Translate

วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2561

พระสุตตันตปิฎก-มหาสติปัฏฐานสูตร




  พระไตรปิฎก-พระสุตตันตปิฎก-มหาสติปัฏฐานสูตร
     มหาสติปัฏฐานสูตร อยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่10 ทีฆนิกายมหาวัคค์เป็นที่รวมแห่งพระสูตรขนาดยาว


๙.มหาสติปัฎฐานสูตร

สูตรว่าด้วยการตั้งสติอย่างใหญ่


********************************************************************************************





พระผู้มีพระภาคประทับ ณ นิคม ชื่อกัมมาสธัมมะ แคว้นกุรุ ตรัสสอนภิกษุทั้งหลายว่าหนทางเป็นที่ไปอันเอกเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ เพื่อก้าวล่วงความโศกความคร่ำครวญเพื่อให้ความทุกข์กายทุกข์ใจตั้งอยู่ไม่ได้ เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้องเพื่อทําให้แจ้งซึ่งพระนิพพานคือการตั้งสติ ๔ อย่างได้แก่ 

                ๑. ตั้งสติกําหนดพิจารณากายในกาย (กายส่วนย่อยในกายส่วนใหญ่)
                ๒. ตั้งสติกําหนดพิจารณาเวทนาในเวทนา (ความรู้สึกอารมณ์ส่วนย่อยในความรู้สึกอารมณ์ส่วนใหญ่)
              ๓. ตั้งสติกําหนดพิจารณาในจิต (จิตส่วนย่อยในจิตส่วนใหญ่ คือจิตดวงใดดวงหนึ่ง ในจิตที่เกิดขึ้น ดับไปมากดวง)
                ๔. ตั้งสติกําหนดพิจารณา ธรรมในธรรม (ธรรมส่วนย่อยในธรรมส่วนใหญ่)

การพิจารณากายแบ่งออกเป็น๖ ส่วน

               . พิจารณากําหนดลมหายใจเข้าออก (อานาปานบรรพ)
                ๒. พิจารณาอิริยาบถของกาย เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน (อิริยาปถบรรพ)
           ๓. พิจารณารู้ตัวในความเคลื่อนไหว เช่น ก้าวไป ก้าวมา คู้แขน เหยียดแขน กิน ดื่ม เป็นต้น (สัมปชัญญบรรพ).
         ๔. พิจารณาความน่าเกลียดของร่างกาย ซึ่งแบ่งออกเป็นส่วนย่อยต่าง ๆ มีผม ขน เป็นต้น (ปฏิกูลมนสิการบรรพ)
               ๕พิจารณาร่างกายโดยความเป็นธาตุ (ธาตุบรรพ)
               ๖พิจารณาร่างกายที่เป็นศพ มีลักษณะต่าง ๆ ๙ อย่าง (นวสีวถิกาบรรพ)

การพิจารณาเวทนา (ความรู้สึกอารมณ์๙ อย่าง

                สุข 
               ๒ทุกข์ 
               ๓ไม่ทุกข์ไม่สุข 
               ๔สุขประกอบด้วยอามิส (เหยื่อล่อมีรูป เสียง เป็นตัน
               ๕สุขไม่ประกอบด้วยอามิส 
               ๖ทุกข์ประกอบด้วยอามิส 
               ๗ทุกข์ไม่ประกอบด้วยอามิส 
               ๘ไม่ ทุกข์ไม่สุขประกอบด้วยอามิส 
                ๙ไม่ทุกข์ไม่สุขไม่ประกอบด้วยอามิส.

การพิจารณาจิต ๑๖ อย่าง

                จิตมีราคะ 
               ๒จิตปราศจากราคะ 
               ๓จิตมีโทสะ 
               ๔จิตปราศจากโทสะ 
               ๕จิตมีโมหะ 
                ๖จิต ปราศจากโมหะ 
               ๗จิตหดหู 
                ๘จิตฟุ่งสร้าน 
                ๙จิตใหญ่ (จิตในฌาน
              ๑๐จิตไม่ใหญ่ (จิตที่ไม่ถึงฌาน
              ๑๑จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า 
             ๑๒จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า 
              ๑๓จิตตั้งมั่น 
              ๑๔จิตไม่ตั้งมั่น 
              ๑๕จิตหลุดพัน 
               ๑๖จิตไม่หลุดพ้น.

การพิจารณาธรรมแบ่งออกเป็น ๕ ส่วน

                ๑.พิจารณาธรรมทีกันจิตมิให้บรรลุสมาธิ ทีเรียกว่านีวรณ์ ๕ (นีวรณบรรพ)
                ๒.พิจารณาขันธ์ ๕ คือ รูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณ (ขันธบรรพ)
                ๓.พิจารณาอายตนะภายใน ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อายตนบรรพ)
                ๔.พิจารณาธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ ๗ ที่เรียกว่าโพชฌงค์ (โพชฌงคบรรพ)
                ๕.พิจารณาอริยสัจจ์ ๔ (สัจจบรรพ)

                อนึ่ง การพิจารณากายเวทนาจิตธรรม ทั้งสี่ข้อนี้ นอกจากมีรายการพิเศษดังกล่าวมาแล้ว ยังมีรายการพิจารณาที่ตรงกันอีก ๖ ประการ คือ 

               ๑ ที่อยู่ภายใน 
             ๒ที่อยู่ภายนอก 
             ๓ที่อยู่ทั้งภายใน ภายนอก 
             ๔ที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา 
              ๕ ที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา 
             ๖ที่มีทั้งความเกิดขึ้นและ ความเสื่อมไปเป็นธรรมดา

อานิสงส์สติปัฏฐาน

                ครั้นแล้วทรงสรูปผลของการปฏิบัติ ในการตั้งสติ ๔ อย่างนี้ว่าจะเป็นเหตุให้ได้บรรลุผลอย่างใดอย่างหนึ่งคือบรรลุอรหัตตผลในปัจจุบันถ้ายังมีเชื้อเหลือก็จะได้บรรลุความเป็นพระอนาคามี (ผู้ไม่กลับมาเกิดในโลกนี้อีกภายใน ๗ ปี หรือลดลงมาโดยลําดับถึงภายใน ๗ วัน








            

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น