Translate

วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2561

พระสุตตันตปิฎก - เตวิชชสูตร



       พระไตรปิฎก - พระสุตตันตปิฎก - เตวิชชสูตร

   เตวิชชสูตร อยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ ทีฆนิกาย สีลขันธวัคค์ เป็นสุตตันตปิฎก



๑๓. เตวิชชสูตร


                                                     สูตรว่าด้วยไตรเวท  


**********************************************************************************







พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ได้เสด็จแวะพัก ณ ตําบลบ้านพราหมณ์ชื่อมนสากตะ ประทับ ณ ป่ามะม่วง ริมฝั่งแม่น้ำอจิรวดี ด้านเหนือของตําบลบ้านพราหมณ์ ชื่อมนสากตะ
สมัยนั้น พราหมณมหาศาล (พราหมณ์ที่เป็นเศรษฐี) มีชื่อเสียงหลายคนพักอาศัยอยู่ในตําบลบ้านนั้น เช่น วังกีสพราหมณ์ ตารุกขพราหมณ์ โปกขรสาติพราหมณ์ ชาณสโสนิพราหมณ์ โตเทยยพราหมณ์
และพราหมณ์ที่มีชื่อเสียงอื่นๆ
คําสนทนาของมาณพ ๒ คน
มาณพ ๒ คน คนหนึ่งชื่อวาเสฏฐะ (ผู้สืบสกุลวสิษฐะ) อีกคนหนึ่งชื่อภารัทวาชะ (ผู้สืบสกุล ภารัทวาชะ) เดินสนทนากันถึงเรื่องทางตรงที่จะไปสู่ความเป็นผู้ร่วมกับพระพรหม. มาณพชื่อวาเสฏฐะ อ้าง ถ้อยคําของโปกขรสาติพราหมณ์ มาณพชื่อภารัทวาชะ อ้างถ้อยคําของตารุกขพราหมณ์ เมื่อไม่สามารถ ตกลงกันได้ จึงไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลเล่าความที่ตนโต้เถียงกัน เพื่อให้ทรงชี้แจง และในการกราบทูล เพิ่มเติมได้กล่าวว่า แม้พราหมณ์ต่าง ๆ จะบัญญัติหนทางไว้ต่าง ๆ กัน แต่ก็นําผู้กระทําตามไปสู่ความเป็น ผู้ร่วมกับพระพรหมได้ เปรียบเหมือนทางต่าง ๆ หลายสาย ซึ่งอยู่ไม่ไกลคาม, นิคม ก็ไปร่วมกันที่คาม (หมู่บ้าน).
พระผู้มีพระภาคตรัสถามให้วาเสฏฐมาณพ ยืนยันถึง ๓ ครั้งว่า ทางต่าง ๆ เหล่านั้น นําไปสู่ความเป็นผู้ร่วมกับพระพรหมได้.
ข้อตรัสซักถาม
๑.พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า มีพราหมณ์ผู้รู้ไตรเวทสักคนหนึ่งไหม ที่เคยเห็นพระพรหม. กราบทูลว่า ไม่มี
. ตรัสถามว่า อาจารย์ของพราหมณ์ผู้รู้ไตรเวทมีสักคนหนึ่งไหม ที่เคยเห็นพระพรหม. กราบทูล ไม่มี
. ตรัสถามว่า อาจารย์ของอาจารย์ของพราหมณ์พวกนั้น มีสักคนหนึ่งไหม ที่เคยเห็นพระพรหม. กราบทูล ไม่มี
. ตรัสถามว่า ใครคนใดคนหนึ่ง ๗ ชั่วยุคอาจารย์ของพราหมณ์ มีไหม ทีเคยเห็นพระพรหม. กราบทูล ไม่มี
๕.ตรัสถามว่า ฤษีรุ่นก่อน ๆที่แต่งมนต์ ร่ายมนต์ ซึ่งพวกพราหมณ์ผู้รู้ไตรเวทในสมัยนี้เล่าเรียนท่องบ่นตามบทแห่งมนต์นั้น เชื่น อัฏฐกะ, วามกะ เป็นต้น มีใครบ้างเคยกล่าวว่าตนรู้เห็นว่าพระพรหมอยู่ในที่ใด อยู่อย่างไร อยู่ที่ไหน กราบทูลว่า ไม่มี
จึงตรัสสรูปว่า เปรียบเหมือนคนตาบอดจูงคนตาบอด ทั้งคนต้น คนกลาง และคนสุดท้าย ต่างก็มองไม่เห็น พราหมณ์ผู้รู้ไตรเวท ทั้งคนต้น คนกลาง และคนสุดท้ายก็ไม่เคยเห็นพระพรหม คำกล่าวของพราหมณ์เหล่านั้นจึงว่างเปล่า.
. ตรัสถามต่อไปว่า พราหมณ์ผู้รู้ไตรเวทและคนอื่น ๆ ต่างเห็นดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ขึ้นและตก จึงพากันสรรเสริญ ประคองอัญชลี กราบไหว้ เพียงเท่านี้จะเพียงพอหรือไม่ ที่พราหมณ์ผู้รู้ไตรเวทนั้นจะชี้ ทางที่จะไปสู่ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ กราบทูลว่า ไม่พอ.
จึงตรัสสรูปในตอนนี้ว่า แม้เพียงมองเห็นก็ยังไม่พอที่จะชี้ทาง ก็พราหมณ์ผู้รู้ไตรเวท พร้อมทั้ง อาจารย์ อาจารย์ของอาจารย์ เป็นตัน ไม่เคยเห็นพระพรหมเลย ก็ยังแสดงทางตรงไปสู่ความเป็นผู้ร่วมกับ พระพรหมได้.
. จึงตรัสถามว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ถ้อยคําของพราหมณ์ผู้รู้ไตรเวท จึงชื่อว่าไม่มีปาฏิหาริย์ (เลื่อนลอย ไม่มีหลักฐาน) ใช่หรือไม่ กราบทูลว่า ใช่ จึงตรัสต่อไปว่า เมื่อไม่รู้ไม่เห็น แต่แสดงทางตรงเพื่อไปสู่ความ อยู่ร่วมกับพระพรหม จึงมิใช่ฐานะที่จะเป็นจริงได้.
อุปมา ๕ ข้อ
. ตรัสเปรียบการที่พราหมณ์ผู้รู้ไตรเวท ไม่เคยเห็นพระพรหม แต่แสดงทางไปสู่ความอยู่ร่วมกับ พระพรหมว่าเหมือนชายผู้รักหญิงงามชาวชนบท แต่ไม่รู้ว่าเป็นใคร ชื่อไร รูปร่างเป็นอย่างไร อยู่ที่ไหน.
. หรือเปรียบเหมือนคนที่ตั้งบันไดขึ้นสู่ปราสาท ในทางสี่แพร่ง แต่ไม่รู้ว่าปราสาทนั้นอยู่ที่ไหน
. การที่พราหมณ์ผู้รู้ไตรเวท ละธรรมะที่ทําให้เป็นพราหมณ์ สมาทาน (ยึดถือ) ธรรมที่ไม่ทําให้ เป็นพราหมณ์ แล้วพากันออกนามพระอินทร์ พระโสมะ พระวรุณ พระอิสาน พระปชาบดี พระพรหม พระมหินทร์ การออกนาม การอ้อนวอน การปรารถนา การยินดี ก็ไม่ทําให้ไปอยู่ร่วมกับพระพรหมได้ เมื่อตายไป เปรียบเหมือนคนอ้อนวอนฝั่งน้ําให้เข้ามาหา ก็ย่อมเข้ามาไม่ได้
๔.การที่พราหมณ์ผู้รู้ไตรเวท ยังหมกมุ่น สยบอยู่ บริโภคกามคุณ ๕ (คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อันน่าปรารถนารักใคร่ชอบใจ) ซึ่งนับเป็นเครื่องจองจําผูกมัดในอริยวินัย จะไปสู่ความเป็นผู้ร่วม กับพระพรหมย่อมเป็นไปไม่ได้ เปรียบเหมือนคนต้องการข้ามแม่น้ํา แต่เอาเชือกมัดมือไพล่หลังตัวเองอย่าง แน่นหนาอยู่ที่ฝั่งนี้ จะข้ามไปสู่ฝั่งโน้นไม่ได้
. การที่พราหมณ์ผู้รู้ไตรเวทถูกนีวรณ์ ๕ (กิเลสที่กั้นจิตมิให้บรรลุความดี อันเป็นกิเลสชั้นกลาง คือความพอใจในกาม ความพยาบาท เป็นต้น) รัดรึงไว้ จะเข้าสู่ความเป็นผู้ร่วมกับพระพรหม ย่อมเป็นไป ไม่ได้ เปรียบเหมือนคนที่ต้องการข้ามแม่น้ำ แต่เอาผ้าคลุมศีรษะ นอนเสียทางฝั่งนี้ ก็จะข้ามไปสู่ฝั่งโน้นไม่ได้
คุณสมบัติของพระพรหมกับพราหมณ์
ตรัสถามว่า พราหมณ์ผู้ใหญ่ผู้สูงอายุที่เป็นชั้นอาจารย์ของอาจารย์เคยกล่าวถึงพระพรหมว่า
. มีสิ่งหวงแหน (เช่น สตรี) หรือไม่            . มีจิตผูกเวรหรือไม่
. มีจิตพยาบาทหรือไม่                    . มีจิตเศร้าหมอง (ด้วยกิเลส) หรือไม่
. ทําจิตให้เป็นไปในอํานาจได้หรือไม่
มาณพกราบทูลตอบว่า พระพรหมตามคํากล่าวของพราหมณ์ผู้ใหญ่ไม่เป็นเช่นนั้น ๔ ข้อ ข้อที่ ๕ เป็นเช่นนั้น (คือมีคุณสมบัติในทางดีงาม) แล้วตรัสถามว่า พราหมณ์ผู้รู้ไตรเวทเป็นอย่างพระพรหมหรือไม่ ก็ตอบในทางตรงกันข้าม คือยังมีสิ่งหวงแหน มีจิตผูกเวร มีจิตพยาบาท มีจิตเศร้าหมอง ไม่สามารถคุมจิต
ไว้ในอํานาจได้.
ตรัสถามต่อไปว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ พราหมณ์ผู้รู้ไตรเวทจะเปรียบเทียบเข้ากันได้กับพระพรหมหรือไม่
ตอบว่า ไม่ได้ จึงตรัสสรูปว่า เมือเป็นเช่นนี้ เมือตายแล้ว พราหมณ์ผู้รู้ไตรเวท จะเข้าถึงความเป็นผู้ร่วมกับ พระพรหมนั้น จึงมิใช่ฐานะที่เป็นไปได้.
ตรัสต่อไปว่า พราหมณ์ผู้รู้ไตรเวท เข้าไปใกล้ จมลงไป ถึงความวิบัติ (ในทางที่ผิด) แต่ก็สําคัญว่า
ข้ามไปสู่แดนที่มีความสุขยิ่งกว่าเพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็นป่าไตรเวท ที่ไม่มีบ้าน, เป็นป่าไตรเวท ที่ ไม่มีน้ำ, เป็นความเสื่อมแห่งไตรเวท. -
มาณพถามถึงทางไปสู่พระพรหม
วาเสฏฐมาณพกราบทูลถามถึงทางทีจะไปสู่ความเป็นผู้ร่วมกับพระพรหม. พระผู้มีพระภาคตรัส ตอบว่า พระองค์ทรงรู้จักพระพรหม พรหมโลก ข้อปฏิบัติเพื่อให้ไปสู่พรหมโลก ตลอดจนพระพรหมผู้ปฏิบัติ อย่างไรจึงจะเข้าถึงพรหมโลกได้.
เมื่อมาณพขอให้ทรงแสดง จึงตรัสถึงการที่พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลก บุคคลฟังธรรมออกประพฤติ พรหมจรรย์ ตั้งอยู่ในศีล (รายละเอียดดังที่กล่าวในสามัญญผลสูตร) ละนีวรณ์ ๕ ได้ แผ่เมตตาจิตไปสู่ ๔ ทิศ นี้เป็นทางไปสู่ความเป็นผู้ร่วมกับพระพรหม เมื่อปฏิบัติได้อย่างนี้ ก็ชื่อว่ามีคุณสมบัติเปรียบเทียบเข้ากันได้ กับพระพรหม (เป็นการถามตอบคุณสมบัติของภิกษุผู้ประพฤติตนดี เจริญเมตตาเจโตวิมุติเทียบกับคุณสมบัติ ของพระพรหมตามตํารับโบราณทีละข้อ ซึ่งมาณพก็กราบทูลรับรองว่าเข้ากันได้),
จึงตรัสสรูปในที่สุดว่าภิกษุเช่นนั้นเมื่อตายไปย่อมมีฐานะที่จะเข้าสู่ความเป็นผู้ร่วมกับพระพรหมได้.
มาณพ ๒ คนกราบทูลสรรเสริญพระธรรมเทศนา แสดงตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิต.
 (หมายเหตุ : พระสูตรนี หรือหลายๆสูตรทีแล้วมาแสดงว่าการถือศาสนาตามตําราเช่นเรื่องพระพรหมนั้นยังไม่พอควรเอาความรู้ความประพฤติเข้าจับด้วยหมายความว่าต้องรู้ ต้องเข้าใจปฏิบัติให้ เห็นผลได้จริงๆไม่ใช่ทําอะไรตามๆกันโดยไม่รู้อะไรจริง).



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น