Translate

วันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2561

พระสุตตันตปิฎก-มหาสุทัสสนสูตร


  

  พระไตรปิฎก-พระสุตตันตปิฎก-มหาสุทัสสนสูตร
   มหาสุทัสสนสูตร อยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่10 ทีฆนิกายมหาวัคค์เป็นที่รวมแห่งพระสูตรขนาดยาว


๔.มหาสุทัสสนสูตร
สูตรว่าด้วยพระเจ้ามหาสุทัสสนะจักรพรรดิ

(พระสูตรนี้เท่ากับเป็นการขยายความในมหาปรินิพพานสูตรตอนที่ตรัสตอบพระอานนท์ เรื่องกรุงกุสินาราเคยเป็นราชธานีนามว่ากุสาวตี ซึ่งพระเจ้ามหาสุทัสสนะจักรพรรดิทรงปกครอง).


********************************************************************************************






            พระผู้มีพระภาคทรงพรรณนาความมั่งคั่งสมบูรณ์ของกรุงกุสาวตี และทรงพรรณนาถึงรัตนะ ๗ ประการที่เกิดขึ้นแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะจักรพรรดิ์ คือ :


                . จักรแก้วซึ่งหมุนไปในทิศต่างๆได้ นําชัยชนะมาสู่
                ๒. ช้างแก้ว เป็นช้างเผือก ชื่ออุโบสถ.   
                ๓. ม้าแก้ว สีขาวล้วน ชื่อวลาหก.
                ๔. แกัวมณี เป็นแก้วไพฑูรย์.   
                ๕. นางแก้ว รูปร่างงดงาม มีสัมผัสนิ่มนวล.
                ๖. ขุนคลังแก้ว (คหปติรตนะ) ช่วยจัดการทรัพย์สินอย่างดีเลิศ
                ๗ขุนพลแก้ว (ปริณายกรตนะ) บัณฑิตผู้สั่งสอนแนะนํา.

           อนึ่ง พระเจ้ามหาสุทัสสนะจักรพรรดิ ทรงมีความสําเร็จ (ฤทธิ์๔ ประการ คือ :

                รูปงาม                                            
                ๒.อายุยืน
                ๓มีโรคน้อย                                      
                ๔เป็นที่รักของพราหมณ์และคฤหบดี (ประชาชน).

             นอกจากนั้นยังทรงพรรณนาถึงสระโบกขรณีทรัพย์สินปราสาทอันวิจิตรงดงามน่าชื่นชม


การบำเพ็ญฌานและพรหมวิหาร

                ครั้นแล้วทรงแสดงว่าพระเจ้ามหาสุทัสสนะจักรพรรดิ์ทรงเห็นว่า ผลดีต่าง ๆ เหล่านั้นเกิดขึ้นเพราะ ผลแห่งกรรมดีคือทาน (การให้ทมะ (การฝึกจิตและ สัญญมะ (การสํารวมจิตจึงทรงบําเพ็ญฌานสงบ ความตรึกทางกาม ความตรึกทางพยาบาท และความตรึกทางเบียดเบียน ได้บรรลุฌานที่ ๑ถึงฌานที่ ๔ ทรงแผ่พระมนัสอันประกอบด้วยเมตตา (คิดให้เป็นสุขกรุณา (คิดให้พันทุกข์มุทิตา (พลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีและอุเบกขา (วางใจเป็นกลาง)ไปทั้งสี่ทิศ
                ทรงสั่งลดการเข้าเฝ้าให้น้อยลง (เพื่อทรงมีเวลาอบรมทางจิตใจได้มากขึ้นภายหลังพระราชเทวี พระนามว่า สุภัททา สั่งจัดจตุรังคินีเสนา (ทัพช้าง ทัพม้า ทัพรถ ทัพเดินเท้าซึ่งขุนพลแก้วก็จัดให้ พระนางเดินทางไปเฝ้าพระเจ้ามหาสุทัสสนะ ขอให้ทรงเห็นแก่สมบัติ เห็นแก่ชีวิตแต่กลับตรัสตอบขอให้พระ ราชเทวีทรงขอร้องใหม่ในทางตรงกันข้าม คืออย่าเห็นแก่สมบัติ อย่าเห็นแก่ชีวิต เพราะการพลัดพรากจาก ของรักของชอบใจเป็นของธรรมดา การตายของผู้มีความกังวล ห่วงใย เป็นทุกข์ และถูกติเตียน
                พระราชเทวีก็ทรงพระกันแสง และฝืนพระหฤทัย เช็ดน้ำพระเนตร ขอร้องใหม่ ตามที่พระเจ้า มหาสุทัสสนะทรงแนะนํานั้น และต่อมาไม่ช้าพระเจ้ามหาสุทัสสนะก็สวรรคต และเข้าถึงพรหมโลก เพราะ ทรงเจริญพรหมวิหาร.

ตรัสสรูปเป็นคําสอน

                ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคตรัสสรูปว่า พระองค์เองได้เป็นพระเจ้ามหาสุทัสสนะจักรพรรดิ์นั้น พรั่งพร้อมสมบูรณ์ด้วยสมบัตินานาประการ แม้จะมีนครอยู่ในปกครองมากหลาย ก็อยู่ครอบครองได้เพียง นครเดียว คือนครกุสาวตี แม้จะมีปราสาทมากหลาย แต่ก็อยู่ครอบครองได้เพียงปราสาทเดียว คือธัมมปราสาทแม้จะมีเรือนยอดมากหลาย แต่ก็อยู่ครอบครองได้เพียงหลังเดียว คือเรือนยอดชื่อมหาวิยูหะ แม้จะ มีบัลลังก์มากหลาย แต่ก็ได้ใช้คราวละเพียงบัลลังค์เดียว แม้มีช้างมากหลาย แต่ก็ขึ้นขี่ได้เพียงคราวละตัวเดียว คือพญาช้างอุโบสถ แม้จะมีม้ามากหลาย แต่ก็ขึ้นขี่ได้เพียงคราวละตัวเดียว คือพญาม้าวลาหก แม้จะมีรถ มากหลาย แต่ก็ขึ้นสู่ได้เพียงคราวละคันเดียว คือรถเวชยันต์ แม้จะมีสตรีมากหลาย แต่ก็มีสตรีที่ปฏิบัติ รับใช้เพียงคราวละคนเดียว แม้จะมีคู่ม้า (ผ้านุ่งผ้าห่มมากหลาย แต่ก็นุ่งห่มเพียงคราวละคู่เดียวแม้จะมีถาดอาหารมากหลายแต่ก็บริโภคได้อย่างมากเพียงภูทะนานเดียวพร้อมทั้งกับข้าว

ดูเถิดอานนท์ สังขารทั้งปวงเหล่านั้นล่วงไปแล้วคับแล้วปรวนแปรแล้วสังขารไม่เที่ยงไม่ยั่งยืนไม่น่าวางใจอย่างนี้ จึงควรที่จะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวงควรเพื่อจะคลายกําหนัดควรเพื่อจะพ้นไปเสีย.







           





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น