Translate

วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2561

พระสุตตันตปิฎก - มหาสีหนาทสูตร

                 พระไตรปิฎก - พระสุตตันตปิฎก -มหาสีหนาทสูตร                            
          มหาสีหนาทสูตรอ ยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ ทีฆนิกาย สีลขันธวัคค์ เป็นสุตตันตปิฎก

                                                          .มหาสีหนาทสูตร
                                         สูตรว่าด้วยการบรรลือสีหนาท

**********************************************************************************


๘.มหาสีหนาทสูตร
สูตรว่าด้วยการบันลือสีหนาท

                พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ป่าที่ให้อภัยแก่เนื้อ ชื่อกัณณกถละ ใกล้เมืองอุชุญญา นักบวชชีเปลือย ชื่อกัสสปได้เข้าไปเฝ้า กราบทูลถามว่า ได้ยินเข้าพูดกันว่า พระสมณโคดมทรงติการบำเพ็ญตบะทุกชนิดทรงกล่าวโทษผู้บำเพ็ญตบะ มีชีวิตอยู่อย่างปอน ๆ ใช่หรือไม่
                พระผู้มีพระภาคตรัสตอบปฎิเสธ และทรงชี้แจงตามที่ทรงเห็นด้วยทิพยจักษุว่า ผู้บำเพ็ญตบะมีชีวิตอยู่อย่างปอน ๆ บ้าง อยู่อย่างมีทุกข์น้อยบ้าง บางพวกตายไปแล้วเกิดในนรกก็มี บางพวกตายไปแล้วเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ก็มี เมื่อทรงรู้เห็นตามเป็นจริงอย่างนี้ จะตรัสติการบำเพ็ญตบะทุกชนิด และกล่าวโทษผู้บำเพ็ญตบะที่มีชีวิตอยู่อย่างปอน ๆ ทำไมกัน
                แล้วตรัสว่า สมณพราหมณ์บางคนที่เป็นบัณฑิตละเอียดอ่อน แตกฉานด้วยปัญญา ย่อมกล่าวตรงกันกับพระองค์ในบางฐานะ ไม่ตรงกันในบางฐานะ ๑.บางข้อที่สมณพราหมณ์เหล่านั้นกล่าวว่าดี เรากล่าวว่าดี บางข้อที่สมณพราหมณ์เหล่านั้นกล่าวว่าไม่ดี เรากล่าวว่าไม่ดีก็มี ๒. บางข้อที่สมณพราหมณ์เหล่านั้นกล่าวว่าดี เรากล่าวว่าไม่ดี บางข้อที่สมณพราหมณ์เหล่านั้นกล่าวว่าไม่ดี เรากล่าวว่าดีก็มี ๓. บางข้อที่เรากล่าวว่าดี พวกอื่นกล่าวว่าดี บางข้อที่เรากล่าวว่าไม่ดี พวกอื่นกล่าวว่าไม่ดีก็มี ๔.บางข้อเรากล่าวว่าดีพวกอื่นกล่าวว่าไม่ดี บางข้อเรากล่าวว่าไม่ดี พวกอื่นกล่าวว่าดีก็มี เราเคยเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้นแล้วกล่าวว่า ในฐานะที่กล่าวไม่ตรงกัน จงยกไว้ แต่ในข้อใดที่กล่าวตรงกัน ขอให้วิญญชนสอบสวนเปรียบเทียบระหว่างศาสดากับศาสดา สงฆ์กับสงฆ์ดูเถิดว่า ธรรมเหล่าใดที่เป็นอกุศล มีโทษ ไม่ควรส้องเสพไม่ควรแก่อริยบุคคล เป็นธรรมฝ่ายดำ ใครเล่าละธรรมเหล่านี้ไม่ให้มีเหลือมากกว่ากัน พระสมณโคดมหรือคณาจารย์เหล่าอื่น? มีฐานะอยู่ที่วิญญชนสอบสวนแล้ว ก็สรรเสริญเรา (พระผู้มีพระภาค)ในข้อนั้นโดยมากแม้ธรรมที่เป็นกุศล ที่ว่าใครจะประพฤติมากกว่า ก็สรรเสริญเรา (พระผู้มีพระภาค) ในข้อนั้นโดยมากแม้ในธรรมที่เป็นกุศล ที่ว่าใครจะประพฤติปฎิบัติมากกว่ากัน ก็เป็นเช่นนั้น แม้ระหว่างสาวกกับสาวก ในส่วนที่เกี่ยวกับละอกุศล ประพฤติกุศล ก็เป็นเช่นนั้น คือวิญญชนย่อมสรรเสริญสาวกของเราโดยมาก   แล้วทรงแสดงมรรคมีองค์ ๘ ว่าเป็นข้อประพฤติปฎิบัติที่จะทำให้รู้เองเห็นเอง”
                ชีเปลือยชื่อกัสสปกราบทูบถึงข้อวัตรปฎิบัติต่างๆ ของสมณพราหมณ์เหล่านั้น ที่จัดเป็นความเป็นสมณะ ความเป็นผู้ประเสริฐ   เช่น  การเปลือยกาย ยืนถ่ายอุจจาระปัสสาวะ และกินอาหารเลียมือที่เลอะอาหาร (แทนการล้าง) เป็นต้น
                พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ผู้ประพฤติเช่นนั้น ถ้าไม่เจริญ ไม่ทำให้แจ้งซึ่งความสมบูรณ์ด้วยศีลความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ และความสมบูรณ์ด้วยปัญญา ก็ชื่อว่าไกลจากความเป็นสมณะ ไกลจากความเป็นผู้ประเสริฐ. ต่อเมือเจริญเมตตาจิต อันไม่มีเวร ไม่มีความพยาบาท และทำให้แจ้งเจโตวิมุต (ความหลุดพ้นเพราะสมาธิ) และปัญญาวิมุติ(ความหลุดพ้นเพราะปัญญา) อันปราศจากอาสวะได้ในปัจจุบัน นับเป็นสมณะเป็นพราหมณ์ได้
                ชีเปลือยชื่อกัสสปกล่าวต่อไปว่า การประพฤติตบะ (แบบเปลือยกาย เป็นต้น) นั้น เป็นความเป็นสมณะ ความเป็นผู้ประเสริฐที่ทำได้ยาก พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า เป็นปกติหรือธรรมในโลกที่ทำได้ยาก. พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า เป็นปกติหรือธรรมดาในโลกที่ทำได้ยากแต่การทำแบบนั้น คฤหบดี บุตรแห่งคฤหบดี หรือแม้นางกุมภทาสี (นางทาสที่แบกหม้อน้ำ) ก็ทำได้ส่วนการเจริญเมตตาจิต อันไม่มีแวร ไม่มีพยาบาท และทำให้แจ้งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันปราศจากอาสวะได้ในปัจจุบัน เป็นความเป็นสมณะ และความเป็นผู้ประเสริฐที่ทำได้ยากกว่า
                ชีเปลือยชื่อกัสสปกล่าวต่อไปว่า สมณะและพราหมณ์เป็นผู้ที่รู้ได้ยาก พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า เป็นปกติหรือธรรมดาในโลก ที่สมณะและพราหมณ์เป็นผู้รู้ได้ยาก แต่การเจริฐเมตตาจิตแบบที่กล่าว และทำให้แจ้งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันปราศจากจากอาสวะ รู้ได้ยากยิ่งกว่าการบำเพ็ญตบะแบบเปลือยกาย เป็นต้น
                เมื่อชีเปลือยชื่อกัสสปกราบทูบถามถึงความสมบูรณ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ว่าเป็นอย่างไร ก็ตรัสอธิบายถึงศีล ๓ ชั้น ฌาน ๔ และวิชชา ๘ (อย่างที่ตรัสในสามัญญผลสูตร) ว่าเป็นความถึงพร้อมด้วยศีล สมาธิ ปัญญา โดยลำดับ
๑. เป็นระดำรัสที่แน่ใจในความประพฤติปฎิบิตที่ว่า ถ้าสอบสวนกันจริง ๆ ว่าจะปฎิบัติตามที่พูดหรือไม่ พระองค์ทรงท้าให้สอบสวนทีเดียว
๒. อรรถกถาแก้ว่า จัดเป็นกรรม คือการกระทำของสมณะ ของพราหมณ์
                ครั้นแล้วตรัสสรูปให้เห็นว่า พระองค์กล้าบันลือสีหนาทในท่ามกลางบริษัท กล้าตอบปัญหา และทำให้ผู้เลื่อใสปฎิบัติตามได้ (เพราะทรงประพฤติปฎิบัติได้ผลมาเองในเรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา ข้างบนนั้น)

                ชีเปลือยชื่อนชมธรรมภาษิตของพระผู้มีพระภาค และขอบวช เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า จะต้องอบรมก่อน ๔ เดือนในฐานะที่เป็นเดียรถีย์มาก่อน ก็กลับตอบว่า แม้จะอบรมถึง ๔ ปี ก็จะยอม ในที่สุดเมื่อบวชแล้วไม่นาน ก็ได้บรรลุอรหัตตผล





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น