Translate

วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2561

พระสุตตันตปิฎก-ปาฏิกสูตร




       
         พระไตรปิฎก-พระสุตตันตปิฎก-ปาฏิกสูตร
                 ปาฏิกสูตร อยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่11 ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เป็นพระสูตรขนาดยาว


๑.ปาฎิกสูตร

     สูตรว่าด้วยชีเปลือยบุตรแห่งปาฏิกะ (ช่างทําถาด)



*********************************************************************************






                พระผู้มีพระภาคประทับ ณ นิคมชื่ออนุปปิยะ แคว้นมัลละ เช้าวันหนึ่งเสด็จออกบิณฑบาต แต่ยังเช้าอยู่ จึงเสด็จแวะไปยังอารามของภัคควโคตรปริพพาชก ตรัสสนทนากับภัคควโคตรปริพพาชก ผู้ทูลถาม เรื่องบุตรลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะ ผู้เข้ามาบวชแล้วสึกไป โดยให้เหตุผลว่า :

                ๑. ตนจะไม่อยู่อุทิศพระผู้มีพระภาคต่อไป.
                ๒. เพราะพระผู้มีพระภาคไม่ทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ให้ดู
             ๓. เพราะไม่ทรงบัญญัติสิ่งที่เป็นเลิศ (ไม่ชี้สิ่งประเสริฐสุด หรือสิ่งที่เป็นต้นเดิมของสิ่งทั้งหลายว่าได้แก่อะไร)

               ซึ่งพระผู้มีพระภาคได้ตรัสเล่าว่า

           ในข้อ ๑ พระองค์ได้ตรัสถามเขาว่าพระองค์ได้เคยขอร้องให้เขามาอยู่อุทิศพระองค์หรือว่าเขาเคยเข้ามากราบทูลว่า จะอยู่อุทิศพระองค์บ้างหรือเปล่า เขาตอบว่า เปล่า.เมื่อเป็นเรื่องเปล่าจึงมิใช่เรื่องที่ใครจะบอกเลิกใคร.

         ในข้อ ๒ ตรัสถามเขาว่า พระองค์เคยตรัสหรือไม่ว่าจงมาอยู่อุทิศพระองค์เถิด แล้วพระองค์จะทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ให้ดู ก็ตอบว่า เปล่า, ตรัสถามต่อไปว่า ถ้าแสดงฤทธิ์ให้ดูหรือไม่แสดงก็ตาม จะทําให้สิ้นทุกข์ได้หรือไม่ ตอบว่า ไม่ทําให้สิ้นทุกข์ได้ จึงตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น การแสดงฤทธิ์จะทําอะไรได้

         ในข้อ ๓ ตรัสถามเขาว่า พระองค์เคยตรัสหรือไม่ว่าจงมาอยู่อุทิศพระองค์เถิด แล้วพระองค์จะทรงบัญญัติสิ่งที่เลิศแก่เขา เขาตอบว่า เปล่า ตรัสถามต่อไปว่า จะบัญญัติสิ่งที่เลิศหรือไม่ก็ตาม จะทําให้สิ้นทุกข์ได้ หรือไม่ ตอบว่า ไม่ทําให้สิ้นทุกข์ได้ จึงตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น การบัญญัติสิ่งที่เลิศจะทําอะไรได้ อนึ่ง ได้ตรัส (เป็นเชิงทบทวนความทรงจํา) ว่า สุนักขัตตะเคยกล่าวพรรณนาคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ไว้ เป็นอเนกประการในวัชชีคาม.

เรื่องชีเปลือยชื่อโกรักขัตติยะ

                ตรัสเล่าต่อไปว่า เคยตรัสแก่สุนักขัตตลิจฉวีบุตร ถึงชีเปลือยชื่อโกรักขัตติยะ ผู้ประพฤติวัตรดังลูก สุนัข คือลงคลาน ๔ เท้า กินอาหารที่ตกอยู่บนพื้นดิน ด้วยใช้ปากงับ (ไม่ใช้มือหยิบเข้าปาก) ว่าจะตายด้วยโรค ท้องอึดในวันที่ ๗ แล้วถูกนําไปทิ้งในป่าช้า ซึ่งมีกอหญ้าคมบาง สุนักขัตตลิจฉวีจึงไปหาชีเปลือยชื่อโกรักขัตติยะ เล่าคําของเราให้ฟัง แล้วแนะให้บริโภคอาหารพอประมาณ ดื่มน้ำพอประมาณ เพื่อจะให้ถ้อยคําของเรา คลาดเคลื่อน ครั้นในวันที่ ๗ ชีเปลือยนั้นก็ตายและถูกนําไปทิ้งไว้ในป่าช้า ซึ่งมีกอหญ้าคมบาง เราจึงย้อนถาม สุนักขัตตลิจฉวีว่า ที่เป็นอย่างนี้ ชื่อว่าเราแสดงอิทธิปาฏิหาริย์แล้วหรือยัง สุนักขัตตลิจฉวีก็รับว่าแสดงแล้ว

เรื่องชีเปลือยชื่อกฬารมัชฌกะ

        ตรัสเล่าถึงซีเปลือยชื่อกพารมัชฌกะผู้เลิศด้วยลาภยศอาศัยอยู่ในวัชชีคามใกล้กรุงเวสาลี เป็นผู้ถือข้อปฏิบัติ ๗ ประการคือ

            ๑เปลือยกาย 
            ๒ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่เสพเมถุนธรรม 
            ๓ดื่มสุราและกินเนื้อสัตว์ตลอดชีวิตไม่กินข้าวสุกขนมสด 
            ๔ไม่ล่วงเกินอุเทนเจดีย์ ซึ่งตั้งอยู่ทิศบูรพา (ตะวันออก
            ๕ไม่ล่วงเกินโคตมกเจดีย์ ซึ่งตั้งอยู่ทิศทักษิณ (ใต้
            ๖ไม่ล่วงเกินสัตตัมพเจดีย์ ซึ่งตั้งอยู่ทิศประจิม (ตะวันตก
            ๗ไม่ล่วงเกินพหุปุตตกเจดีย์ ซึ่งตั้งอยู่ทิศอุดร (เหนือของกรุงเวสาลี 

   เราเคยกล่าวกะสุนักขัตตลิจฉวีว่ากฬารมัชฌกะจะนุ่งผ้ามีภริยากินข้าวสุกขนมสด (เพิ่มขึ้นจากสุราและเนื้อสัตว์ล่วงเกินเจดีย์ ทั้งปวงในกรุงเวสาลี เสื่อมจากยศและตายเหตุการณ์ก็เป็นจริงดั่งที่เรากล่าวเราจึงถามสุนักขัตตลิจฉวีว่าที่เป็นอย่างนี้ ชื่อว่าเราแสดงอิทธิปาฏิหาริย์แล้วหรือยังสุนักขัตตลิจฉวีก็รับว่าแสดงแล้ว.

เรื่องชีเปลือยชื่อปาฏิกบุตร

                ตรัสเล่าถึงชีเปลือยชื่อปาฏิกบุตรผู้เลิศด้วยลาภยศอาศัยอยู่ในวัชชีคามใกล้กรุงเวสาลีซีเปลือยผู้นี่เปล่งวาจาในท่ามกลางบริษัทว่าพระสมณโคดมเป็นญาณวาทะ (ผู้กล่าวรับรองญาณความรู้ตนก็เป็นญาณ-วาทะควรจะแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ด้วยกันได้พระสมณโคดมมาครึ่งทางตนจะไปครึ่งทางพระสมณโคดมแสดงอิทธิปาฏิหาริย์กี่อย่างตนก็จะแสดงเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณเมื่อสุนักขัตตลิจฉวีมาเล่าให้ฟังเราจึงกล่าวชีเปลือยชื่อปาฏิกบุตรไม่ละทิ้งถ้อยคํานั้นความคิดนั้นไม่สละความเห็นนั้นก็ไม่ควรมาอยู่ต่อหน้าเราถ้าขืนมาศีรษะก็จะแตกสุนักขัตตลิจฉวีขอให้เรารักษาถ้อยคําที่เราพูดไว้ เราจึงให้สุนักขัตตลิจฉวีไปบอกแก่ชีเปลือยชื่อปาฏิกบุตรเช้าวันรุ่งขึ้นเมือกลับจากบิณฑบาตในกรุงเวสาลี เราจึงเข้าไปพักกลางวันในอารามของชีเปลือยชือปาฏิกบุตรสุนักขัตตลิจฉวีก็รีบเทียวไปบอกพวกกษัตริย์ลิจฉวี รวมทั้งพราหมณมหาศาลคฤหบดีมหาศาลและสมณพราหมณ์ เจ้าลัทธิต่างๆให้รีบไปดูการแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ระหว่างเรากับซีเปลือย

                เมื่อชีเปลือยชื่อปาฏิกบุตรทราบว่ามีคนมาประชุมเพื่อจะคอยตู ก็ตกใจกลัว จึงเดินทางไปยังอาราม ของปริพพาชกชื่อติณฑกขานุ (ตอไม้มะพลับพวกบริษัทก็ไปตาม พูดขอร้องให้ไปแสดงตัว ชีเปลือยผู้นั้นก็พูดว่าจะไปแต่กระเสือกกระสนอยู่ในที่นั้นลุกขึ้นไม่ได้มหาอํามาตย์ของเจ้าลิจฉวีไปตามเขาก็พูดอย่างนั้นแต่ลุกขึ้นไม่ได้ชาลิยะศิษย์ของปริพพาชกผู้ใช้บาตรไม้ จึงไปตามและพูดว่าอย่างเจ็บๆแต่ก็ไม่ สําเร็จชีเปลือยไม่ยอมไปแสดงตัวเราจึงแสดงธรรมแก่บริษัททีไปประชุมนั้นแล้วกลับทีพักและเราได้ถามสุนักขัตตลิจฉวีว่าทีเป็นอย่างนี้ ซื่อว่าเราแสตงอิทธิปาฏิหาริย์แล้วหรือยังสุนักขัตตลิจฉวีก็รับว่าแสดงแล้ว,

                ตรัสต่อไปว่า “เรารู้จักสิงที่เลิศรู้จักสิ่งที่เลิศยิ่งขึ้นไปกว่านั้นแต่รู้แล้วก็ไม่ยึดถือเมื่อไม่ยึดถือกรู้แจ้งนิพพานเฉพาะตนเมื่อรู้จึงไม่ประสบความเสื่อมต่อไปนี้ :

     ๑สมณพราหมณ์บางพวกบัญญัติสิ่งที่เลิศอันเป็นคําสอนของอาจารย์ คือเรื่องที่พระอิศวร สร้าง (อิสสรกุตตะพระพรหมสร้าง (พรหมกุตตะคือเมื่อโลกหมุนเวียนเปลี่ยนไป บางครั้งพรหมวิมานว่าง ไม่มีใคร ผู้ที่ไปเกิดในที่นั้นคนแรกก็นึกว่าตนเป็นมหาพรหมผู้ยิ่งใหญ่ ผู้ไปเกิดทีหลังก็นึกว่าตนเป็นผู้ที่มหาพรหมสร้างขึ้น ต่อมาพวกเหล่านั้นมาเกิดในโลกนี้ ออกบวชบําเพ็ญเพียร ระลึกชาติได้ ก็เอาความเข้าใจสมัยที่ เกิดในพรหมโลกนั้นมากล่าวว่า มีผู้สร้างและผู้ถูกสร้าง

                ๒.สมณพราหมณ์บางพวกบัญญัติสิ่งที่เลิศอันเป็นคําสอนของอาจารย์เกี่ยวกับเทพพวกชิฑฑาปโทสิกะ(ผู้เสียหายหรือมีโทษเพราะการเล่นคือเมื่อมาออกบวชบําเพ็ญเพียร ระลึกชาติได้ว่า ตนเคยเป็นเทพ พวกขิฑฑาปโทสิกะ ต้องจุติ คือพ้นฐานะเดิม เพราะการเล่นสนุกสนาน จึงเห็นว่าเทวดาพวกอื่นเที่ยง พวกขิฑฑาปโทสิกะไม่เที่ยง

                ๓.สมณพราหมณ์บางพวกบัญญัติสิ่งที่เลิศอันเป็นคําสอนของอาจารย์เกี่ยวกับเทพพวกมโนปโทสิกะ (ผู้เสียหายหรือมีโทษ เพราะคิดร้ายผู้อื่นคือเมื่อมาออกบวชบําเพ็ญเพียร ระลึกชาติได้ว่า ตนเคยเป็นเทพพวก มโนปโทสิกะ ต้องจุติ คือพ้นฐานะเดิม เพราะคิดร้ายผู้อื่น จึงเห็นว่าเทวดาพวกอื่นเที่ยง พวกมโนปโทสิกะไม่เที่ยง

                ๔สมณพราหมณ์บางพวกบัญญัติสิ่งที่เลิศอันเป็นคําสอนของอาจารย์เกี่ยวกับการมีเป็นขึ้นเองโดยไม่มีเหตุ (อธิจจสมุปปันนะคือเมื่อมาออกบวชบําเพ็ญเพียร ระลึกชาติได้ว่า ตนเคยมีสัญญาเกิดขึ้น ขณะเป็นอสัญญีสัตว์ ไม่มีสัญญาพอเกิดสัญญาขึ้นก็จุติ จึงระลึกได้ สิ้นสุดลงเพียงเมื่อจะจุติเท่านั้นย้อนหลังไปกว่านั้นไม่เห็นมีอะไร จึงเห็นว่าสิงต่าง ๆ มีขึ้นเองโดยไม่มีเหตุ

                 (ข้อบัญญติทั้งสิ้นเป็นทิฏฐิความเห็นที่มีมูลฐานมาจากความรู้เพียงเปลาะใดเปลาะหนึ่งไม่รู้ตลอดสายทําให้เข้าใจผิด). ครั้นแล้วตรัสเรื่องสุภวิโมกข์ (ซึ่งอรรถกถาอธิบายว่า การบําเพ็ญกสิณ คือการเพ่งรูปนิมิต แบบใช้สี เป็นอารมณ์เมื่อจบพระพุทธดํารัส ภัคควโคตรปริพพาซกชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาค.
               (หมายเหตุเป็นอันทรงตอบข้อกล่าวหาของสุนักขัตตลิจฉวี ที่ว่าไม่ทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ และ ไม่แสดงสิงที่เลิศ หรือสิ่งที่เป็นต้นเดิมของสิ่งทั้งหลายว่าได้ทรงแสดงแล้วอย่างไร).










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น