Translate

วันอังคารที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2561

พระสุตตันตปิฎก-มหานิทานสูตร



    พระไตรปิฎก-พระสุตตันตปิฎก-มหานิทานสูตร
      มหานิทานสูตร อยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่10 ทีฆนิกายมหาวัคค์เป็นที่รวมแห่งพระสูตรขนาดยาว


๒.มหานิทานสูตร

สูตรว่าด้วยต้นเหตุใหญ่ 

********************************************************************************************




พระผู้มีพระภาคประทับณนิคมชื่อกัมมาสชัมมะในแคว้นกุรุ พระอานนท์เข้าไปเฝ้ากราบทูลว่าแม้ปฏิจจสมุปบาท (ธรรมที่เกิดขึ้นอาศัยกันและกัน) เป็นของลึกซึ้งและมีเงาลึกซึ้งแต่ปรากฏเป็นของตื้นสําหรับท่าน. พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่าอย่าพูดอย่างนั้น ปฏิจจสมุปบาทนี้ลึกซึ้งและมีเงาลึกซึ้งเพราะไม่ตรัสรู้ธรรมนี้ สัตว์จึงไม่ล่วงพ้นอบาย (ภูมิอันเสื่อม) ทุคคติ (ที่ไปอันชั่ว) วินิบาต (สภาพอันตกต่ำ) สงสาร(การท่องเที่ยวเวียนว่าย)

อะไรเป็นปัจจัยแห่งอะไร
                ๑. ต่อจากนั้นทรงแนะนําเรื่องปฏิจจสมุปบาทต่อไปว่า ถ้ามีผู้ถามว่า ความแก่ความตายมีปัจจัย หรือไม่ พึงตอบว่า มี โดยชี้ไปที่ความเกิด (ชาติ) ว่า เพราะความเกิดเป็นปัจจัย จึงมีความแก่และความตาย.
                ๒. เพราะภพ (ความมีความเป็น) เป็นปัจจัย จึงมีชาติ (ความเกิด).
                ๓. เพราะอุปาทาน (ความยึดถือ) เป็นปัจจัย จึงมีภพ.
                ๔. เพราะตัณหา (ความทะยานอยาก) เป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน.
                ๕.(ความรู้สึกที่เกิดจากสัมผัสทางตา หู เป็นต้น) เป็นปัจจัย จึงมีตัณหา,
                ๖. เพราะผัสสะ (ความถูกต้อง) เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา,
                ๗. เพราะรูปนาม (สิ่งที่ไม่มีรูปร่าง มีแต่ชื่อ เรียกว่านาม ได้แก่เวทนา ความรู้สึกอารมณ์ สัญญา ความจําได้หมายรู้, เจตนา ความจงใจ, ผัสสะ ความถูกต้อง, มนสิการ ความทําไว้ในใจ ส่วน สิ่งที่เป็นรูป คือธาตุ ๔ และรูปอันปรากฎเพราะอาศัยธาตุ ๔) เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
                ๘ เพราะวิญญาณ (ปฏิสนธิวิญญาณ) คือธาตุรู้ที่ถือกําเนิดเป็นปัจจัย จึงมีรูปนาม,
                ๙. เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ       ๑๐. เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป,
                ๑๑. เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ.      ๑๒. เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา.
                ๑๓. เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา.       ๑๔. เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
                ๑๕. เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ.                         ๑๖. เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ
                ๑๗. เพราะชาติ (ความเกิด) เป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ (ความแก่ ความตาย) (ในตอนนี้ พึงสังเกตว่า ทรงแสดงปฏิจจสมุปบาทในลักษณะพิเศษ เพราะสาวไปไม่ถึงอวิชชา หากวนเป็นเหตุปัจจัยกันอยู่ ระหว่างนามรูป กับวิญญาณ โปรดดูข้อ ๙ ข้อ ๑๐, ต่างฝ่ายเป็นปัจจัยของกันและกัน แล้วจึงต่อเนื่องไปถึงอันอื่น)
(ต่อจากนั้นทรงอธิบายรายละเอียด พร้อมทั้งเหตุผลประกอบหัวข้อทั้งสิบเจ็ดข้อนั้น แต่มีข้อน่า สังเกตที่ทรงใช้ศัพท์เกี่ยวกับสัมผัส คือทรงอธิบายสัมผัสว่า มี ๖ มีสัมผัสทางตา จนถึงสัมผัสทางใจ แล้วทรงใช้ คําว่า อธิวจนสัมผัส ซึ่งอรรถกถาอธิบายว่า เป็นสัมผัสทางใจ และ ปฏิฆสัมผัส ซึ่งอรรถกถาอธิบายว่า เป็นสัมผัสที่เนื่องด้วยรูปขันธ์ คือสัมผัสทางร่างกาย คําอธิบายปฏิจจสมุปบาทโดยละเอียด จักมีแจ้งในการ ย่อความเล่มที่ ๑๖ เพราะในเล่มนั้นทั้งเล่มว่าด้วยปฏิจจสมุปบาทตลอด).
                ในที่สุดตรัสสรูปในชั้นนี้ก่อนว่าข้อที่วิญญาณกับนามรูปต่างเป็นปัจจัยของกันและกันนีย่อมเป็นเหตุให้สัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ อุปบัติเป็นเหตุให้มีทางแห่งคําเรียกชื่อ มีทางแห่งการพูดจา มีทางแห่งการบัญญัติ มีการรู้ได้ด้วยปัญญาและมีวัฏฏะความหมุนเวียนและมีความเป็นอย่างนี้
. คําว่าวิญญาณในที่นี้ หมายถึงปฏิสนธิวิญญาณเพราะทรงใช้คําว่าวิญญาณก้าวลงในท้องของมารดาในตอนขยายความต่อจากนี้ แต่ในสังยุตตนิกายนิทานวรรคเล่ม ๑๖ หน้า ๖ ทรงอธิบายวิญญาณว่าได้แก่วิญญาณ ๖ อันหมายถึงธาตุรู้ที่ปรากฎทางตาหู เป็นต้น
. อุปบัติ อ่านว่าอุปะบัดเป็นคําคู่กับจุติ จุติ หมายถึงเคลื่อนจากฐานะเดิมอุปบัติ หมายถึงเข้าถึงฐานะใหม่
การบัญญัติและไม่บัญญัติอัตตา
                ต่อจากนั้นทรงแสดงการบัญญัติอัตตา ๔ ประการคือ ๑. บัญญัติอัตตา "เล็กน้อย" ว่ามีรูป๒. บัญญัติอัตตา หาที่สุดมิได้ว่ามีรูป ๓. บัญญัติอัตตา เล็กน้อยว่าไม่มีรูป และ ๔. บัญญัติอัตตาหาที่สุดมิได้ว่าไม่มีรูปการบัญญัติอย่างนี้ย่อมมี ๓ ประการ คือ ๑. บัญญัติอัตตา เฉพาะในปัจจุบันนี้ เท่านั้น (เพราะมีความเห็นว่าตายแล้วสูญ) . บัญญัติอัตตา ที่มีความเป็นอย่างนั้น (เพราะมีความเห็นว่า เที่ยง ไม่เปลี่ยนแปลง) . บัญญัติด้วยต้องการจะลบล้างความเห็นผิตของฝ่ายอื่น จูงมาสู่ความเห็นของตน (ซึ่งเข้าใจว่าถูก).
                ส่วนการไม่บัญญัติอัตตา ก็เป็นไปในทางตรงกันข้ามกับการบัญญัติอัตตาทีกล่าวมาแล้ว.
ความคิดเห็นเรื่องเวทนาเกี่ยวกับอัตตา
                ครั้นแล้วทรงแสดงความคิดเห็นของบุคคล ๓ ข้อเกี่ยวกับเวทนา และอัตตา คือ ๑. เห็นว่าเวทนา (ความรู้สึกอารมณ์เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือไม่ทุกข์ไม่สุข) เป็นอัตตา (ตัวตน) ของเรา ๒. เห็นว่าเวทนา มิใช่อัตตาของเรา อัตตาของเราไม่รู้สึกอารมณ์ ๓. เห็นว่าเวทนามิใช่อัตตาของเราอัตตาของเราไม่รู้สึก อารมณ์ก็มิใช่ อัตตาของเราย่อมเสวยอารมณ์ อัตตาของเรามีเวทนาเป็นธรรมดา.
                แล้วทรงแสดงเหตุผลให้เห็นจริงทั้งสามข้อว่า ไม่ควรยึดถืออย่างนั้น ในที่สุดตรัสสรุปว่า ภิกษุ ไม่เห็นทั้งสามอย่างนั้น ย่อมไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดถือ ก็ไม่สะดุ้งดิ้นรน เมื่อไม่สะดุ้งดิ้นรนก็ดับสนิทเฉพาะตนรู้ว่าชาติสิ้นแล้วได้อยู่จบพรหมจรรย์แล้วได้ทําหน้าที่เสร็จแล้วกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนีไม่มีอีก. ภิกษุผู้หลุดพ้นแล้วเช่นนี้ ไม่ควรที่ใคร ๆ จะกล่าวว่า ท่านมีความเห็นว่าสัตว์ตายแล้วเกิด, สัตว์ ตายแล้วไม่เกิด, สัตว์ตายแล้วทั้งเกิดทั้งไม่เกิด และสัตว์ตายแล้วเกิดก็ไม่ใช่ ไม่เกิดก็ไม่ใช่ ข้อนั้นเพราะ เหตุไร ? เพราะวัฏฏะ ย่อมหมุนเวียนไปตราบเท่าที่ยังมีทางแห่งคําเรียกชื่อ มีทางแห่งคําพูดจา มีบัญญัติ มีทางแห่งการบัญญัติ มีการนัดกันรู้ มีการรู้ได้ด้วยปัญญา และยังมีการหมุนเวียนอยู่ ภิกษุผู้หลุดพ้นเพราะ รู้ความจริงนั้น ไม่ควรที่ใคร ๆ จะมีความเห็นว่าท่านไม่รู้ไม่เห็น.
                (หมายเหตุ : การที่พระอรหันต์ไม่ติดอยู่ในความเห็นข้อใดข้อหนึ่ง ที่ว่าสัตว์ตายแล้วเกิดหรือไม่ นั้น เป็นเพราะไม่ติดอยู่ในสมมติบัญญัติเกี่ยวกับกระแสหมุนเวียน เมื่อรู้เท่ากระแสหมุนเวียนและหลุดพ้นได้ จึงไม่ควรที่จะกล่าวว่าท่านไม่รู้ไม่เห็น).
ที่ตั้งแห่งวิญญาณ ๗ อย่าง
                ต่อจากนั้นทรงแสดงวิญญาณฐิติ (ที่ตั้งแห่งวิญญาณ) ๗ อย่าง คือ :
                ๑. สัตว์เหล่าหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญา (ความจําได้หมายรู้) ต่างกัน เช่น มนุษย์ เทวดาบางพวกและเปรตบางพวก
. คําว่า อัตตาเล็กน้อย ถ้าเทียบกับศาสนาพราหมณ์ น่าจะหมายถึงอัตตาของแต่ละคน ส่วนอัตตาหาที่สุด มิได้ หรืออนันตอัตตา น่าจะหมายถึงอัตตาใหญ่ หรืออัตตาสากล ที่เรียกว่าปรมาตมัน แต่อรรถกถา อธิบายว่า ผู้ไม่ได้เจริญกสิณนิมิต ย่อมบัญญัติอัตตาเล็กน้อย ถ้าได้เจริญกสิณนิมิต ย่อมบัญญัติอัตตาหาที่สุดมิได้
. อรรถกถาอธิบายว่า ได้แก่พวกเวมานิกเปรต คือเปรตที่ได้วิมาน ซึ่งได้รับความสุขความทุกข์สลับกันไปเปรตพวกนี่ ไม่จัดอยู่ในอบายภูมิ, ดูอรรถกถาเล่ม ๒ หน้า ๑๓๙
                ๒. สัตว์เหล่าหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น เทพ พวกพรหม ที่เกิดด้วยปฐมฌาน และสัตว์ที่อยู่ในอบาย ๔.
                ๓. สัตว์เหล่าหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น เทพพวกอาภัสสรพรหม.
                ๔. สัตว์เหล่าหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น เทพพวกสุภกิณหพรหม.
                ๕. สัตว์เหล่าหนึ่งก้าวล่วงความกําหนดหมายในรูป ทําในใจว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เข้าถึง อากาสานัญจายตนะ (เป็นพรหมไม่มีรูปพวกที่๑).
                ๖. สัตว์เหล่าหนึ่งก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะ ทําในใจว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ (เป็นพรหมไม่มีรูปพวกที่ ๒).
                ๗. สัตว์เหล่าหนึ่งก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะ ทําในใจว่า ไม่มีอะไร เข้าถึงอากิญจัญญายตนะ (เป็นพรหมไม่มีรูปพวกที่ ๓).
อายตนะ ๒
                ครั้นแล้วทรงแสดงอายตนะ ๒ คือ ๑. อสัญญี่สัตตายตนะ อายตนะ หรือที่ต่อ คืออสัญญีสัตว์ (อญีสัตว์เป็นพวกมีแต่รูป ไม่มีวิญญาณ จึงไม่จัดเข้าในวิญญาณฐิติ ๗ อย่าง แต่เรียกว่าอายตนะ) . เนวสัญญานาสัญญายตนะ อายตนะ หรือที่ต่อ คือที่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ (นี้เป็นพรหมไม่มีรูป พวกที่ ๔ เพราะเหตุที่วิญญาณในอรูปพรหมชั้นนี้สุขุมละเอียดอ่อนมาก จึงไม่ควรกล่าวว่ามีวิญญาณ หรือไม่มี วิญญาณ ฉะนั้น จึงไม่จัดเข้าในวิญญาณฐิติ ๗ แต่เรียกว่าอายตนะ เป็นอันว่า ต้องกล่าวว่า วิญญาณฐิติ๗ และอายตนะ ๒ จึงจะครอบคลุมสัตวโลกได้หมดทุกชนิด).
ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา
               ตรัสสรูปเฉพาะตอนนี้อีกว่า ผู้ใดรู้วิญญาณฐิติทั้งเจ็ดรู้อายตนะทั้งสองรู้ความเกิดขึ้น รู้ความดับไป รู้ความพอใจ รู้โทษ และรู้การแล่นออก (หลุดพ้น) จากวิญญาณฐิติ ๗ และอายตนะ ๒ แล้ว ควรหรือที่จะ ชื่นชมยินดีวิญญาณฐิติ ๗ และอายตนะ ๒ นั้น. พระอานนท์กราบทูลว่า ไม่ควร จึงตรัสว่า ภิกษุผู้รู้ตาม ความเป็นจริงอย่างนี้ ย่อมหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น (ด้วยอุปาทาน) เรียกว่าเป็นปัญญาวิมุติ (ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา)
วิโมกข์ (ความหลุดพ้น)
                ทรงแสดงวิโมกข์ ๘ แก่พระอานนท์ต่อไป คือ :
                ๑.บุคคลมีรูป เห็นรูป
                ๒.บุคคลมีความกําหนดหมายในสิงไม่มีรูป เห็นรูปภายนอก.
                ๓.บุคคลน้อมใจว่า งาม.”
                ๔. บุคคลทําไว้ในใจว่า อากาศไม่มีที่สุด เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ.
                ๕.บุคคลทําไว้ในใจว่า วิญญาณไม่ บุคคลทําไว้ในใจว่า ไม่มีอะไร เข้าถึงอากิญจัญญายตนะ
                ๖.บุคคลทําไว้ในใจว่า ไม่มีอะไร เข้าถึงอากิญจัญญายตนะ
                ๗.บุคคลก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะ เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ.
                ๘.บุคคลก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะ เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ.

สรูปเกี่ยวกับวิโมกข์ ๘
                ภิกษุผู้เข้าสู่วิโมกข์ ๘ นี้ ได้ทั้งอนุโลม (ตามลําดับ) และปฏิโลม (ถอยกลับจากหลังไปหาหน้า) เข้าได้ออกได้ตามต้องการ ย่อมทําให้แจ้ง (บรรลุ) ความหลุดพ้นด้วยสมาธิ (เจโตวิมุติ) และความหลุดพ้นด้วย ปัญญา (ปัญญาวิมุติ) อันไม่มีอาสวะ เพราะสิ้นอาสวะได้ในปัจจุบัน ภิกษุนี้ เรียกว่าอุภโตภาควิมุต (ผู้พัน ทั้งสองทาง) ไม่มีอุภโตภาควิมุตอย่างอื่นยอดเยี่ยมกว่า ประณีตกว่า.
                เมื่อจบพระธรรมเทศนา พระอานนท์ก็ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาค
                (หมายเหตุ: มหานิทานสูตรนี้ เป็นการแสดงเรื่องความเวียนว่ายตายเกิด โดยแสดงเงื่อนต้น ที่วิญญาณและนามรูป ต่างเป็นปัจจัยของกันและกัน ทําให้เวียนว่ายตายเกิด และเป็นเหตุให้มีการบัญญัติ อัตตาตัวตน ผู้รู้แจ้งความจริงย่อมไม่ติดในบัญญัตินั้น ๆ ในที่สุดได้แสดงถึงวิญญาณฐิติ คือที่ตั้งแห่งวิญญาณ หรือประเภทแห่งสัตวโลก ๗ กับแสดงอายตนะ ๒ คือพวกที่วิญญาณไม่ปรากฏ กับปรากฏ แต่ไม่ชัด ๒ พวก ในที่สุดได้แสดงวิโมกข์ คือความหลุดพัน ๘ ประการ ที่ผู้เข้าออกได้คล่องแคล่ว จะชื่อว่าผู้พันด้วยสมาธิและ ปัญญา ความจริงควรจะได้อธิบายรายละเอียดว่า ข้อไหนมีความพิสดารอย่างไร แต่ถ้าทําอย่างนั้นจะไม่จบตามกําหนด จึงต้องขอผ่านไป เสนอแต่ความสําคัญ).








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น