Translate

วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2561

สุตตันตปิฎก - มหาปทานสูตร



  พระไตรปิฎก - พระสุตตันตปิฎก - มหาปทานสูตร


มหาปทานสูตร อยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่10 ทีฆนิกายมหาวัคค์เป็นที่รวมแห่งพระสูตรขนาดยาว

๑.มหาปทานสูตร

  สูตรว่าด้วยข้ออ้างใหญ่

********************************************************************************************





พระผู้มีพระภาคประทับณกเรริกุฎี(กุฎีมีมณฑปทําด้วยไม้กุมตั้งอยู่เบื้องหน้า) ในเชตวนารามของอนาถปิณฑิกคฤหบดี ใกล้กรุงสาวัตถี.ณ โรงโถงที่ทําด้วยไม้กุ่มนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายผู้สนทนากันถึงเรื่อง ปุพเพนิวาส" คือความเป็นไปในชาติก่อน โดยทรงเล่าเรื่องพระพุทธเจ้าในอดีต ๖ พระองค์ รวมทั้งพระองค์เองด้วยเป็น ๗ พระองค์ดังต่อไปนี้:                                                                                                ๑. พระวิปัสสี

                พระวิปัสสีพุทธเจ้าทรงสมภพในสกุลกษัตริย์ ในกัปป์ที่ ๓๑ ก่อนหน้ากัปป์ปัจจุบันนี้ มีพระนามโดยพระโคตรว่า โกณฑัญญะ มีประมาณแห่งอายุ ๘ หมื่นปี ตรัสรู้ ณ โคนไม้แคฝอย มีคู่แห่งอัครสาวกนามว่าขัณฑะ กับติสสะ มีการประชุมสาวก ๓ ครั้ง การประชุมสาวก มีภิกษุ ๖ ล้าน ๘ แสนรูปครั้งหนึ่ง มีภิกษุ๑ แสนรูปครั้งหนึ่ง มีภิกษุ ๘ หมื่นรูปครั้งหนึ่ง ล้วนเป็นพระขีณาสพทั้งสามครั้งมีภิกษุเป็นยอดพุทธอุปฐากชื่ออโสกะมีพระพุทธบิดาพระนามว่าพันธุมาพระพุทธมารดาพระนามว่าพันธุมตี มีพันธุมตีนครเป็นราชธานี

                                                              ๒. พระสิขี

                พระสิขีพุทธเจ้าทรงสมภพในสกุลกษัตริย์ ในกัปป์ที่ ๓๑ ก่อนหน้ากัปป์ปัจจุบันนี้ มีพระนามโดย พระโคตรว่า โกณฑิญญะ มีประมาณแห่งอายุ ๗ หมื่นปี ตรัสรู้ ณ โคนต้นบุณฑรีก มีคู่แห่งอัครสาวกนามว่า อภิภู กับสมภวะ มีการประชุมอัครสาวก ๓ การประชุมสาวกมีภิกษุ ๑ แสนรูปครั้งหนึ่ง ๒หมื่นรูป ครั้งหนึ่ง ๗ หมื่นรูปครั้งหนึ่ง ล้วนเป็นพระขีณาสพทั้งสามครั้ง มีภิกษุเป็นยอดพุทธอุปฐาก ชื่อเขมังกระ มีพระพุทธบิดาพระนามว่า อรุณะ พระพุทธมารดาพระนามว่า ปภาวตี มีอรุณวตีนครเป็นราชธานี.            

                                                                                               ๓.พระเวสสภู             

 พระเวสสภูพุทธเจ้าทรงสมภพในสกุลกษัตริย์ ในกัปป์ที่ ๓๑ ก่อนหน้ากัปป์ปัจจุบันนี้ มีพระนาม โดยพระโคตรว่า โกณฑ์ญญะ มีประมาณแห่งอายุ ๖ หมื่นปี ตรัสรู้ที่โคนไม้สาละ มีคู่แห่งอัครสาวกนามว่า โสณะกับอุตตระ มีการประชุมสาวก ๓ ครั้ง การประชุมสาวกมีภิกษุ ๘ หมื่นรูปครั้งหนึ่ง ๗ หมื่นรูปครั้งหนึ่ง ๖ หมื่นรูปครั้งหนึ่ง ล้วนเป็นพระขีณาสพทั้งสามครั้ง. มีภิกษุเป็นยอดพุทธอุปฐาก ชื่ออุปสันตะ มีพระพุทธบิดาพระนามว่า สุปปตีตะ พระพุทธมารดาพระนามว่า ยสวตี มีอโนมนครเป็นราชธานี   

                                                              ๔. พระกกุสันธะ            

    พระกกุสันธพุทธเจ้าทรงสมภพในสกุลพราหมณ์ ในภัททกัปป์นี้ มีพระนามโดยพระโคตรว่า กัสสปะ มีประมาณแห่งอายุ ๔ หมื่นปี, ตรัสรู้ ณ โคนไม้ซึก มีคู่แห่งอัครสาวกนามว่า วิธูระ กับสัญชีวะ มีการ ประชุมสาวกครั้งเดียว มีภิกษุ ๔ หมื่นรูป ล้วนเป็นพระขีณาสพ. มีภิกษุเป็นยอดพุทธอุปฐาก มีพระพุทธบิดาเป็นพราหมณ์นามว่า อัคคิทัตตะ มีพระพุทธมารดาเป็นพราหมณีนามว่า วิสาขา มีเขมวตีนครของพระเจ้าเขมะเป็นราชธานี.           

                                                             ๕. พระโกนาคมนะ         

       พระโกนาคมนพุทธเจ้าทรงสมภพในสกุลพราหมณ์ ในภัททกัปป์นี้ มีพระนามโดยพระโคตรว่า กัสสปะ มีประมาณแห่งอายุ ๓ หมื่นปี, ตรัสรู้ ณ โคนไม้มะเดื่อ มีคู่แห่งอัครสาวกนามว่า ภิยโยสะ กับ อุตตระ มีการประชุมสาวกครั้งเดียว มีภิกษุ ๓ หมื่นรูป ล้วนเป็นพระขีณาสพ. มีภิกษุเป็นยอดพุทธอุปฐาก ชื่อโสตถิชะ มีพระพุทธบิดาเป็นพราหมณ์นามว่า ยัญญทัตตะ พระพุทธมารดาเป็นพราหมณีนามว่า อุตตรา.มีโสภวตีนครของพระเจ้าโสภะเป็นราชธานี.
                                                                  ๖. พระกัสสปะ        

        พระกัสสปพุทธเจ้าทรงสมภพในสกุลพราหมณ์ ในภัททกัปป์นี้ มีพระนามโดยพระโคตรว่า กัสสปะ มีประมาณแห่งอายุ ๒ หมื่นปี ตรัสรู้ ณ โคนไม้นิโครธ (ไทร) มีคู่แห่งอัครสาวกนามว่า ติสสะ กับภารัทวาชะ, มีการประชุมสาวกครั้งเดียว มีภิกษุ ๒ หมื่นรูป ล้วนเป็นพระขีณาสพ. มีภิกษุเป็นยอดพุทธอุปฐาก ชื่อ สัพพมิตตะ มีพระพุทธบิดาเป็นพราหมณ์นามว่า พรหมทัตตะ พระพุทธมารดาเป็นพราหมณีนามว่า ธนวตี มีพาราณสีนครของพระเจ้ากิงกิเป็นราชธานี.
                                                             ๗. พระองค์เอง (พระโคตมะ)             

   พระองค์เองทรงสมภพในสกุลกษัตริย์ ในภัททกัปป์นี้ มีพระนามโดยพระโคตรว่า โคตมะ มี ปริมาณแห่งอายุน้อย ผู้ใดมีชีวิตอยู่นานก็เพียง ๑๐๐ ปี ที่เกินกว่านั้นมีน้อย ตรัสรู้ ณ โคนไม้อัสสัตถะ (โพธิ์) มีคู่แห่งอัครสาวกนามว่า สาริบุตร กับโมคคัลลานะ มีการประชุมสาวกครั้งเดียว มีภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป ล้วนเป็นพระขีณาสพ. มีภิกษุเป็นยอดพุทธอุปฐาก ชื่ออานนท์ มีพระพุทธบิดาพระนามว่า สุทโธทนะ พระพุทธมารดาพระนามว่า มายา มีกบิลพัสดุนครเป็นราชธานี.                เมื่อตรัสเล่าอย่างนี้แล้ว ก็เสด็จจากอาสนะเข้าสู่วิหาร ต่อมาได้ตรัสเล่าประวัติพระวิปัสสีพุทธเจ้า โดยแสดงว่าเป็นธรรมดาของผู้จะเป็นพระพุทธเจ้า ดังต่อไปนี้ :ธรรมดาของพระโพธิสัตว์
                ๑. พระโพธิสัตว์จุติจากดุสิต มีสติสัมปชัญญะ ลงสู่พระครรภ์พระมารดา.
             ๒. เมื่อพระโพธิสัตว์ลงสู่พระครรภ์พระมารดาจะมีแสงสว่างอันโอฬารปรากฏในโลก, หมื่นโลกธาตุสะเทือนสะท้านหวั่นไหว
                ๓. มีเทพบุตร ๔ ตนมาอารักขาทั้งสี่ทิศเพื่อป้องกันมนุษย์และอมนุษย์มิให้เบียดเบียนพระโพธิสัตว์หรือพระมารดา.
                ๔. พระมารดาพระโพธิสัตว์ทรงตั้งอยู่ในศีล ๕ โดยปกติ.
                ๕. พระมารดาพระโพธิสัตว์ไม่ทรงมีความรู้สึกทางกามในบุรุษทั้งหลาย และจะเป็นผู้อันบุรุษใด ๆ ผู้มีจิตกําหนัดก้าวล่วงไม่ได้.
                ๖. พระมารดาพระโพธิสัตว์มีลาภ บริบูรณ์ตัวยกามคุณ ๕ (รูป, เสียง, กลิน, รส โผฏฐัพพะ).
                ๗. พระมารดาพระโพธิสัตว์ไม่มีโรค มองเห็นพระโพธิสัตว์ในพระครรภ์เหมือนเห็นเส้นด้ายในแก้ว ไพฑูรย์ (ตั้งแต่ข้อ ๓ ถึง ๗ หมายถึงระหว่างทรงพระครรภ์).
                ๘. เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติได้ ๗ วันแล้ว พระมารดาย่อมสวรรคต เข้าสู่สวรรค์ชันดุสิต,
                ๙. สตรีคืนบริหารครรภ์ ๙ เดือนบ้าง ๑๐ เดือนบ้างจึงคลอดส่วนมารดาพระโพธิสัตว์บริหารพระครรภ์ ๑๐ เดือนพอดีจึงคลอด.
                ๑๐. สตรีอื่นนั่งหรือนอนคลอดส่วนมารดาพระโพธิสัตว์ยืนคลอด,
                ๑๑. เมื่อประสูติ เทวดารับก่อนมนุษย์รับภายหลัง.
                ๑๒. เมื่อประสูติจากพระครรภ์ ยังไม่ทันถึงพื้นเทพบุตร ๔ ตนจะรับวางไว้เบื้องหน้าพระมารดาและบอกให้ทราบว่าพระโอรสที่เกิดมีศักดิ์ใหญ่
                ๑๓. เมื่อประสูติ พระโพธิสัตว์เป็นผู้บริสุทธิ์สะอาดไม่แปดเปื้อนตัวยคัพภมลทิน.
                ๑๔. เมื่อประสูติ จะมีธารน้ำร้อนน้ำเย็นตกลงมาสนานพระกายพระโพธิสัตว์และพระมารดา,
                ๑๕. ทันใดทีประสูติ พระโพธิสัตว์จะผินพระพักตร์ทางทิศเหนือดําเนินด้วยพระบาท ๗ ก้าวเปล่งพระวาจาประกาศเรื่องที่จะทรงเป็นเลิศในโลก และเรื่องชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย.
                ๑๖. เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติ จะมีแสงสว่างอันโอฬารปรากฏในโลก และหมื่นโลกธาตุสะเทือน สะท้าน
วิปัสสีกุมารประสูติจนถึงเสด็จออกผนวช
                เมื่อวิปัสสีกุมารประสูติแล้ว พระเจ้าพันธุมา พุทธบิดา ก็ตรัสให้เชิญพวกพราหมณ์ผู้รู้ลักษณะมา ทํานาย, พวกพราหมณ์พิจารณาแล้วกราบทูลว่า พระราชกุมารประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ ถ้าครองเรือนจักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ ถ้าเสด็จออกผนวช จักเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระราช บิดาจึงให้ถนอมเลี้ยงพระราชกุมารเป็นอันดี พระราชกุมารนั่งบนตักของพระราชบิดาในการวินิจฉัยอรรถคดี ก็ทรงพิจารณาวินิจฉัยได้ดีดัวยพระญาณปรีชา จึงได้รับขนานนามว่า วิปัสสี” (ผู้เห็นแจ้ง).
                ต่อจากนั้นเล่าเรื่องวิปัสสีกุมารเสด็จสู่ราชอุทยาน พร้อมด้วยนายสารถี ได้ทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช จึงเสด็จออกผนวช.
ตรัสรู้และแสดงธรรม
                เมื่อผนวชแล้ว ทรงพิจารณาหลักธรรมเรื่องปฏิจจสมุปบาท (ธรรมที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยเหตุที่ เกี่ยวโยงกันเหมือนลูกโซ่) ทรงพิจารณาความเกิด ความดับแห่งขันธ์ ๕ ก็ได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้งแรกจะทรงงดแสดงธรรม เพราะเห็นว่า ธรรมะที่ตรัสรู้นั้นลึกซึ้ง แต่ในที่สุดทรงเห็นว่า ผู้ที่พอจะรู้ตามได้ก็มี จึงทรงแสดงธรรม และได้โปรดราชบุตรชื่อขัณฑะ และปุโรหิตชื่อติสสะ ให้ได้ดวงตา เห็นธรรม ขอบรรพชาอุปสมบท และได้สําเร็จเป็นพระอรหันต์ในที่สุด ต่อมาได้มีผู้ออกบวชมากขึ้น จึงทรง ส่งสาวกไปประกาศศาสนา ต่อเมื่อครบ ๖ ปี จึงให้กลับมากรุงพันธุมตี เพื่อฟังปาฏิโมกข์ ซึ่งพระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงในภิกษุสงฆ์ (มีเนื้อความเช่นเดียวกับโอวาทปาฏิโมกข์).
                ทรงแสดงว่าเรื่องเหล่านี้นอกจากทรงทราบด้วยพระองค์เอง เพราะทรงเข้าใจแจ่มแจ้งซึ่งธรรมธาตุ เป็นอย่างดี แม้เทพดาก็เคยมากราบทูลเรื่องเหล่านี้ เช่น ในสมัยที่ประทับ ณ โคนไม้สาละใหญ่ในสุภวัน ใกล้เมืองอุกกัฏฐา.
            




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น