้มีพระภาค ทรงตรัสรู้แล้ว ทรงแสดงธรรมเพื่อความตรัสรู้ ทรงฝึกพระองค์แล้ว ทรงแสดงธรรมเพื่อการฝึก (ให้ผู้อื่น ฝึกตนเอง), ทรงสงบระงับแล้ว ทรงแสดงธรรมเพื่อความสงบระงับ ทรงข้ามพ้นแล้ว ทรงแสดงธรรมเพื่อการ ข้ามพ้น ทรงดับเย็นแล้ว ทรงแสดงธรรมเพื่อความดับเย็น

                นิโครธปริพพาชกจึงกราบทูลขออภัยซ้ำอีก พระผู้มีพระภาคตรัสประทานอภัยแล้ว จึงทรงแสดง การปฏิบัติอย่างได้ผลในพระธรรมวินัยนี้ภายใน ๗ ปี ถึง ๗ วัน แล้วตรัสว่า มิได้ทรงประสงค์จะได้เขามาเป็น ศิษย์มิได้ทรงประสงค์จะให้เขาเลิกเรียน (แบบปริพพาชกจะให้เลิกจากอาชีวะ (การดํารงชีวิตแบบปริพพาชก), มิได้ทรงประสงค์จะให้ตั้งอยู่ในอกุศลธรรมถ่ายถอนจากกุศลธรรม หากทรงแสดงธรรมเพื่อให้ละอกุศลธรรม เมื่อปฏิบัติอย่างไรจะละอกุศลธรรมได้ ธรรมอันผ่องแผ้วจะเจริญขึ้น ก็จงทําให้ปัญญาบริบูรณ์ ทําให้แจ้ง ความไพบูลอยู่ในปัจจุบันเถิด.










               

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น