Translate

วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2561

พระสุตตันตปิฎก-สักกปัญหสูตร





      พระไตรปิฎก-พระสุตตันตปิฎก-สักกปัญหสูตร
        สักกปัญหสูตร อยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่10 ทีฆนิกายมหาวัคค์เป็นที่รวมแห่งพระสูตรขนาดยาว


. สักกปัญหสูตร
        สูตรว่าด้วยปัญหาของท้าวสักกะ 


**********************************************************************************





พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ถ้ำอินทสาละ ใกล้เวทยิกบรรพต ทางทิศเหนือของหมู่บ้านพราหมณ์ ชื่ออัมพสณฑ์ ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ


                ท้าวสักกะใคร่จะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค จึงเรียกปัญจสิขะบุตรคนธรรพ์มา ชวนให้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคด้วยกัน ปัญจสิขะถือพิณมีสีเหลืองเหมือนผลมะตูมไปด้วย เมื่อไปถึงที่ประทับแล้ว ท้าวสักกะจึงให้ ปัญจสิขะบุตรคนธรรพ์หาทางทําความพอพระทัยให้พระผู้มีพระภาคก่อนที่จะได้เข้าเฝ้า.

                ปัญจสิขะบุตรคนธรรพ์ถือพิณเข้าไปยืน ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ไม่ไกลหรือใกล้เกินไป ดีดพิณ กล่าว คาถาเกี่ยวด้วยพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระอรหันต์ และกาม.

                พระผู้มีพระภาคตรัสชมแก่ปัญจสิขะบุตรคนธรรพ์ว่า เสียงพิณกับเสียงเพลงขับเข้ากันดี แล้วตรัส ถามว่า คาถาอันเกี่ยวด้วยพระพุทธ เป็นต้นนี้ แต่งไว้แต่ครั้งไร ปัญจสิขะกราบทูลว่า ตั้งแต่ครั้งพระผู้มีพระภาคตรัสรู้ใหม่ ๆ ประทับที่ต้นอชปาลนิโครธ ใกล้ฝั่งน้ำเนรัญชรา.

                ครั้นได้โอกาส ท้าวสักกะพร้อมด้วยบริวารก็เข้าไปเฝ้า เมื่อได้ตรัสสัมโมทียกถาพอสมควรแล้ว พระผู้มีพระภาคก็ทรงเปิดโอกาสให้ท้าวสักกะกราบทูลถามปัญหาได้ ต่อไปนี้เป็นคําถามและพระพุทธดํารัสตอบ

                ๑. ถาม : เทวา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ และหมู่สัตว์เป็นอันมากอื่น ๆ ถูกอะไรผูกมัด แม้ตั้งใจว่าจะไม่จองเวร ไม่ใช้อาชญา ไม่มีศัตรู ไม่เบียดเบียน อยู่อย่างไม่มีเวร แต่ก็ต้องจองเวร ใช้อาชญา มีศัตรู เบียดเบียน และอยู่อย่างมีเวร.
                ตอบ : มีความริษยาและความตระหนี่เป็นเครื่องผูกมัด

                ๒.ถาม : ความริษยาและความตระหนี่เกิดจากอะไร.
                ตอบ : เกิดจากสิ่งเป็นที่รักและสิ่งอันไม่เป็นที่รัก เมื่อไม่มีสิ่งเป็นที่รักและไม่เป็นที่รักก็ไม่มี ความริษยาและความตระหนี่

                ๓. ถาม : สิ่งเป็นที่รักและไม่เป็นที่รักเกิดจากอะไร.
                ตอบ : เกิดจากความพอใจ เมื่อไม่มีความพอใจ ก็ไม่มีสิ่งที่เป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก

                . ถาม : ความพอใจเกิดจากอะไร.
                ตอบ : เกิดจากความตรึก (วิตก) เมื่อไม่มีความตรึก ก็ไม่มีความพอใจ.
(ความพอใจ แปลจากคําว่า ฉันทะ อรรถกถาอธิบายว่า ฉันทะมี ๕ ประการ คือ ๑ปริเยสนฉันทะ ความพอใจในการแสวงหา ๒ปฏิลาภฉันทะ ความพอใจในการได้มา ๓ปริโภคฉันทะ ความพอใจในการ บริโภค หรือใช้สอย๔สันนิธิฉันทะ ความพอใจในการสะสม ๕วิสัชชนฉันทะ ความพอใจในการสละ)

                ๕.ถาม ความตรึกเกิดจากอะไร.
                ตอบเกิดจากปปัญจสัญญาสังขานิทาน คือส่วนแห่งความกําหนดหมายกิเลส (ตัณหา ความทะยานอยากมานะ ความถือตัวทิฏฐิ ความเห็นเป็นเหตุให้เนิ่นช้า.

                .ถาม ภิกษุปฏิบัติอย่างไร จึงชื่อว่าปฏิบัติข้อปฏิบัติที่สมควร ที่ให้ถึงความดับส่วนแห่งความกําหนดหมายกิเลสเป็นเหตุให้เนิ่นช้า.
                ตอบโสมนัส (ความดีใจโทมนัส (ความเสียใจอุเบกขา (ความวางเฉยมีอยู่ ๒ อย่าง อย่างหนึ่งควรส้องเสพ อีกอย่างหนึ่งไม่ควรส้องเสพ คือเมื่อส้องเสพโสมนัส เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง กุศลธรรมเสื่อมไป อกุศลธรรมเจริญขึ้น สิ่งนั้นก็ไม่ควรส้องเสพ ถ้าอกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญขึ้น สิ่งนั้นก็ควรสัองเสพ ธรรมที่ควรสัองเสพนั้น คือที่มีวิตก (ความตรึกมีวิจาร (ความตรอง) ; ที่ไม่มีวิตก วิจาร ที่ไม่มีวิตก วิจาร แต่ประณีตขึ้นไปกว่า (หมายถึงโสมนัส เป็นต้น อันเกิดเพราะเนกขัมมะบ้าง เพราะวิปัสสนาบ้าง เพราะอนุสสติบ้าง เพราะปฐมฌาน เป็นต้นบ้าง-อรรถกถา). ภิกษุปฏิบัติอย่างนี้ชื่อว่าปฏิบัติข้อปฏิบัติที่สมควร ทีให้ถึงความดับส่วนแห่งความกําหนดหมายกิเลสเป็นเหตุให้เนิ่นช้า.

                ถาม ภิกษุปฏิบัติอย่างไร จึงชื่อว่าปฏิบัติเพื่อสํารวมปาฏิโมกข์ (ศีลที่เป็นใหญ่เป็นประธาน)
                ตอบความประพฤติทางกาย (กายสมาจารความประพฤติทางวาจา (วจีสมาจารและการ แสวงหา (ปริเยสนาอย่างหนึ่งควรส้องเสพ อีกอย่างหนึ่งไม่ควรส้องเสพ คือเมื่อส้องเสพความประพฤติทางกายเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งกุศลธรรมเสื่อมไปอกุศลธรรมเจริญขึ้นสิ่งนั้นก็ไม่ควรส้องเสพ:ถ้าอกุศลธรรมเสื่อมไปกุศลธรรมเจริญขึ้นสิ่งนั้นก็ควรส้องเสพภิกษุผู้ปฏิบัติอย่างนี้ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อสํารวมปาฏิโมกข์.

                ๘ถาม : ภิกษุปฏิบัติอย่างไรจึงชื่อว่าปฏิบัติเพื่อสํารวมอินทรีย์ (คือตาหู จมูกลิ่นกายใจ).
                ตอบอารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางตาหู จมูกลิ้นกายใจนั้นมี ๒ อย่างอย่างหนึ่งควรส้องเสพอีกอย่างหนึ่งไม่ควรส้องเสพ. (พอตรัสถึงเพียงนี้ ท้าวสักกะก็กราบทูลว่าเข้าใจความหมายว่าที่ไม่ควรส้องเสพและควรส้องเสพนั้นกําหนดด้วยเมื่อส้องเสพแล้วอกุศลธรรมหรือกุศลธรรมจะเจริญกันแน่).

                ๙ถาม สมณพราหมณ์ทั้งปวง มีวาทะ มีศีล มีฉันทะ มีจุดหมายปลายทาง อย่างเดียวกัน ใช่หรือไม่.
                ตอบไม่ใช่ เพราะโลกมีธาตุเป็นอเนก มีธาตุต่าง ๆ กัน สัตว์ยึดถือธาตุอันใด ก็กล่าวเพราะความยึดถือธาตุนั้นว่านี้แลจริงอย่างอื่นเป็นโมฆะ.

                ๑๐ถาม : สมณพราหมณ์ทั้งปวงมีความสําเร็จมีความปลอดโปร่งจากกิเสสเครื่องยึด (โยคักเขมีเป็นพรหมจารี มีที่สุดล่วงส่วนใช่หรือไม่ (คําว่าล่วงส่วนหมายความว่าเด็ดขาดไม่กลับกําเริบให้รอแปรปรวนอีก).
                ตอบ ไม่ใช่ จะมีความสําเร็จ เป็นต้น ล่วงส่วน ก็เฉพาะผู้ที่พ้นแล้วจากตัณหา (ความทะยานอยากเท่านั้น.
ท้าวสักกะจึงกราบทูลว่าตัณหาอันทําให้หวั่นไหวเป็นโรคเป็นหัวฝี เป็นลูกศรย่อมฉุดคร่าบุรุษเพื่อให้เกิดในภพนั้นถึงความสูงบ้างครั้นแล้วได้แสดงความพอใจที่พระผู้มีพระภาคทรงตอบ

                ปัญหาแก้ความสงสัยได้ เท่าที่เคยไปถามสมณพราหมณ์เหล่าอื่น แทนที่จะตอบ กลับมาย้อนถามว่า เป็นใคร ครั้นรู้ว่าเป็นท้าวสักกะ ก็กลับถามปัญหายิ่ง ๆ ขึ้นว่า ทํากรรมอะไรไว้จึงเกิดเป็นท้าวสักกะ ท้าวสักกะก็ตอบไป ตามที่ได้ฟัง ที่เล่าเรียนมา สมณพราหมณ์เหล่านั้น ก็อิ่มเอิบใจ ว่าได้เห็นท้าวสักกะ ได้ถามปัญหา และ ท้าวสักกะได้ตอบแก่เรา กลายมาเป็นสาวกของข้าพระองค์ไป.

                ครั้นแล้วได้กล่าววาจาสุภาษิตอีกหลายประการ ในที่สุดได้เอามือลูบแผ่นดิน แล้วเปล่งอุทานว่า นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมุพุทฺธสฺส รวม ๓ครั้ง


                หมายเหตุ พระสูตรนี้ มีท่วงทํานอง จะแก้ความเคารพบูชาเทวดาสําคัญ ๆ เช่น พระอินทร์ หรือท้าวสักกะของบุคคลส่วนใหญ่ โดยชี้ให้เห็นว่าในพระพุทธศาสนา เทวดาเหล่านั้น ยังต่ำกว่าพระพุทธเจ้า ผู้มีพระปัญญาตรัสรู้ เท่ากับเป็นหลักการอันหนึ่งที่แสดงว่า ท่านผู้เป็นพุทธะ เป็นผู้ตรัสรู้หมดกิเลส มีความ บริสุทธิ์สะอาดสูงกว่าเทวดาทั้งปวง









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น