Translate

วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2561

พระสุตตันตปิฎก -โปฎฐปาทสูตร




                       พระไตรปิฎก - พระสุตตันตปิฎก -โปฎฐปาทสูตร

  โปฎฐปาทสูตร อยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ ทีฆนิกาย สีลขันธวัคค์ เป็นสุตตันตปิฎก



                                                                    ๙.โปฎฐปาทสูตร

                                                     สูตรว่าด้วยการโต้ตอบกับโปฎฐปาทปริพพาชก


********************************************************************************************


พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ใกล้กรุงสาวัตถี เช้าวันหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จสู่กรุงสาวัถีเพื่อบิณฑบาต ทรงเห็นว่า ยังเช้านัก จึงเสด็จแวะไปที่มัลลิการาม อันเป็นที่อยู่ของโปฎฐปาทปริพพาชก พร้อมด้วยบริษัทปริพพาชกประมาณ ๓,๐๐๐ คน โปฎฐปาทปริพพาชกได้กล่าวต้อนรับและนิมนต์ให้นั่งบนอาสนะ ตนเองนั่งเหนืออาสนะที่ต่ำกว่า                ครั้นแล้วโปฏฐปาทปริพพาชกได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับอภิสัญญานิโรธ (การดับความจำได้หมายรู้อันยิ่งใหญ่) ซึ่งเคยเป็นปัญหาถกเถียงกันในหมู่สมณพราหมณ์เจ้าลัทธิต่าง ๆ มาแล้ว รวม ๔ ประเด็น คือ     ๑.สมณพราหมณ์บางพวกเห็นว่า สัญญา (ความจำได้หมายรู้ ในที่นี้พึงสังเกตว่า ในสมัยนั้นบัญญัติเรียกสภาพที่ครองชีวิตร่างกายต่าง ๆ กัน เรียกว่า อัตตา ตัวตันบ้าง ชีวะ สภาพที่เป็นอยู่บ้าง สัตตะ สภาพที่มีที่เป็นบ้าง สัญญา ความจำได้หมายรู้หรือสภาพที่จำได้หมายรู้บ้าง) ของคน เกิดขึ้นบ้าง ดับไปบ้าง โดยไม่มีเหตุปัจจัย เมื่อเกิดขึ้นคนก็มีสัญญา เมื่อดับไปคนก็ไม่มีสัญญา                ๒.พวกอื่นกล่าวคัดค้านว่าไม่เป็นเช่นนั้น สัญญานั่นแหละเป็นอัตตตัวตนของคน อัตตานั้นเข้ามาบ้าง ออกไปบ้าง เมื่อเข้ามาคนก็มีสัญญา เมื่อออกไปคนก็ไม่มีสัญญา                ๓.พวกอื่นคัดค้านว่าไม่เป็นเช่นนั้น ที่แท้มีสมณพราหมณ์ที่มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก สมณพราหมณ์เหล่านั้นนำเข้าได้ นำออกได้ซึ่งสัญญาของคน เมื่อนำเข้าคนก็มีสัญญา เมื่อนำออกคนก็ไม่มีสัญญา                ๔.พวกอื่นคัดค้านว่าไม่เป็นเช่นนั้น ที่แท้มีเทพผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก เทพเหล่านั้นนำเข้า นำออกได้ซึ่งสัญญาของคน เมื่อนำเข้าคนก็มีสัญญา เมื่อนำออกคนก็ไม่มีสัญญา                โปฏฐปาทปริพพาชกกล่าวต่อไปว่า (ระหว่าที่ฟังเขาโต้เถียงกันนั้น) ข้าพระองค์ระลึกถึงพระผู้มีพระภาคว่า เป็นผู้ฉลาดในธรรมเหล่านี้ เป็นผู้รู้ปกติของอภิสัญญานิโรธ อภิสัญญานิโรธเป็นอย่างไร?                พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า สมาณพราหมณ์ที่กล่าวว่าสัญญาของคนเกิดขึ้นดับไปโดยไม่มีเหตุปัจจัยนั้น นับว่ามีความผิดพลาดแต่เบื้อต้น เพราะสัญญาของคนเกิดขึ้นดับไปโดยมีเหตุปัจจัยคือ สัญญาอันหนึ่งย่อมเกิดขึ้นเพราะสิกขา (การศึกษา หรือสำเหนียก ทางพระพุทธศาสนาแบ่งออกเป็น ๓ คือ สีลสิกขา การศึกษาในศีล จิตตสิกขา การศึกษาในสมาธิ และปัญญาสิกขา การศึกษาในปัญญา) สัญญาอันหนึ่งย่อมดับไปเพราะสิกขา๑.พระสูตรนี้เห็นได้ว่า สาระสำคัญอยู่ที่ประพฤติปฎิบัติได้จริงอย่างพูด จึงทำให้พระผู้มีพระภาคทรงกล้าบันลือสีหนาด โดยท้าให้สอบสวนเปรียบเทียบด้วยซ้ำ                ๑. ครั้นแล้วตรัสพรรณนาถึงการที่กุลบุตรออกบ ตั้งอยู่ในศีล (๓ ชั้นตามที่กล่าวแล้วในสามัญญผลสูตร) บำเพ็ญสมาธิจนได้ฌานที่ ๑ เมื่อได้ฌานที่ ๑ แล้ว กามสัญญา (ความจำได้หมายรู้ในกามคืออารมณ์ที่น่าใคร่) ที่เคยมีก็ย่อมดับไป สัญญาอันละเอียดอันเป็นจริงในปีติ (ความอิ่มใจ) และสุขอันเกิดแต่ความสงัด ย่อมมีในสมัยนั้น นี้ คือสัญญาอันหนึ่งเกิดขึ้นเพราะสิกขา สัญญาอันหนึ่ง ย่อมดับไปเพราะสิกขา                ๒. ในฌานที่ ๒ สัญญาอันสุขุม อันเป็นสัจจ์ (อันละเอียดเป็นจริง) ในปีติ และสุข ย่อมดับไปสัญญาอันสุขุม อันเป็นสัจจ์ในปีติสุข อันเกิดแต่สมาธิ ย่อมมีในสมัยนั้น                ๓. ในฌานที่ ๓ สัญญาอันสุขุม อันเป็นสัจจ์ ในปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ ย่อมดับไป สัญญาอันสุขุม อันเป็นสัจจ์ในอุเบกขา (ความวางเฉย)และสุขย่อมมีในสมัยนั้น                ๔. ในฌานที่ ๔ สัญญาอันสุขุม อันเป็นสัจจ์ในอุเบกขา และสุข ย่อมดับไป สัญญาอันสุขุมอันเป็นสัจจ์ในความไม่ทุกข์ไม่สุข ย่อมมีในสมัยนั้น                ๕. ในอรูปฌานที่ ๑ (อากาสานัญจายตนะ) รูปสัญญา (ความจำได้หมายรู้ในรูป) ย่อมดับไป สัญญาอันสุขุม อันเป็นสัจจ์ในอากาสานัญจายตะ )อรูปฌานที่มีอากาศไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์) ย่อมมีในสมัยนั้น                ๖. ในอรูปฌานที่ ๒ (วิญญาฯญจายตนะ) สัญญาอันสุขุม อันเป็นสัจจ์ในอากาสานัญจายตนะย่อมดับไป สัญญอันสุขุม อันเป็นสัจจ์ในวิญญาณัญจายตนะ(อรูปฌานที่มีวิญญาณไม่สิ้นสุดเป็นอารมณ์) ย่อมมีในสมัยนั้น                ๗. ในอรูปฌานที่ ๓ (อากิญจัญญายตนะ)สัญญาอันสุขุม อันเป็นสัจจ์ในวิญญาณัญจายตนะ ย่อมดับไป สัญญอันสุขุม อันเป็นสัจจ์ในอากิญจัญญายตนะ (อรูปฌานที่มีความคิดว่าไม่มีอะแม้เล็กน้อยเป็นอารมณ์) ย่อมมีในสมัยนั้น                ๘. ภิกษุที่มีสัญญาของตน พ้นจากสัญญานั้น ๆ แล้วก็ถูกต้องสัญญาอันเลิศ (ขึ้นไป) โดยลำดับเมื่อตั้งอยู่ในสัญญอันเลิศแล้ว ก็คิดว่า การคิดไม่ดี ไม่คิดดีกว่า เพราะเมื่อคิดปรุงแต่ง สัญญอันเลิศก็จะดับไปสัญญาอันหยาบก็จะเกิดขึ้น เธอจึงไม่คิด ไม่ปรุงแต่ง เมื่อไม่คิด ไม่ปรุงแต่ง สัญญานั้น (หมายถึงสัญญาอันเลิศ ) ก็ดับไป สัญญาหยาบอันอื่นก็ไม่เกิดขึ้น เธอจึงชื่อว่าถูกต้อง (ได้บรรลุ) นิโรธ (ความดับ)                (หมายเหตุ : ข้อความเป็นลำดับมาแต่ข้อ ๑ ถึง ๘ แสดงการที่สัญญาอันหนึ่งดับไป สัญญาอันหนึ่งเกิดขึ้นแทน ดีขึ้นกว่าสัญญาเดิมเรื่อยๆ จนในที่สุด เมื่อเลิกคิด เลิกปรุงแต่ง สัญญาก็ดับไป เป็นอันตอบปัญหาของโปฏฐาปาทปริพพาชกที่อยากรู้ความดับอภิสัญญา คือสัญญาใหญ่ หมายถึงสัญญาชั้นสูง อย่างชัดเจนตามหลักวิชาปฎิบัติทางรูปฌาน และอรูปฌาน)                เมื่อตรัสอธิบายอย่างนี้แล้ว จึงตรัสถามโปฏฐปาทปริพพาชกว่า ท่านเคยได้ยินได้ฟังมาก่อนหรือไม่ถึงการเข้าสมาบัติ ทั้ง ๆ ที่มีความรู้ตัว ในการดับอภิสัญญาตามลำดับชนิดนี้ ซึ่งปริพพาชกตอบว่าไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน เพิ่งมาได้ทราบตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอย่างนี้ข้อซักถามเพิ่มเติม                โปฏฐปาทปริพพาชกกราบทูลถามเพิ่มเติม และพระผู้มีพระภาคตรัสตอบเป็นข้อ ๆ ดังต่อไปนี้ :
. ทูลถามว่า ทรงบัญญัติสัญญาอันเลิศ อันเดียวหรือมาก ตรัสตอบว่า บัญญัติทั้งอันเดียว ทั้ง มาก ตาม (ความจริง) ที่จะถูกต้อง (บรรลุ). ทูลถามว่า สัญญา (ความจําได้หมายรู้) เกิดก่อน ญาณ (ความรู้) เกิดทีหลัง หรือว่าญาณเกิดก่อน สัญญาเกิดทีหลัง หรือว่าสัญญา กับญาณเกิดพร้อมกัน ตรัสตอบว่า สัญญาเกิดก่อน ญาณเกิดทีหลัง. ทูลถามว่า สัญญาเป็นอัตตา (ตัวตน) ของคนหรือว่าสัญญากับอัตตาเป็นคนละอัน (ไม่ใช่อันเดียว กัน) ตรัสซักว่า อัตตาตามที่ท่านเข้าใจเป็นอย่างไร. ทูลตอบว่า อัตตาตามที่ตนเข้าใจ คือมีรูปประกอบ ด้วยธาตุ ๔ กินอาหารเป็นคํา ๆ ตรัสว่า อัตตาของท่านเป็นอัตตาอย่างหยาบ ถ้าเป็นเช่นนั้น สัญญาก็ เป็นอย่างหนึ่ง อัตตาก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง เพราะอัตตายังตั้งอยู่นั่นแหละ สัญญาอันหนึ่งเกิดขึ้น อีกอันหนึ่ง ดับไป (ในข้อนี้ปริพพาชกชี้อัตตาไปที่ร่างกาย จึงตรัสตอบตามที่เขาชี้ว่า ถ้าเป็นอย่างนั้น สัญญา กับอัตตาก็คน ละอัน).. ทูลต่อไปว่า ตนเข้าใจว่าสัญญาสําเร็จขึ้นจากใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ทั้งปวง มีอินทรีย์อันไม่ บกพร่อง ตรัสตอบว่า ถ้าอย่างนั้น สัญญาก็เป็นอย่างอื่น อัตตาก็เป็นอย่างอื่น เพราะอัตตาที่สําเร็จด้วยใจ ยังตั้งอยู่นั่นแหละ สัญญาอันหนึ่งเกิดขึ้น อีกอันหนึ่งก็ดับไป (ในข้อนี้ปริพพาชกพูดอธิบายเพิ่มเติม ลักษณะ ของอัตตาตามความเข้าใจของตนว่า อัตตาเกิดจากใจ).. ทูลต่อไปว่า ตนเข้าใจว่าอัตตาไม่มีรูป เป็นของเกิดแต่สัญญา ตรัสตอบว่า ถ้าอย่างนั้น สัญญาก็เป็นอย่างอื่น อัตตาก็เป็นอย่างอื่น เพราะอัตตาไม่มีรูป เป็นของเกิดแต่สัญญา ยังตั้งอยู่นั่นแหละ สัญญาอันหนึ่งเกิดขึ้น อีกอันหนึ่งก็ดับไป.. ทูลถามว่า ตน (ผู้ถาม) อาจหรือไม่ที่จะรู้ว่า สัญญาเป็นอัตตาของคน หรือว่าสัญญาเป็นอย่างอื่น อัตตาเป็นอย่างอื่น ตรัสตอบว่า โปฏฐปาทปริพพาชกมีความเห็นอย่างอื่น มีความชอบใจอย่างอื่น (คนละ ศาสนา) จึงยากที่จะรู้ได้. ทูลถามต่อไปตามแนวทิฏฐิ ๑๐ ที่เกี่ยวด้วยส่วนสุดว่า ถ้าอย่างนั้น โลกเที่ยง หรือไม่เที่ยง, โลกมีที่สุด หรือไม่มีที่สุด ชีวะ กับสรีระ เป็นอันเดียวกัน หรือเป็นคนละอัน, สัตว์ตายแล้วเกิดหรือไม่เกิด, สัตว์ตายแล้วทั้งเกิดทั้งไม่เกิด หรือว่าเกิดก็ไม่ใช่ ไม่เกิดก็ไม่ใช่ (แบ่งออกเป็น ๕ หมวด หมวดละ ๒ ข้อ จึงเป็น ๑๐) ตรัสตอบเป็นข้อ ๆ ว่า พระองค์ไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานั้น เพราะ ไม่มีประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน.. ทูลถามว่า ถ้าอย่างนั้น ทรงพยากรณ์อะไร ? ตรัสตอบว่า ทรงพยากรณ์เรื่องทุกข์ เหตุให้ ทุกข์เกิด ความดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เพราะมีประโยชน์และเป็นไปเพื่อนิพพาน.แล้วพระผู้มีพระภาคก็เสด็จลุกจากอาสนะไป.ต่อมาอีก ๒-๓ วัน จิตตะผู้เป็นบุตรแห่งนายควาญช้าง กับโปฏฐปาทปริพพาชก ได้ไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค โปฏฐปาทปริพพาชกกราบทูลเล่าว่า เมื่อพระองค์เสด็จกลับ (ในวันที่เสด็จไป ณ มัลลิการามนั้น) พวกปริพพาชกพากันกล่าวแดกดันข้าพระองค์ว่า ไม่ว่าพระองค์ตรัสอะไร ข้าพระองค์กราบทูลรับรองไปหมด ว่าอย่างนั้น พระเจ้าข้า อย่างนี้ พระเจ้าข้า พวกเขาไม่เห็นเลยว่า พระองค์ทรงแสดงธรรมแง่เดียว (บอกยืนยันให้แน่. อินทรีย์ในที่นี้ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่ละอย่างเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน. คําว่าสัตว์ ในทีนี้ แปลจากคําว่าตถาคตตามคําอธิบายของอรรถกถาทีกล่าวถึงทิฏฐิ ๑๐ แต่ในทีอื่นคําว่า ตถาคต ใช้เป็นพระนามเรียกพระพุทธเจ้า ๓. คําว่า พยากรณ์ แปลว่า ทําให้แจ้ง คือตอบหรืออธิบาย ไม่ใช่ทํานาย อย่างทีใช้ในความหมายบางอย่างในภาษาไทยลงไปในแง่เดียว) ว่าโลกเที่ยงหรือไม่เที่ยง เป็นต้น ข้าพระองค์ตอบไปว่า เมือพระสมณโคดมแสดงปฏิปทาอันจริงแท้ ถูกต้องตามทํานองคลองธรรม วิญญบุรุษเช่นข้าพเจ้า จะไม่รับรองสุภาษิต โดยความเป็นสุภาษิต ได้อย่างไร.ทรงชี้แจงเรื่องแสดงธรรมแง่เดียว หลายแง่ตรัสตอบว่า ทรงแสดงธรรมแง่เดียว (เอกังสิกะ) ก็มี ทรงแสดงธรรมหลายแง่ (อเนกังสิกะ) ก็มี. ที่ทรงแสดงธรรมหลายแง่ก็คือ เรื่องโลกเที่ยง, ไม่เที่ยง, โลกมีที่สุด, ไม่มีที่สุด เป็นต้น. ที่ทรงแสดงธรรม แง่เดียวคือเรื่องทุกข์ เหตุให้ทุกข์เกิด, ความดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์.ตรัสเล่าต่อไปว่า พระองค์เคยเสด็จเข้าไปหาสมณพราหมณ์พวกที่มีความเห็นมีวาทะว่า เมื่อตาย ไปแล้ว อัตตาจะมีความสุขโดยส่วนเดียว ไม่มีโรค แล้วซักถามว่า ท่านรู้เห็นโลกซึ่งมีความสุขโดยส่วนเดียว หรือเปล่า ก็ตอบว่า เปล่า ถามว่า ท่านรู้สึกอัตตาที่มีความสุขโดยส่วนเดียวสักคืนหนึ่ง วันหนึ่ง หรือ ครึ่งคืน ครึ่งวันหรือ ก็ตอบว่า เปล่า ถามว่า ท่านรู้จักหนทาง หรือข้อปฏิบัติที่จะบรรลุถึงโลกที่มีความสุข โดยส่วนเดียว หรือเปล่า ก็ตอบว่า เปล่า ถามต่อไปอีกว่า ท่านได้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เพื่อให้บรรลุโลกที่มี ความสุขโดยส่วนเดียว หรือเปล่า ก็ตอบว่า เปล่าอีก คําพูดของสมณพราหมณ์เหล่านั้น จึงชื่อว่าไม่มี ปาฏิหาริย์มิใช่หรือ โปฏฐปาทปริพพาชกรับว่า ไม่มีปาฏิหาริย์ เลื่อนลอย,ครั้นแล้วทรงเปรียบพวกที่กล่าวว่า เมื่อตายไปแล้ว อัตตาจะมีความสุขโดยส่วนเดียว ไม่มีโรค แต่ไม่รู้อะไรจริงจังเลยเกี่ยวกับข้อที่ตนกล่าวนั้น ว่าเปรียบเหมือนคนที่รักหญิงงามชาวชนบท แต่ไม่รู้ว่าเป็นใคร ชื่อไร สกุลอะไร อยู่ที่ไหน หรือเปรียบเหมือนคนตั้งบันไดขึ้นบนทางสี่แพร่งเพื่อจะขึ้นปราสาท แต่ไม่รู้ว่า ปราสาทอยู่ในทิศไหน สูงต่ําหรือปานกลางอย่างไร.ต่อจากนั้นทรงแสดงการได้อัตตา ๓ ประเภท คือการได้อัตตาหยาบ ซึ่งมีรูปประกอบด้วยธาตุ ๔ กินอาหารเป็นคํา ๆ การได้อัตตามีรูป ซึ่งเกิดจากใจ, การได้อัตตาที่ไม่มีรูป ซึ่งเกิดจากสัญญา (โดยใจความ คือทรงแสดงการได้อัตตภาพในกามภพ เช่น มนุษย์และสัตว์ทั่วไป รวมทั้งเทพชั้นกามาวจร เป็นประเภท อัตตาหยาบ, ทรงแสดงการได้อัตตภาพในรูปภพ คืออัตตาของรูปพรหม และทรงแสดงการได้อัตตภาพในอรูปภพ คืออัตตาของอรูปพรหม พรหมไม่มีรูป) แล้วทรงชี้ให้เห็นว่า ทรงแสดงธรรม เพื่อให้ละอัตตา ๓ ประเภท นั้น เมื่อปฏิบัติแล้ว ก็จะละธรรมที่ทําให้เศร้าหมองและมีธรรมอันผ่องแผ้วเจริญยิ่ง ทําให้บรรลุความเป็นผู้ สมบูรณ์ไพบูลด้วยปัญญาในปัจจุบัน และแม้จะมีใครกล่าวว่า การได้บรรลุสภาพเช่นนั้น ทําให้เป็นทุกข์ ก็ทรงแสดงได้ว่า มีความปราโมทย์ ความอิ่มใจ ความสงบ มีสติสัมปชัญญะ และความอยู่เป็นสุข. (ประเด็นสําคัญในตอนนี้มีอยู่ว่า มีสมณพราหมณ์บางพวกกล่าวว่า เมื่อตายแล้วอัตตาจะเป็นสุข แต่ตัวเอง ไม่รู้ไม่เห็น และไม่ทราบข้อปฏิบัติ ส่วนทางพระพุทธศาสนาแทนที่จะสอนให้บรรลุอัตตา กลับสอนให้ประพฤติ ปฏิบัติเพื่อละอัตตา แล้วชี้ได้ด้วยว่า อัตตามี ๓ ประเภท ถ้าละได้ก็จะมีสุข)ทรงเปรียบให้ฟังว่า การสอนอย่างชี้ข้อปฏิบัติเพื่อละอัตตาได้นี้ เปรียบเหมือนตั้งบันไดขึ้นสู่ปราสาท ซึ่งมีปราสาทอยู่จริง ๆ ไม่ใช่ชี้ไม่ได้. ทรงใช้คําว่า อัตตา ตามชาวโลก แต่ถือเพียงว่าเป็นโวหาร หรือคําพูดของชาวโลก แต่ไม่ทรงยึดถือตามข้อความท้ายพระสูตรนีต่อจากนั้นทรงอธิบายรับรองความเห็นของจิตตะ บุตรแห่งนายควาญช้าง (ซึ่งไปเฝ้าพร้อมกับ โปฏฐปาทปริพพาชก) ที่ว่า เมื่ออยู่ในสภาพใดสภาพหนึ่ง อัตตาก็ไม่อยู่ในสภาพอื่น เช่น เมื่อได้อัตตาหยาบ ก็ไม่อยู่ในสภาพอัตตา (ละเอียด) มีรูปเกิดจากใจ หรือไม่มีรูปเกิดจากสัญญา เมื่ออยู่ในตอนไหนก็จริง ในตอนนั้น ตอนอื่นไม่จริง เปรียบเหมือนน้ํานม นมสัม, เนยข้น, เนยใส. กัอนเนยใสตอนไหนเป็นอะไร ก็ไม่เป็นอย่างอื่นทรงสรูปในที่สุดว่าถ้อยคําเรืองอัตตาเหล่านีเป็นเพียงโลกสมัญญา (ชื่อทางโลก) โลกนิรุติ (คาพูดของโลก) โลกโวหาร (โวหารทางโลก) และโลกบัญญัติ (บัญญัติทางโลก) ซึ่งตถาคตก็พูดด้วยถ้อยคําเหล่านันแต่ไม่ยึดถือ.เมื่อจบพระธรรมเทศนา โปฏฐปาทปริพพาชกสรรเสริญพระธรรมเทศนา แสดงตนเป็นอุบาสกถึง พระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ส่วนจิตตะ บุตรแห่งนายควาญช้างขอบวช แล้วได้สําเร็จเป็นพระอรหันต์ ในกาลต่อมาไม่นาน.



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น