Translate

วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2561

พระสุตตันตปิฎก -โลหิจจสูตร


พระไตรปิฎก - พระสุตตันตปิฎก -โลหิจจสูตร

โลหิจจสูตร อยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ ทีฆนิกาย สีลขันธวัคค์ เป็นสุตตันตปิฎก



๑๒. โลหิจจสูตร

สูตรว่าด้วยการโต้ตอบกับโลหิจจพราหมณ์

********************************************************************************************




พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแควันโกศลพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ได้เสด็จแวะพักณตําบลบ้านซื่อสาลวติกาซึ่งพรเจ้าปเสนทิโกศลพระราชทานให้โลหิจจพราหมณ์ครอบครอง.
ทรงแก้ความคิดเห็นผิด
สมัยนั้นโลหิจจพราหมณ์มีความเห็นผิดเกิดขึ้นว่าสมณะหรือพราหมณ์ผู้บรรลุกุศลธรรมแล้วไม่พึงบอกแก่ผู้อื่นเพราะคนอื่นจะทําอะไรแก่อีกคนหนึ่งได้ การบอกแก่คนอื่นจัดว่าเป็นความโลภ (ความอยากได้) ที่เป็นบาปอันหนึ่ง เปรียบเหมือนคนตัดเครื่องพันธนาการเก่าออกแล้ว กลับทําเครื่องพันธนาการใหม่ (ให้แก่ตัวเอง) อีก
โลหิจจพราหมณ์ได้ข่าวว่าพระผู้มีพระภาคเสด็จมาถึงตําบลบ้านชื่อสาลวติกาจึงใช้ช่างกัลบกชื่อโรสิกะให้ไปกราบทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์มาฉันในวันรุ่งขึ้น.
รุ่งขึ้นเมื่อเสด็จไปฉันเสร็จแล้ว ก็ได้ทรงโต้ตอบกับโลหิจจพราหมณ์ถึงเรื่องความเห็นผิดนั้น ทรง เปรียบเทียบให้เห็นว่า โลหิจจพราหมณ์ซึ่งครอบครองตําบลบ้านสาลวติกาก็ตาม พระเจ้าปเสนทิโกศล ซึ่งทรง ครอบครองแควันโกศลก็ตาม ถ้าบริโภคผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นในดินแดนที่ปกครองแต่ผู้เดียว ไม่ยอมแบ่งปันให้ ผู้ใดเลยดังนี้ คนที่จะแสดงความคิดเห็นไม่ให้แบ่งปันแก่ผู้อื่นอย่างนี้ จะชื่อว่าทําอันตรายแก่ผู้ที่ (เป็นข้าทาส บริวาร) อาศัยอยู่หรือไม่ โลหิจจพราหมณ์ยอมรับว่าเป็นการทําอันตรายแก่คนเหล่านั้น (เพราะเมื่อไม่ได้รับ ส่วนแบ่ง เช่น อาหาร เป็นต้น คนเหล่านั้นก็อยู่ไม่ได้) ตรัสถามต่อไปว่า จะเป็นการตั้งเมตตาจิต คิด อนุเคราะห์คนเหล่านั้น หรือว่าเป็นศัตรู กราบทูลตอบว่า เป็นศัตรู ตรัสถามต่อไปว่า เมื่อตั้งจิตเป็นศัตรู จะชื่อว่ามีความเห็นผิดหรือเห็นชอบ พราหมณ์กราบทูลว่า เป็นการเห็นผิด (อันนี้เป็นการต้อนให้พราหมณ์ นั้นยอมรับว่าตนมีความเห็นผิด เพราะจํานนต่อเหตุผล).
จึงทรงเปรียบเทียบให้ฟังต่อไปว่าการกล่าวว่าผู้ครอบครองบริโภคผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นแต่ผู้เดียวไม่แบ่งปันแก่ใครเลยก็เช่นเดียวกับการกล่าวว่าผู้บรรลุกุศลธรรมไม่ควรบอกแก่ใครๆซึ่งเป็นการทําอันตรายเป็นการดังจิตเป็นศัตรูต่อผู้ที่ควรจะได้รับและเป็นการมีความเห็นผิด.
ศาสดา ๓ ประเภท
แล้วทรงแสดงถึงศาสดา (ผู้สอนศาสนา) ๓ ประเภทที่ควรโจทท้วง และคําโจทท้วงก็ถูกต้องตามธรรม คือ :
. ศาสดาที่ออกบวชแล้ว ไม่ได้บรรลุประโยชน์ของความเป็นสมณะด้วยตนเอง ได้แต่แสดงธรรม สอนผู้อื่น (ดีแต่สอนผู้อื่น ตนเองปฏิบัติไม่ได้ หรือไม่ได้ผล) สาวกจึงไม่ตั้งใจฟัง พากันเลี่ยงหนี
. ศาสดาที่ออกบวชแล้ว ไม่ได้บรรลุประโยชน์ของความเป็นสมณะด้วยตนเอง ได้แต่แสดงธรรม สอนผู้อื่น แต่สาวกตั้งใจฟังคําสอน ไม่พากันเลี่ยงหนี
. ศาสดาที่ออกบวชแล้ว ได้บรรลุประโยชน์ของความเป็นสมณะและแสดงธรรมสั่งสอน แต่สาวก ไม่ตั้งใจฟังคําสอน พากันเลี่ยงหนี
ศาสดาที่ไม่ควรติ
โลหิจจพราหมณ์กราบทูลถามว่า ศาสดาที่ไม่ควรติมีในโลกหรือไม่ ตรัสตอบว่า มี คือศาสดามี คุณสมบัติสมบูรณ์ในตัวเอง ทั้งมีสาวกที่ออกบวชแล้วตั้งอยู่ในศีล ได้บรรลุฌานที่ ๑ ถึง ๔ และได้วิชชา ๘ ประการ (ตามที่กล่าวแล้วในสามัญญผลสูตร) ศาสดาประเภทนี้ไม่ควรถูกติ (เพราะสั่งสอนได้ผลสมบูรณ์ คือ ตนเองก็ได้บรรลุคุณธรรม สาวกก็ได้บรรลุคุณธรรม)
โลหิจจพราหมณ์กราบทูลสรรเสริญพระธรรมเทศนา แสดงตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ตลอดชีวิต



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น